ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจไทยกับโคลอมเบีย

ไทยและโคลอมเบียมีมูลค่าการค้ารวม 294.26 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยปี พ.ศ.2556 ไทยได้ดุลการค้า 205.01 ล้านดอลลาร์สหรัฐมูลค่าการส่งออกของไทยไปโคลอมเบีย 249.63 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สินค้าส่งออกของไทยไปโคลอมเบีย

  1. รถยนต์
  2. อุปกรณ์และส่วนประกอบ
  3. ผลิตภัณฑ์จากยาง
  4. เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ
  5. ตัวจุดไฟและลูกสูบ
  6. จักรยานยนต์
  7. อุปกรณ์และส่วนประกอบเม็ดพลาสติก
  8. ไหม พรม เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศ ผ้าผืน
    เคมีภัณฑ์ ฯลฯ

สินค้านำเข้าของไทยจากโคลอมเบีย

  1. สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์
  2. สารเคมี
  3. เหล็กและเหล็กกล้า
  4. อัญมณี เงินและทองคำแท่ง
  5. ผ้า
  6. เวชภัณฑ์และเภสัชภัณฑ์
  7. ผลิตภัณฑ์พลาสติก
  8. สินแร่โลหะ เศษโลหะ
  9. กาแฟชาและเครื่องเทศ
  10. ปุ๋ยและยาฆ่าแมลง
  11. สบู่ ผงซักฟอกและเครื่องสำอาง
  12. ผักและผลไม้
  13. เครื่องจักรกล
  14. เครื่องจักรไฟฟ้า
  15. กระดาษและผลิตภัณฑ์จากกระดาษ ฯลฯ

คำแนะนำก่อนการเดินทางไปโคลอมเบีย

Image result for ประเทศโคลอมเบีย

ก่อนการเดินทาง

ผู้ที่จะเดินทางไปโคลอมเบียต้องมีหนังสือเดินทางที่ยังมีอายุเกิน 6 เดือน และต้องฉีดวัคซีนป้องกันไข้เหลือง ก่อนการเดินทางอย่างน้อย 10 วัน ควรเตรียมยารักษาโรคและยาประจาตัวไปให้เพียงพอถ้าเป็นไปได้ควรมีใบรับรองแพทย์หรือใบสั่งยาชนิดที่นาไปด้วย ผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและราชการสามารถเดินทางเข้าสาธารณรัฐโคลอมเบียโดยไม่ต้องขอวีซ่า และพานักได้ไม่เกิน 90 วัน เนื่องจากไทยมีความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราสาหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและราชการกับสาธารณรัฐโคลอมเบียสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาจะต้องขอวีซ่าจากสถานเอกอัครราชทูตโคลอมเบียประจาประเทศไทยหมายเลขโทรศัพท์+66 21688715-17

การเข้าเมือง

หลังจากผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง ให้เก็บรักษาเอกสารการตรวจคนเข้าเมืองที่ได้รับจากเจ้าหน้าที่ให้ดี เพราะจาเป็นต้องใช้เมื่อเดินทางออกจากประเทศและหากคืนเอกสารจะสามารถลดค่าภาษี (departure tax) ได้

เมื่อเดินทางถึงโคลอมเบีย

สนามบินนานาชาติเอลโดราโด ณ กรุงโบโกตา (Aeropuerto El Dorado หรือ El Dorado International Airport) เป็นสนามบินที่อยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางตะวันตกเฉียงเหนือเป็นเวลา 20 นาที หากเดินทางโดยแท็กซี่ ควรเตรียมเงิน 1 – 2 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ติดตัวไว้ ในกรณีต้องการใช้รถเข็นในสนามบิน

ภาษา

คนท้องถิ่นใช้ภาษาสเปนในการสื่อสาร คนส่วนใหญ่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ดังนั้นการศึกษาภาษาสเปนพื้นฐานก่อนการเดินทางจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

ความปลอดภัย

โดยทั่วไปแล้ว โคลอมเบียเป็นประเทศที่มีความปลอดภัยสาหรับนักท่องเที่ยว การเดินทางทางรถยนต์ผ่านเมืองต่างๆ มีความปลอดภัย โดยเฉพาะเมืองท่องเที่ยวใหญ่ๆ เช่น โบโกตา เมเดยิน การ์ตาเฆนา ซานตา มาร์ตา อย่างไรก็ตาม นักท่องเที่ยวควรเดินทางโดยมีมัคคุเทศก์หรือผู้นาท่องเที่ยวท้องถิ่น ซึ่งนอกจากจะสามารถแนะนาสถานที่ท่องเที่ยวที่ปลอดภัยได้ดีแล้ว ยังช่วยไม่ให้หลงทาง เพราะภูมิประเทศของโคลอมเบียมีความสลับซับซ้อน อาจหลงทางได้ง่าย การเดินทางระยะไกลด้วยรถบัสควรระมัดระวังมากเป็นพิเศษ เนื่องจากที่ท่ารถ (Terminal de Transportes) เป็นท่ารถขนาดใหญ่ มีคนจานวนมากทาให้อาจมีมิจฉาชีพ เช่น นักล้วงกระเป๋าและโจรวิ่งราวแฝงตัวอยู่ การเดินทางด้วยแท็กซี่ควรเรียกรถผ่านการโทรศัพท์ ซึ่งทางบริษัทจะบอกหมายเลขรถให้ทราบก่อน และเมื่อรถมารับ คนขับจะถามหมายเลขสองหลักสุดท้ายของเบอร์โทรศัพท์ที่ใช้โทรเรียก เนื่องจากมีมิจฉาชีพจานวนไม่น้อยที่ปลอมเป็นคนขับแท็กซี่ เพื่อปล้นผู้โดยสาร

ภัยธรรมชาติ

บริเวณที่ราบสูงมีการระเบิดของภูเขาไฟ บางครั้งเกิดแผ่นดินไหวและดินถล่ม มีฤดูแล้งเป็นช่วงๆ ฤดูกาลเปลี่ยนแปลงเนื่องจากได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญและลานีญา

สกุลเงิน/การชำระเงิน

โคลอมเบียใช้สกุลเงินเปโซโคลอมเบีย (Colombian Peso; COP) อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ (USD) เท่ากับ อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ (USD) เท่ากับ 1,905.96 เปโซโคลอมเบีย (COP) (อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 30 พ.ค. พ.ศ. 2557 จากเว็บไซต์ธนาคารกลางแห่งโคลอมเบีย Banco Central de Colombia) เทียบเป็นเงินไทยคือ 1 บาท ประมาณ 61 เปโซโคลอมเบีย
การจ่ายเงินควรใช้บัตรเครติดบัตรเดบิตและเงินสดทั้งในสกุลท้องถิ่นและเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ มากกว่าใช้เช็คของนักท่องเที่ยว (Traveler’s Cheque) เนื่องจากเช็คของนักท่องเที่ยวไม่ค่อยได้รับความนิยมแพร่หลายนัก อาจประสบปัญหาได้ การเบิกเงินที่ตู้กดเงินสดอัตโนมัติ (ATM) ด้วยบัตรเดบิตจะมีค่าธรรมเนียมต่าที่สุด บัตรที่เป็นที่ยอมรับมากที่สุดคือ Visa และรองลงมาคือ Master Card อย่างไรก็ดี ไม่ควรพกเงินสดติดตัวในปริมาณมากๆ
 

การแลกเงิน

Bancolombia และ Banco Unión Colombiano เป็นธนาคารหลัก 2 แห่งสาหรับการแลกเปลี่ยนเงินและการทาธุรกรรมทางการเงินและยังสามารถแลกเงินได้ตามสถานที่รับแลกเงิน (casas de cambio) ทั่วไปตามโรงแรมที่พัก หรือที่สนามบิน ห้ามแลกเงินข้างทางโดดเด็ดขาดเนื่องจากเป็นไปได้มากที่จะได้รับธนบัตรปลอมและเสี่ยงต่อการถูกชิงทรัพย์

การใช้โทรศัพท์ 

การโทรศัพท์จากโคลอมเบียมาประเทศไทย

กด 001 (หมายเลขโทรทางไกล) – 66 – รหัสพื้นที่ (กรุงเทพฯ กด 2 )– หมายเลขโทรศัพท์บ้านและ 001 – 66 – หมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ 9 หลัก

การโทรศัพท์จากประเทศไทยไปโคลอมเบีย
กด 001 (หมายเลขโทรทางไกล) -57 – รหัสพื้นที่ – หมายเลขโทรศัพท์การใช้โทรศัพท์       เคลื่อนที่ของไทยในโคลอมเบีย
กระแสไฟฟ้า 110V 60Hz

เศรษฐกิจของโคลอมเบีย

เศรษฐกิจของโคลอมเบีย มีอัตราการเจริญเติบโตในอัตราสูงสุดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นโยบายเศรษฐกิจหลัก ได้แก่ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การเร่งการสร้างงาน การสนับสนุนการค้าเสรี และการลดอุปสรรคทางการค้า
แต่ยังคงมีการอุดหนุนภาคเกษตรกรรมและธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม นโยบายดังกล่าวสามารถลดอัตราการว่างงานลงได้และทำให้โคลอมเบียมีเศรษฐกิจค่อนข้างดีเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เอกวาดอร์และเปรู

รัฐบาลมุ่งเน้นการส่งเสริมความเท่าเทียมด้านเศรษฐกิจให้แก่ประชาชนโคลอมเบียและเพิ่มประสิทธิภาพของการบริการสาธารณะ ตลอดจนส่งเสริมให้โคลอมเบียเป็นแหล่งการศึกษาและความรู้ด้านวิทยาศาสตร์

สหรัฐฯ เป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญต่อการค้าและการลงทุนของโคลอมเบีย สหรัฐฯ และโคลอมเบียเห็นชอบที่เรื่องการสร้างความเป็นเอกภาพในทวีปอเมริกา (Unity of the Americas) แสดงความมุ่งมั่นที่จะร่วมมือในด้านการต่อต้านการก่อการร้าย นอกจากนี้ สหรัฐฯ จะให้ความช่วยเหลือในการส่งเสริมภาคเกษตรและผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมของโคลอมเบีย และผลักดั นให้มีการลงทุนเพิ่มเติมจากสหรัฐฯ ในภาคอุตสาหกรรมน้ำมันและพลังงานด้วย

ประเทศไทยส่งออกไปโคลอมเบีย

(1) ผลิตภัณฑ์ยาง
(2) รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ
(3) ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์
(4) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล
(5) เครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ
(6) เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ
(7) รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ
(8) เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ
(9) เม็ดพลาสติก
(10) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ

ประเทศไทยนำเข้าจากโคลอมเบีย

(1) น้ำมันดิบ
(2) เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ
(3) ถ่านหิน
(4) สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์
(5) เคมีภัณฑ์
(6) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์

สันติภาพโคลอมเบีย

บทความ “สันติภาพคือการพัฒนาที่ยั่งยืนของสาธารณรัฐโคลอมเบีย” จาก ฯพณฯ นายอันเดลโฟ การ์เซีย เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐโคลอมเบียประจำประเทศไทย

หลังใช้เวลากว่า 50 ปี รัฐบาลสาธารณรัฐโคลอมเบีย ภายใต้การนำของประธานาธิบดีฮวน มานูเอล ซานโตส ประสบความสำเร็จในการเจรจาสันติภาพกับกองกำลังการปฏิวัติแห่งสาธารณรัฐโคลอมเบีย นำไปสู่การลงนามข้อตกลงวางอาวุธเมื่อ 23 มิ.ย.2559 ที่กรุงฮาวานา คิวบา ด้วยการสนับสนุนจากองค์กรนานาชาติต่างๆ

ถึงแม้จะมีความพยายามของรัฐบาลโคลอมเบียมาหลายทศวรรษในการเจรจาสันติภาพกับกองกำลังการปฏิวัติฯ แต่ด้วยความมุ่งมั่นของประธานาธิบดีซานโตสทำให้กระบวนการเจรจาสันติภาพครั้งล่าสุดที่เริ่มต้นในปี 2555 ซึ่งประสบความท้าทายและอุปสรรคมากมาย มีการเจรจากันกว่า 50 รอบ สามารถบรรลุข้อตกลงร่วมกันได้ใน 6 ประเด็นหลัก คือ การปฏิรูปที่ดิน การเปิดโอกาสให้ฝ่ายกองกำลังการปฏิวัติฯเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองในระบบ การขจัดปัญหาลักลอบค้ายาเสพติดและปลูกพืชผิดกฎหมาย การแสวงหาความยุติธรรมให้ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อความรุนแรง การวางอาวุธและการดำเนินการเพื่อให้ขั้นตอนต่างๆได้เริ่มปฏิบัติใช้อย่างเป็นรูปธรรมโดยได้รับการยอมรับจากประชาชน ซึ่งรัฐบาลโดยความเห็นชอบของศาลรัฐธรรมนูญจะเปิดให้มีการทำประชามติทั่วประเทศในอีกไม่กี่สัปดาห์เพื่อให้ความเห็นชอบข้อตกลงสันติภาพนี้

สำหรับโคลอมเบีย สันติภาพคือสิ่งการันตีการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ ประมาณว่าผลรวมรายได้ประชาชาติของประเทศจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าทุก 9 ปีเมื่อมีการบรรลุข้อตกลงสันติภาพ ขณะที่รายได้ประชาชาติต่อหัวเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบัน 6,800 ดอลลาร์สหรัฐฯ เป็น 12,000 ดอลลาร์สหรัฐฯภายในสิบปี ยอดเงินลงทุนจากต่างประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 36 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯในอีกไม่นาน เมื่อเทียบกับยอดเงินลงทุน 12 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปี 2558 ปัจจุบันโคลอมเบียเป็น 1 ใน 20 ประเทศที่มียอดเงินลงทุนจากต่างประเทศสูงสุดในโลก

การบรรลุในข้อตกลงสันติภาพครั้งนี้ยังส่งผลให้โคลอมเบียซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพลำดับต้นๆ ของโลกสามารถลดผลกระทบของความรุนแรงที่มีต่อสภาพแวดล้อมซึ่งมีการประมาณการเป็นตัวเลขไว้ที่ 2.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อปี รัฐบาลไม่ต้องเสียงบประมาณในการฟื้นฟูธรรมชาติที่เกิดจากการบุกรุกป่าของฝ่ายกองกำลังการปฏิวัติฯเพื่อเพาะปลูกพืชเสพติด ลดค่าใช้จ่ายการรักษาผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษปรอทจากการลักลอบทำเหมืองแร่ผิดกฎหมาย ลดความสูญเสียต่อระบบนิเวศเมื่อกองกำลังการปฏิวัติฯลอบวางระเบิดท่อส่งน้ำมัน สันติภาพสามารถคืนธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ เพิ่มคุณภาพชีวิตให้ชาวโคลอมเบีย ส่งเสริมโอกาสให้กับนักลงทุนทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

สงครามและความรุนแรงได้สิ้นสุดลงแล้ว สันติภาพหาได้เป็นความฝันอีกต่อไป สาธารณรัฐโคลอมเบียได้แปรเปลี่ยนจากดินแดนแห่งการรบราฆ่าฟันกลายเป็นดินแดนแห่งความหวัง ดินแดนแห่งสันติสุข ที่เปิดกว้างพร้อมรับประชาคมโลกในทุกมิติ.

โคลอมเบีย จัดเทศกาลปามะเขือเทศประจำปี

บรรยากาศกลุ่มเกษตรกรชาวไร่ และนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ที่พร้อมใจกันเข้าร่วมในงานเทศกาลปามะเขือเทศ กลางสนามกีฬาประจำเมืองเมือง ซึ่งได้เปลี่ยนพื้นที่ทั่วทั้งสนาม ให้เต็มไปด้วยสีแดง และ แน่นอนว่าทุกคนก็ได้รับทั้งความสนุก และ มิตรภาพกลับไปเช่นเคยอย่างทุกปี

แม้ว่า เทศกาลปามะเขือเทศหรือ La Tomatina (ลา โตมาติน่า) จะมีจุดกำเนิดมายาวนาน โดยเริ่มต้นจากประเทศ สเปน แต่ก็ยังมีอีกหลายพื้นที่ ซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วย ต้นมะเขือเทศในประเทศอื่นๆ ที่มีการจัดกิจกรรมนี้ ในเวลาที่แตกต่างกันไปตลอดทั้งปี

อย่างที่เมือง Sutamarchan (ซูตามาร์ซาน) ในประเทศโคลอมเบีย ซึ่งเป็นหนึ่งในเมืองที่โดดเด่น ด้านสายพันธุ์ของมะเขือเทศ ที่หลากหลายและสมบูรณ์ ก็ได้ดำเนินการจัดเทศกาล มาเป็นปีที่ 13 แล้ว ซึ่งยึดเอาทุกวันหยุดแรก ของเดือนมิถุนายน สำหรับจัดงานนี้

ซึ่งทีมงานจะมีการเตรียมพื้นที่ ด้วยมะเขือเทศกองใหญ่ หลายสิบตัน ซึ่งกองเอาไว้กลางสนาม ก่อนที่จะส่งสัญญาณเพื่อปล่อยตัวกลุ่มผู้เล่นทั้งหมด ให้ลงไปร่วมสนุก โดยการหยิบเอามะเขือเทศเหล่านั้น มาปาขึ้นฟ้า หรือ ปาใส่กันได้อย่างเต็มที่

โดยกลุ่มผู้เล่นจะมีเวลาประมาณ 20 นาที สำหรับการปามะเขือเทศทั้งหมดที่มีอยู่ แต่ในเวลาเพียงไม่กี่นาทีที่เพิ่งจะเริ่มต้น ทั่วทั้งบริเวณที่จัดงานก็เปลี่ยนไป และเต็มไปด้วยสีแดง ซึ่งมาจากสีของมะเขือเทศ และ หากมองดูให้ดี ๆ งานนี้ก็คือ สงคราม แต่นอกจากจะไม่มีใครได้รับอันตราย และ ความเสียหายแล้ว ยังเป็นสงครามที่สามารถสร้างรอยยิ้ม และ เสียงหัวเราะ พร้อมกับความสุขที่อบอวลไปทั่วบริเวณทีเดียว

ปีนี้ นอกจากกลุ่มเกษตรกรชาวไร่ และ ประชาชนในพื้นที่แล้ว ยังมีเหล่านักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่เดินทางมาร่วมงานอย่างคึกคักไม่แพ้ปีก่อน ๆ อย่างที่เห็นอยู่นี่คือ นาย RyuYa (เรียวยะ) นักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่น บอกว่า ตัวเขาชื่นชอบงานนี้อย่างมาก เพราะไม่สามารถสัมผัสประสบการณ์แบบนี้ได้ ในประเทศของตัวเอง โดยการเดินทางมาร่วมงานในครั้งนี้ ก็ทำให้เขาได้เจอเพื่อนใหม่ และ มิตรภาพที่ดีกลับไป อย่างคุ้มค่าแบบสุดๆ อีกด้วย

Heyner Suarez (เฮเนอร์ ซูอาเรซ ) ประธานผู้จัดงาน กล่าวว่า เทศกาลนี้ ตั้งใจจัดขึ้นในช่วงสิ้นสุดฤดูเก็บเกี่ยว เพื่อให้เกษตรกรผู้เพาะปลูกมะเขือเทศ สามารถจัดการกับมะเขือเทศที่เหลือทิ้ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลที่ตกจากต้นโดยธรรมชาติ และ ไม่เหมาะที่จะนำมาจำหน่ายให้ผู้บริโภคในท้องตลาด และนี่คือวิธีการที่ดีที่สุด ที่นอกจากจะทิ้งขว้างแบบไร้ประโยชน์ แต่กลับสร้างให้มันเป็นกิจกรรม ที่สร้างความสนุกสนาน และ ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้อย่างดี

อุตสาหกรรมโคลอมเบีย

อุตสาหกรรมโคลอมเบียประกอบด้วยส่วนที่ใหญ่ที่สุดของอาหาร, สิ่งทอ, เสื้อผ้า, และผลิตภัณฑ์เคมี อุตสาหกรรมเติบโตขึ้นมาในสี่เมืองใหญ่ ๆ ของโบโกตากาลีบาร์รันกียาและMedellíแล้วยังคงแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของประเทศ ในปี 1990 ถึงอุตสาหกรรมโคลอมเบียแหลมและยืนอยู่เกือบ 40% ของ GDP หลังจากที่ตัวเลขได้ลดลงเล็กน้อย แต่อุตสาหกรรมยังคงเป็นส่วนสำคัญของภาคธุรกิจของประเทศและเป็นตัวแทนในขณะนี้ประมาณ 30% ของ GDP

ประชากรในโคลอมเบีย

ประชากรโคลัมเบียของทวีปอเมริกาใต้ยกเว้นบราซิลจะพูดภาษาสเปนแต่จะขึ้นอยู่กับconquistadorsสเปนหรือ “conquistadors”
ชาวสเปนได้นำศาสนาของพวกเขาเข้ามามาก ดังนั้นโคลอมเบีย กลุ่มประชากรที่ใหญ่เป็นอันดับสองเป็นคนผิวขาวที่ทำขึ้นในห้าของประชากรของประเทศ 14% ของมูแลตโตและส่วนที่เหลือของประชากรที่เป็นส่วนผสมของประชาชนที่แตกต่างกัน 65.1% ของประชากรที่อยู่ระหว่าง 15 และ 64 ปี ประมาณ 30% เป็น 14 และเหนือและ 5.5% เป็น 65 และ อายุไขเฉลี่ยในโคลัมเบียเป็น 73 ปีสำหรับประชากรทั้งหมด 69 ปีสำหรับผู้ชายและ 77 สำหรับผู้หญิง

โรงแรมเดล ซัลโต้ ในโคลัมเบีย

โรงแรมเดล ซัลโต้ ในโคลัมเบีย ตั้งอยู๋ใกล้น้ำตกเตเกนดามา มีความสูงประมาณ132 เมตร หน้าโรงแรมหันหน้าเข้าหาน้ำตก โรงแรมแห่งนี้เป็นโรงแรมหรูในยุคนั้น แต่วันนึงต้องปิดตัวลงเป็นโรงแรมในทุกวันนี้ มันเป็นอะไรกันแน่นะ

คาดว่าน้ำตกใกล้ๆที่โรงแรมหันหน้าเข้านั้นมีสารพิษปนเปื้อนตลอดลำน้ำ ส่งผลให้ประชาชนต่างแยกย้ายไปอยู่อาศัยกันที่อื่น ส่งผลถึงกิจการโรงแรมแห่งนี้ ที่ตั้งรับละอองน้ำอย่างเต็มที่ ทำให้แขกไม่นิยมมาเข้าพัก จนในที่สุดก็ต้องปิดกิจการลง และทิ้งอาคารไว้อย่างเดียวดาย ปล่อยให้เจ้าของใหม่ ก็คือต้นไม้และสรรพสัตว์ต่างๆ ได้เข้ามาอยู่อาศัยแทน

หลังจากโรงแรมปิดตัวลงในยุค 90 ก็มีข่าวคราวเรื่องราวของภูตผีวิญญาณมาให้ได้ฟังอยู่เนืองๆ มีตำนานเล่ากันว่าในช่วงที่สเปนทำสงครามชนะอเมริกาใต้ ได้กวาดต้อนคนพื้นเมืองเพื่อมาเป็นทาส นักโทษสงครามที่ไม่ต้องการเป็นทาสต่างก็พากันกระโดดน้ำตกฆ่าตัวตาย เพื่อปลดปล่อยตัวเองสู่อิสรภาพ ซึ่งดวงวิญญาณเหล่านั้น ก็อาจจะยังวนเวียนอยู่ตรงบริเวณนั้นก็เป็นได้

แฟชั่นสุดเก๋ของโคลอมเบีย

ขึ้นชื่อว่าแฟชั่น แน่นอนว่าย่อมมีแต่ของสวยของงามให้มอง และไม่ว่าแฟชั่นของประเทศไหน ก็ล้วนมีสไตล์และเอกลักษณ์ของตัวเองด้วยกันทั้งนั้น เช่นเดียวกับแฟชั่นเซตนี้จากงานสัปดาห์แฟชั่นแอฟริกา จัดที่วิหารเกลือที่ซีปากีรา ประเทศโคลอมเบีย เมื่อเร็วๆ นี้