อดีตทูตโคลอมเบียประจำจีนระบุ“การเติบโตของจีนไม่ใช่เรื่องบังเอิญ”

เมื่อเร็วๆ นี้ นาย Óscar Rueda García  ที่เพิ่งเกษียรณอายุราชการจากตำแหน่งเอกอัครราชทูตโคลอมเบียประจำจีน  ซึ่งเป็นอีกหนึ่งคนที่ยกย่องชื่นชมแนวคิดและคำกล่าวของเติ้ง เสี่ยวผิง อดีตปธน.จีน ที่ว่า“ไม่ว่าจะเป็นแมวดำหรือแมวขาว หากสามารถจับหนูได้ก็ล้วนเป็นแมวดี” โดยเขาให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวซีอาร์ไอว่า การเติบโตขึ้นของจีนไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ  และจะแยกจากระบบสังคมนิยมที่มีเอกลักษณ์ของจีนไม่ได้

ทั้งนี้ นาย Óscar Rueda García ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตโคลอมเบียประจำจีนเป็นเวลา 3 ปี ทำให้มีความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับการพัฒนาของจีนใหม่  ในมุมมองของเขา จีนเป็นประเทศที่โอบกอดโลกด้วยอ้อมแขนที่เปิดกว้าง  ทั้งรัฐบาลและประชาชนจีนให้ความสำคัญกับการศึกษา และมีบุคลากรระดับสูงจึงกลายเป็นหลักประกันให้กับการพัฒนาของจีน

Image result for จีน

“ปู ไปรยา” เปิดใจ ถึงภารกิจช่วยผู้ลี้ภัยที่โคลอมเบีย

“ปู ไปรยา” ทูตสันทวไมตรี UNHCR เผยความรู้สึก หลังลงพื้นที่ประเทศโคลอมเบีย เพื่อช่วยเหลือผู้อพยพและลี้ภัยจากวิกฤติในประเทศเวเนซุเอลา พ้อหดหู่กับสิ่งที่เกิดขึ้น พร้อมลั่นขอยืนหยัดเคียงข้างผู้ลี้ภัยทั่วโลกต่อไป

วิกฤตการณ์ในประเทศเวเนซุเอลาบังคับให้ประชาชนกว่า 4 ล้านคนต้องหนีเอาชีวิตรอดจากความรุนแรง ปัญหาทางเศรษฐกิจ และการเมืองทำให้ระบบการให้ความคุ้มครองในประเทศไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ประชาชนเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อ ความยากจน และความขาดแคลนสาธารณูปโภคที่เป็นปัจจัยในการดำรงชีพ เช่น อาหารและยารักษาโรค ชาวเวเนซุเอลาเดินทางออกจากประเทศในสถานะผู้ลี้ภัยและผู้อพยพตั้งแต่ พ.ศ. 2557 และมีการหลั่งไหลของชาวเวเนซุเอลาจำนวนมากในปี พ.ศ.2560 – 2561 มากกว่า 5,000 คนต่อวัน เพื่อแสวงหาความปลอดภัย ซึ่งเป็นการอพยพและลี้ภัยครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ลาตินอเมริกา ร้ายแรงเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากวิกฤตซีเรีย และต้องการความช่วยเหลือที่เร่งด่วนที่สุด

สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ได้เชิญ “ปู ไปรยา ลุนด์เบิร์ก” ในฐานะทูตสันถวไมตรีของ UNHCR ประเทศไทย ลงพื้นที่ระหว่างวันที่ 23-27 กันยายน 2562 ณ ประเทศโคลอมเบีย ซึ่งรองรับผู้ลี้ภัยและผู้อพยพชาวเวเนซุเอลาไว้มากที่สุดในโลก เพื่อดูการทำงานของ UNHCR ในพื้นที่ในการมอบความคุ้มครองและความช่วยเหลือแก่ครอบครัวชาวเวเนซุเอลาที่กำลังสิ้นหวัง และเพื่อเก็บภาพและข้อมูลในการทำสารคดีสั้นเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ในประเทศเวเนซุเอลา

โดยการเดินทางเยี่ยมผู้ลี้ภัยครั้งนี้เป็นภารกิจในต่างประเทศครั้งที่ 3 ของสาวปู หลังจากการลงพื้นที่เยี่ยมผู้ลี้ภัยซีเรียในประเทศจอร์แดน และชาวโรฮิงญาในประเทศบังคลาเทศในปีที่ผ่านมา ซึ่งปูเผยความรู้สึกว่า…

“ทุกๆ ครั้งที่ปูไปรู้สึกว่าสถานการณ์แต่ละที่มันยากและซับซ้อนมากในการให้ความช่วยเหลือ และในครั้งนี้ก็ไม่ง่ายขึ้นเลย ครั้งนี้เป็นจุดเปลี่ยนของชีวิตปูที่ได้เห็นวิกฤตการณ์ที่ยากสุด ซับซ้อนที่สุด มีทั้งความไม่มั่นคงในประเทศเอง มีทั้งการลี้ภัยและการอพยพที่ต้องการความช่วยเหลือที่ต่างกันไป ในพื้นที่ที่ปูไปเยี่ยมครั้งนี้ไม่ใช่ในค่ายผู้ลี้ภัยนะคะ แต่เป็นศูนย์อพยพในสถานการณ์ฉุกเฉินจริงๆ ซึ่งวิกฤตครั้งนี้ต้องการความร่วมมือจากทุกฝ่าย สถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ไม่ต่างจากสถานการณ์แห่งความเป็นความตาย พวกเขาต้องหนีออกมาแสวงหาความปลอดภัยและมาถึงชายแดนด้วยความหวาดกลัว เหนื่อยล้า และต้องการความช่วยเหลือฉุกเฉิน ปูชื่นชมการทำงานของ UNHCR ที่ทำงานอย่างรอบด้านเพื่อให้ความช่วยเหลือทุกคนอย่างเร่งด่วน และชื่นชมความเข้มแข็งและแข็งแกร่งของผู้ลี้ภัยและผู้อพยพทุกคน”

“ปูได้เห็นกับตาตัวเองที่สะพานข้ามแม่น้ำตาชีรา Saimon Bolivar International ชายแดนโคลอมเบีย-เวเนซุเอลาที่เป็นเส้นทางหลักในการลี้ภัยของชาวเวเนซุเอลาเพื่อข้ามมาที่โคลอมเบีย ได้เห็นคนเป็นพันๆ คนข้ามสะพานหนีตายจากความโหดร้าย เห็นคนท้อง คนพิการ เด็กเล็ก ผู้ป่วยที่ต้องออกจากบ้านตัวเอง นั่นแสดงให้เห็นว่าพวกเขาอยู่ไม่ได้แล้วจริงๆ ไม่มีแม้แต่น้ำ ไฟฟ้า ยารักษาโรค หรืออาหารในการดำรงชีวิต เด็กหลายคนต้องป่วยและเสียชีวิตเพราะไม่มีนมและต้องรองน้ำที่มีสารปนเปื้อนเพื่อดื่มประทังชีวิต การขาดแคลนกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในโรงพยาบาล ทำให้อัตราการเสียชีวิตของหญิงตั้งครรภ์เพิ่มขึ้น 65% และการเสียชีวิตของเด็กแรกเกิดเพิ่มขึ้น 53% สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้ปูและ UNHCR เศร้าใจเป็นอย่างมากและต้องเร่งช่วยเหลือพวกเขาอย่างเร่งด่วน ที่ศูนย์ช่วยเหลือผู้ลี้ภัยและผู้อพยพของ UNHCR บริเวณชายแดน เจ้าหน้าที่ทำงานตลอดเวลาเพราะทุกคนที่เข้ามาต่างมีภาวะฉุกเฉิน ปูเจอมีทั้งเด็กที่มีความพิการ ร่างกายผิดปกติ เด็กและผู้ใหญ่มากมายป่วยเป็นโรคขาดสารอาหาร ปูได้คุยกับคุณแม่ที่ลูกพิการ ตอนที่ปูกอดให้กำลังใจพวกเขา ร่างกายเขาเหลือแต่กระดูก”

“ปูได้เจอกับแอนกี้ คุณแม่ลูก 2 วัย 24 ปีที่ป่วยเป็นมะเร็งระยะที่ 4 เธอต้องลี้ภัยกับคุณแม่วัย 50 ปีและลูกเล็กอีก 2 คน เพราะที่เวเนซุเอลาไม่มียารักษาโรคให้เธออีกแล้ว เธอหนีมาที่โคลอมเบียเพียงแค่เพื่อมีชีวิตอยู่ต่ออีกสักหน่อยกับแม่และลูกของเธอ ตลอดเวลาที่ปูคุยกับเธอ เธอถือผ้าเช็ดหน้าตลอดเวลาเพื่อปกปิดความป่วยของเธอไม่ให้ใครเห็น”

“ปูได้พบกับแอนเดรียนา สามี และลูกของพวกเขา 3 คน จากเวเนซุเอลาที่เป็นกลุ่มเปราะบางที่สุด UNHCR พบพวกเขานอนข้างถนน จึงช่วยเหลือให้การรักษาและความคุ้มครอง แอนเดรียนาเจอกับความโหดร้ายในเวเนซุเอลาจนต้องอพยพมาที่โคลอมเบีย เธอไม่มีอะไรติดตัวมาเลย ต้องยอมให้ลูกและตนเองนอนข้างถนนเพื่อเอาชีวิตรอด เธออยู่อย่างหวาดกลัวทุกคืนเพราะมีกลุ่มติดอาวุธขี่มอเตอร์ไซค์วนเวียนมาถามเธอว่าจะขายอวัยวะของลูกเธอไหม เมื่อได้รับการช่วยเหลือจาก UNHCR เธอบอกว่าคืนนี้จะเป็นคืนแรกที่เธอจะปลอดภัยที่สุด”

Image result for “ปู ไปรยา” เปิดใจ ถึงภารกิจช่วยผู้ลี้ภัยที่โคลอมเบีย

“ปูเดินทางไปที่ Brisas del Norte (บริซาส เดล นอร์เต้) เป็นพื้นที่ชั่วคราวที่เป็นที่พักพิงให้กับผู้ลี้ภัยชาวเวเนซุเอลา ผู้พลัดถิ่นในประเทศ และผู้ลี้ภัยชาวโคลอมเบียที่กลับสู่ถิ่นฐานกว่า 250 ครอบครัว ซึ่งพวกเขาต้องผ่านการเป็นผู้พลัดถิ่นมาตลอดชีวิต ไฮโร อิบารา ต้องลี้ภัยจากโคลอมเบียไปเวเนซุเอลาตั้งแต่อายุ 10 ขวบ เพราะความรุนแรง พ่อเขาถูกฆ่า และลุงถูกลักพาตัวจนทุกวันนี้ยังหาตัวไม่พบ เมื่อความรุนแรงเกิดขึ้นในประเทศที่เขาหนีไปอยู่ เขาตัดสินใจพาลูกที่ป่วยกลับมาที่โคลอมเบียอีกครั้งในปี พ.ศ. 2557 โดยภรรยาและลูกอีกคนยังรออยู่ที่เวเนซุเอลาและจนวันนี้พวกเขาก็ยังไม่ได้อยู่ด้วยกัน”

“ไฮโรทำงานเป็นนักบัญชี มีชีวิตที่ดีอยู่ในเวเนซุเอลา แต่เมื่อต้องกลับมาที่โคลอมเบียอีกครั้งเขาต้องเริ่มจากติดลบ ต้องอาศัยอยู่ในเพิงที่รกร้าง ดูแลลูกที่ป่วยขยับไม่ได้ เขายังจำได้ว่าลูกทรมานแค่ไหนที่ต้องอยู่สภาพนั้น เราอาจจะมองว่าไฮโดรอยู่ในที่พักแบบนี้ได้อย่างไร แต่สำหรับเขาที่นี่คือวัง เพราะตอนที่เขากลับมา เขามีที่อยู่เป็นเพียงผ้าพลาสติกเท่านั้น แต่ไฮโรเข้มแข็งมาก เขาสู้แม้ไม่มีความหวังว่าชีวิตจะดีกว่านี้ได้อย่างไร เขาเข้าเรียนการทำงานฝีมือเพื่อเลี้ยงชีพถึงแม้จะเป็นเรื่องที่เขาไม่ถนัด แต่เขาสามารถใช้มันเลี้ยงดูครอบครัวได้ UNHCR ช่วยเหลือพวกเขาอยู่ในพื้นที่นี้ให้ได้รับการช่วยเหลือขั้นพื้นฐาน ได้มีน้ำ มีไฟฟ้า สร้างโรงเรียนสอนฟุตบอลให้เด็ก 300 คน เยียวยาและป้องกันการรุนแรงทางเพศ ผู้ลี้ภัยและผู้อพยพได้รับการเยียวยาจิตใจ การได้อยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลและเข้าใจ และตอนนี้เขาได้เจอภรรยาและลูกปีละ 2 ครั้งเท่านั้น ผ่านการโบกมือหากันที่ตรงชายแดน”

“ปูได้เห็นผู้คนตั้งแต่เขาเดินข้ามชายแดนมาที่โคลอมเบีย ต้องมานอนอยู่ข้างถนนเพราะไม่มีที่อยู่ ไม่มีเอกสารติดตัว ระหว่างทางพวกเขาต้องเจอความโหดร้ายมากมายทั้งโดนข่มขู่ ปล้น ลักพาตัว หลอกไปขายอวัยวะ หรือ บางคนตื่นมาไม่เห็นลูกตัวเองอีกแล้ว ปูได้พบมารีและอิสเมล ลูกวัย 3 ขวบที่พิการ มารีสูญเสียสามีและต้องลี้ภัยเพราะอิสเมลป่วยหนัก เพื่อให้ลูกคนเล็กมีชีวิตรอด มารีต้องทิ้งลูกสาวและพ่อแม่ของเธอไว้ที่เวเนซุเอลา โดยไม่รู้ว่าจะได้กลับไปอีกเมื่อไหร่ มาเรียมีค่าใช้จ่ายสูงมากในการหาซื้อยาให้อิสเมลในเวเนซุเอลา เธอลี้ภัยมาโคลอมเบียและหาเลี้ยงชีพด้วยการขายขนมเพื่อแลกกับค่าเช่าบ้านให้เธอและลูก แต่ก็ทำต่อไม่ได้เพราะอิสเมลที่ป่วยหนักต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด เธอหวังว่าอิสเมลจะได้รับการรักษาที่ดีขึ้นในโคลอมเบีย UNHCR ตามหากลุ่มคนที่เปราะบางที่สุดเพื่อให้ได้ความช่วยเหลือที่เร่งด่วน ทั้งการออกเอกสารระบุตัวตน มอบความช่วยเหลือด้านการแพทย์ ที่พักพิงชั่วคราว ปัจจัย 4 การเยียวยาจิตใจ และการอยู่ร่วมกันกับคนโคลอมเบียอย่างเกื้อกูลเพื่อเขาจะได้อยู่ปลอดภัย”

Image result for “ปู ไปรยา” เปิดใจ ถึงภารกิจช่วยผู้ลี้ภัยที่โคลอมเบีย

“ปูเชื่อว่าไม่มีมนุษย์คนไหนเกิดมาแล้วอยากเป็นผู้ลี้ภัย ต้องมาขออาศัยในประเทศอื่น และมีชีวิตอย่างยากลำบาก พวกเขาไม่รู้จะหันไปหาความช่วยเหลือได้จากไหน เพราะฉะนั้นการลงพื้นที่แต่ละครั้งมอบความทรงจำและพลังให้ปูต้องทำงานหนักและมุ่งมั่นในการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะทูตสันถวไมตรีของ UNHCR เพื่อยืนหยัดเคียงข้างผู้ลี้ภัยทั่วโลกต่อไป”

ทั้งนี้ ด้วยจำนวนผู้ลี้ภัยและผู้อพยพชาวเวเนซุเอลาที่ยังคงเพิ่มสูงขึ้น ทรัพยากรเริ่มลดน้อยลงและจำนวนครอบครัวที่ต้องการความช่วยเหลือนั้นมีมากขึ้น พวกเขาจำเป็นต้องได้รับการคุ้มครอง รวมถึงที่พักอาศัย อาหาร และยารักษาโรคในทันที ทำให้ UNHCR ไม่อาจทำงานที่สำคัญนี้ได้เพียงลำพัง เราต้องการงบประมาณกว่า 158.2 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือมากกว่า 4,900 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือพวกเขา และตอนนี้ยังขาดงบประมาณอีกถึง 1,300 ล้านบาทในการให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน สามารถบริจาคเพื่อช่วยชีวิตครอบครัวชาวเวเนซุเอลาที่กำลังสิ้นหวัง ที่ เว็บไซต์ https://www.unhcr.or.th/donate/venezuela, SMS พิมพ์ 99 ส่งมาที่ 4141099 เพื่อบริจาคครั้งละ 99 บาท หรือ โทร. 02-206 2144 (วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 9.00 – 18.00 น.)

 

ลี้ภัย 1.4 ล้านคนหนีเข้ามาที่ประเทศโคลอมเบีย

วิกฤตการเมืองเวเนซุเอลาไม่ได้เพิ่งเกิด เรื่องนี้เป็นมหากาพย์ต่อเนื่องยาวนานนับตั้งแต่ปี 2000 มีคนลี้ภัยออกนอกประเทศกว่า 4.3 ล้านคน และ 1.4 ล้านคนหนีเข้ามาที่ประเทศโคลอมเบียที่ชายแดนติดต่อกัน เกิดวิกฤตและปัญหาต่างๆ จนทำให้เศรษฐกิจประเทศล้มละลาย เกิดอัตราเงินเฟ้อที่สูงมาก เงินกลายเป็นสิ่งที่ไม่มีความหมาย เกิดอาชญากรรมมากขึ้น ปัญหาสาธารณูปโภคทำให้ประชาชนไม่สามารถดำรงชีวิตในประเทศนี้ต่อไปได้

เคน นครินทร์ ได้รับเชิญจากหน่วยงาน UNHCR ไปดูวิกฤตผู้ลี้ภัยเวเนเวซุเอลา และกลับมาวิเคราะห์ต้นตอและสาเหตุเพื่อเป็นข้อเตือนใจให้หลายๆ องค์กรนำไปประยุกต์ใช้หรือปรับปรุงได้ทันเวลา ในรายการ The Secret Sauce: Executive Espresso

Image result for หนีเข้ามาที่ประเทศโคลอมเบีย

3 สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดวิกฤตในเวเนซุเอลา

1. ไม่กระจายความเสี่ยง

เวเนซุเอลาในยุคก่อนเป็นประเทศที่ร่ำรวยมาก แต่รายได้ประเทศ 95% อยู่ที่มูลค่าการส่งออกน้ำมัน ช่วงประมาณปี 1970 เป็นประเทศที่มี GDP สูงกว่าสเปน กรีซ อิสราเอล และยังเคยเป็นที่พักพิงของชาวโคลอมเบีย ในสมัยนั้นน้ำมันมีมูลค่าสูงมาก และเวเนซุเอลาเป็นผู้นำในการส่งออกน้ำมันระดับโลกตั้งแต่ปี 2001-2013 ราคาน้ำมันสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ประเทศมีรายได้สูงมาก แต่มีสัญญาณวิกฤตเกิดขึ้น เมื่อสหรัฐอเมริกาจากเคยเป็นผู้นำเข้าน้ำมันอันดับหนึ่งของโลกได้ค้นพบเทคโนโลยีในการขุดน้ำมัน ซึ่งสามารถมีกำลังการผลิตจำนวนมาก ทำให้สหรัฐอเมริกาไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันจากประเทศอื่นๆ อีกต่อไป และส่งผลให้ราคาน้ำมันลดลงอย่างรวดเร็ว นอกจากสหรัฐอเมริกาแล้วยังมีประเทศอื่นๆ ที่มีกำลังการผลิตน้ำมันมากขึ้นเช่นกัน ตัวอย่างเช่น แคนาดา จากกำลังการผลิต 2.5 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2009 กลายเป็น 3.3 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2013 ภาพรวมการแข่งขันธุรกิจน้ำมันค่อนข้างสูง และเป็นสัญญาณในการเปลี่ยนแปลงธุรกิจเพื่อความอยู่รอด ดูตัวอย่างจาก OPEC ซึ่งเป็นผู้นำการส่งออกน้ำมัน ตอนนี้ธุรกิจหลักของบริษัทมีหลากหลายมากขึ้นที่ไม่ใช่แค่น้ำมัน ทางบริษัทมาเน้นเรื่องการบริการ ธุรกิจสายการบิน และอื่นๆ เพื่อกระจายความเสี่ยงธุรกิจ

2. ไม่ส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรม

รัฐบาลเวเนซุเอลาทำการยึดกิจการจากเอกชนให้รัฐบาลมาบริหารงานแทน หมายถึงรัฐบาลบริหารงานเองโดยไม่มีผู้แข่งขัน หรือเรียกได้ว่าตลาดผูกขาด ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง เนื่องจากไม่มีผู้แข่งขัน ส่งผลให้ไม่มีการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ไม่เกิดการพัฒนา

3. ไม่สนับสนุนให้ประชาชนพึ่งพาตัวเอง

อย่างที่หลักปรัชญากล่าวไว้ว่า “ให้เบ็ดดีกว่าให้ปลา” พลังแห่งความยั่งยืน เรื่องของประชานิยม ประชากรในประเทศสามารถใช้พลังงานไฟฟ้าหรือน้ำมันในราคาถูกมากกว่าปกติหลายสิบเท่า ทำให้ประชาชนใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง นอกจากนั้นยังอุ้มราคาสินค้า ซึ่งก็คือการควบคุมและกำหนดราคาสินค้าให้ถูกกว่าความเป็นจริง ส่งผลให้ประชาชนไม่กระตือรือร้นในการทำอาชีพ ภาคธุรกิจไม่มีกำไร จึงต้องปิดตัวลง และยังไม่สนับสนุนให้ประชาชนทำธุรกิจเกษตร โดยมีการนำเข้าอาหารจากต่างประเทศแทน ซึ่งเวเนซุเอลาเป็นประเทศใกล้เส้นศูนย์สูตร มีลักษณะคล้ายประเทศไทย โดยสามารถทำการเกษตรได้ดี แต่รัฐบาลไม่สนับสนุนสิ่งนี้ ซึ่งเป็นปัจจัย 4 ในการดำรงชีวิตของผู้คน และรัฐบาลยังควบคุมอัตราการแลกเปลี่ยนเงินเพื่อป้องกันไม่ให้เงินไหลออกไปนอกประเทศ ทำให้ตลาดค่าเงินเวเนซุเอลาพังเพราะขาดแคลนเงินสกุลต่างชาติ ทำให้ไม่มีการลงทุนจากชาวต่างชาติ ส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อขั้นรุนแรง

นี่เป็นบทเรียนสำคัญที่ทุกคนสามารถเรียนรู้และนำมาปรับใช้ไม่ว่าจะกับประเทศหรือว่ากับองค์กร อย่างที่ ฟิลิป คอตเลอร์ ได้กล่าวว่า “ผู้นำเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้องค์กรอยู่รอดได้”

 

 

ชาวเวเนซุเอลานับพันไหลทะลักเข้าโคลอมเบีย

ชาวเวเนซุเอลาที่สิ้นหวังกับการใช้ชีวิตในประเทศของตน ยังคงไหลทะลักข้ามพรมแดนไปยังโคลอมเบียอย่างต่อเนื่อง ขณะที่รัฐบาลโคลอมเบียเตือนผู้นำเวเนซุเอลาให้เตรียมรับผิดชอบกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมา

ชีวิตความเป็นอยู่ที่แร้นแค้น ทั้งอาหารขาดแคลน ขณะที่ไฟฟ้าและน้ำประปาก็ไม่มีใช้ทำให้ชาวเวเนซุเอลาหลายพันคน พยายามฝ่าแนวกั้นพรมแดน ปีนขึ้นไปบนตู้คอนเทนเนอร์และรถบรรทุก ที่เจ้าหน้าที่เวเนซุเอลานำมากั้นไม่ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมหลายร้อยตันจากต่างชาติ นำโดยสหรัฐฯ ที่จะมาจากสะพานข้ามแม่น้ำฝั่งโคลอมเบียเข้ามายังประเทศ

ชาวเวเนซุเอลานับพันไหลทะลักเข้าโคลอมเบีย

ขณะที่สถานการณ์ในเวเนซุเอลาเลวร้ายลงทุกขณะ ประชาชนจึงไหลทะลักไปหางานทำในประเทศเพื่อนบ้าน

เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองโคลอมเบียเตือน ประธานาธิบดีนิโคลัส มาดูโร ผู้นำเวเนซุเอลาจะต้องรับผิดชอบกับผลที่จะตามมา จากการเคลื่อนย้ายของประชากร ขณะที่จำนวนชาวเวเนซุเอลาที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้สะพานซิมอน โบลิวาร์ อาจรับน้ำหนักไม่ไหวและเสี่ยงพังถล่มได้

นับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ทั้งการเมืองและเศรษฐกิจในเวเนซุเอลา มีชาวเวเนซุเอลาหลายล้านคนแล้วที่ไหลทะลักเข้ามาหางานทำในโคลอมเบีย เนื่องจากตอนนี้ขาดแคลนทั้งอาหารและยารักษาโรค

แองเจลินา โจลี กล่าวในประเทศโคลอมเบียฐานะทูตพิเศษ

ดารานักแสดงสาวชื่อดัง ออกมาเรียกร้องให้ประชาคมโลกให้ความช่วยเหลือเด็กๆผู้อพยพชาวเวเนซุเอลาจำนวนมากที่กำลังเผชิญกับปัญหาสิทธิพลเมืองในต่างแดน

Image result for แองเจลินา โจลี กล่าวในประเทศโคลอมเบียฐานะทูตพิเศษ

แองเจลินา โจลี ดารานักแสดงฮอลลีวูดสาวชื่อดังของโลก กล่าวในประเทศโคลอมเบีย ในฐานะทูตพิเศษของข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็นเอชซีอาร์ เรียกร้องให้ประชาคมโลกให้ความช่วยเหลือสนับสนุน 3 ประเทศในอเมริกาใต้ที่มีผู้อพยพชาวเวเนซุเอลาหลบหนีวิกฤตในประเทศหลั่งไหลเข้าไปมากที่สุด โดยโจลีกล่าวว่า ตอนนี้มีเด็กๆชาวเวเนซุเอลา 20,000 คนที่กำลังมีความเสี่ยงเผชิญกับปัญหาสิทธิพลเมืองขั้นพื้นฐานในต่างแดน ดังนั้นความช่วยเหลือจากนานาประเทศจึงเป็นสิ่งจำเป็น

ชาวเวเนซุเอลา 4 ล้านคนได้อพยพหลบหนีออกจากประเทศเพราะวิกฤตทางเศรษฐกิจและมนุษยธรรม โดยมีมากกว่า 1 ล้านคนที่ตอนนี้กำลังอาศัยอยู่ในโคลอมเบีย แต่ทางรัฐบาลโคลอมเบียและหน่วยงานช่วยเหลือก็ประสบความยากลำบากในการจัดหาที่อยู่, อาหาร และประกันสุขภาพให้เพียงพอกับจำนวนผู้อพยพชาวเวเนซุเอลาที่หลั่งไหลเข้ามา

จากวิกฤตทางเศรษฐกิจในเวเนซุเอลา ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนอาหาร, ยา และปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต ยิ่งไปกว่านั้นการที่สหรัฐใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อรัฐบาลเวเนซุเอลา เพื่อบีบให้ประธานาธิบดีนิโกลัส มาดูโร ผู้นำเวเนซุเอลา ลงจากตำแหน่ง ก็ยิ่งทำให้สถานการณ์ย่ำแย่ลงไปอีก

ในขณะเดียวกัน ชาวเวเนซุเอลาหลายพันคนได้ข้ามพรมแดนไปยังประเทศโคลอมเบียอีกครั้งเพื่อซื้ออาหาร ยา และสิ่งของจำเป็น หลังมีการเปิดชายแดนระหว่างทั้งสองประเทศอีกครั้งหลังจากที่ก่อนหน้านี้ปิดไปตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ตามคำสั่งของประธานาธิบดีมาดูโร เพื่อไม่ให้นายฆวน กวัยโด ผู้นำฝ่ายค้าน สามารถนำความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมที่มีสหรัฐสนับสนุน เข้าสู่ประเทศได้

ทหารเวเนซุเอลานับร้อยหนีไปโคลอมเบีย

ทหารเวเนซุเอลากว่าร้อยคนแปรพักตร์ หลังจากเหตุปะทะนองเลือดระหว่างกองทัพและพลเรือนเวเนซุเอลาเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะสหรัฐ ฯ และฝ่ายค้านซึ่งนำโดยนายฮวน กุยโด พยายามขนส่งอาหารและยาข้ามพรมแดนเข้าไปให้ความช่วยเหลือ

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (23 ก.พ.) ฝ่ายค้านของเวเนซุเอลาซึ่งนำโดยนายกุยโด ผู้ประกาศตนเป็นรักษาการประธานาธิบดี ตั้งใจที่จะขนส่งอาหารและยาซึ่งจัดหาโดยสหรัฐฯ เข้าไปในประเทศโดยสันติ ผ่านพรมแดนที่ติดกับโคลอมเบียและบราซิล แต่นายนิโกลัส มาดูโร ประธานาธิบดีเวเนซุเอลา ส่งกองกำลังทหารไปสกัดไว้

ความพยายามของชาวเวเนซุเอลาที่จะเดินทางข้ามพรมแดนไปขนอาหารและยากลับมา นำไปสู่การปะทะนองเลือดในที่สุด โดยทหารยิงใส่ประชาชนด้วยกระสุนจริงและกระสุนยาง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 2 ราย

การต้องต่อสู้ปะทะกับชาวเวเนซุเอลาด้วยกันเองเป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ทหารหลายคนตัดสินใจหนีไปยังโคลอมเบีย และหลายคนก็แสดงความกังวัลต่อความปลอดภัยของครอบครัวที่พวกเขาทิ้งไว้เบื้องหลัง

ในการสัมภาษณ์พิเศษกับ โอร์ลา เกียร์รัน ผู้สื่อข่าวบีบีซี ทหารเวเนซุเอลาวัย 23 ปีคนหนึ่งบอกว่า กังวลว่ากองกำลังที่ภักดีต่อนายมาดูโร ประธานาธิบดีเวเนซุเอลา อาจ “ทำร้ายครอบครัวผม” แต่ก็บอกว่านี่เป็นการตัดสินใจที่ดีที่สุดที่เขาจะทำได้

กลุ่มทหารผู้แปรพักตร์ให้สัมภาษณ์บีบีซีโดยไม่เปิดเผยชื่อจริง

ว่ากันว่า มีทหารมากกว่าร้อยคนแล้วที่แปรพักตร์ โดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นระหว่างเหตุปะทะรุนแรงเมื่อวันเสาร์

ที่จุดข้ามพรมแดนหลายแห่ง กองทัพเวเนซุเอลายิงแก๊สน้ำตาใส่อาสาสมัครและผู้ประท้วงที่เผาด่านของกองทัพเวเนซุเอลา และโยนหินใส่ทหารและตำรวจควบคุมฝูงชน

กลุ่มทหารแปรพักตร์ซึ่งรวมตัวกันอยู่ที่โบสถ์แห่งหนึ่งในเมืองคูคูตา ประเทศโคลอมเบีย เล่าให้บีบีซีฟังถึงเหตุผลที่พวกเขาตัดสินใจหันหลังให้กองทัพเวเนซุเอลา

“มีกองทหารมากมายที่ต้องการทำเช่นนี้ และนี่จะทำให้เกิดผลกระทบแบบโดมิโน จะมีผลกระทบอย่างมากต่อกองกำลังทหาร” ทหารชายวัย 29 ปี กล่าว พร้อมกับบอกว่า ทหารเหนื่อยแล้ว และพวกเขาไม่สามารถอยู่อย่างเป็นทาสได้ต่อไป และพวกเขากำลังปลดแอกตัวเอง

ทหารหญิงคนหนึ่งบอกว่า สถานการณ์เมื่อวันเสาร์ “ตึงเครียด” และบอกว่า “ฉันคิดว่า ฉันไม่สามารถทำร้ายคนของฉันเองได้”

“ลูกสาวฉันยังอยู่ในเวเนซุเอลา และนั่นทำให้ฉันเจ็บปวดที่สุด แต่ฉันทำเช่นนี้เพื่อลูก มันยากเพราะฉันไม่รู้เลยว่า พวกเขาจะทำอะไรกับลูก”

ทหารอีกคนหนึ่งบอกว่า เขารู้สึกเจ็บปวดเมื่อต้องเห็นชาวเวเนซุเอลาบนท้องถนน ต้องต่อสู้เพื่อสิ่งของเพื่อการช่วยเหลือ

โอร์ลา เกียร์รัน ระบุว่า เธอได้พบกับกลุ่มทหารกลุ่มนี้หนึ่งวันหลังจากพวกเขาทิ้งอาวุธ และเดินทางมาโคลอมเบีย บางคนดูยังตกตะลึงจากเหตุการณ์เมื่อสุดสัปดาห์ ที่กองกำลังเวเนซุเอลายิงแก๊สน้ำตาและกระสุนยางเข้าใส่คนเวเนซุเอลาด้วยกันเอง

บาทหลวงผู้ต้อนรับพวกเขาเข้ามาพักพิงในโบสถ์เล่าว่า หลายคนมาพร้อมกับอาการบาดเจ็บ ผู้แปรพักตร์บอกว่า พวกเขาหนีออกมาเพราะว่า บ้านเกิดของพวกเขาต้องการการเปลี่ยนแปลง และลูกของพวกเขาก็ต้องการอาหาร ทหารเหล่านี้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นทหารชั้นผู้น้อย บอกว่า ทหารระดับผู้บังคับบัญชายังจงรักภักดีต่อ ปธน.มาดูโร อยู่ แต่ทหารชั้นผู้น้อยกำลังหันไปให้ความศรัทธาต่อ นายกุยโด

กว่า 50 ประเทศแล้ว ให้การยอมรับนายกุยโดในฐานะผู้นำเวเนซุเอลา เขาเรียกร้องให้ประเทศอื่น ๆ พิจารณา “ทุกมาตรการ” ที่จะโค่นล้มนายมาดูโร

ด้าน นายไมค์ ปอมเปโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ บอกว่า วันของนายมาดูโรในฐานะประธานาธิบดีกำลังจะสิ้นสุดแล้ว

คาร์บอมถล่มโคลอมเบีย ตายแล้วอย่างน้อย 10 เจ็บครึ่งร้อย

เกิดเหตุระเบิดรถยนต์หรือคาร์บอมขึ้นที่ในกรุงโบโกตา เมืองหลวงของประเทศโคลอมเบีย ด้านหน้าโรงเรียนนายร้อยตำรวจซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของเมือง เมื่อเวลาประมาณศูนย์ 9.30 น. ของวันที่ 17 มกราคมตามเวลาท้องถิ่น ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 10 รายและได้รับบาดเจ็บมากกว่า 50 คน

Image result for คาร์บอมถล่มโคลอมเบีย

ทางการเผยว่ารถคันดังกล่าวได้พุ่งชนจุดตรวจเข้ามายังพื้นที่ด้านในของโรงเรียน ก่อนที่คนขับซึ่งมีรายงานว่าเป็นชายวัย 57 ปีจะจุดระเบิดรถขึ้น แรงระเบิดทำให้กระจกของอพาร์ตเมนต์ที่อยู่ใกล้เคียงแตกกระจัดกระจาย อย่างไรก็ดีจนถึงขณะนี้ยังไม่มีกลุ่มใดออกมาอ้างว่าอยู่เบื้องหลังเหตุระเบิดดังกล่าว

ด้านประธานาธิบดีโคลอมเบียระบุว่า เหตุระเบิดครั้งนี้เป็นการก่อการร้ายที่บ้าคลั่งต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปราศจากอาวุธ โดยเขาได้สั่งการให้ตำรวจและกองทัพควานหาตัวผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำตัวมารับโทษแล้ว เพราะโคลอมเบียจะไม่ยอมแพ้ต่อกลุ่มก่อการร้ายแต่เราจะเอาชนะมัน เหตุการณ์ครั้งนี้ไม่ใช่ข้อยกเว้นแต่อย่างใด

Image result for คาร์บอมถล่มโคลอมเบีย

ฝ่ายสอบสวนระบุตัวชายคนขับรถว่าคือนายโฆเซ อัลเดอมาร์ โรจาส์ โรดริเกซ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้เสียชีวิต โดยรถที่เขาใช้ก่อเหตุคือรถนิสสันเอสยูวีที่มีการบรรทุกวัตถุระเบิดหนัก 80 กิโลกรัมมาด้วย ซึ่งระเบิดชนิดนี้มักจะถูกใช้โดยกองกำลังติดอาวุธของโคลอมเบียในอดีต

ด้านกระทรวงกลาโหมโคลอมเบียออกแถลงการณ์ระบุว่า ในจำนวนผู้เสียชีวิต 10 ราย 9 รายเป็นนักเรียนของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ อีก 1 รายคือคนร้าย ขณะที่มีผู้ได้รับบาดเจ็บรวม 54 คน

ศาลสหรัฐฯ ตัดสินจำคุกเอล ชาโปล ตลอดชีวิต

ศาลสหรัฐฯ ตัดสินจำคุก “เอล ชาโปล” เจ้าพ่อยาเสพติดชาวเม็กซิกันตลอดชีวิต

วันที่ 18 ก.ค. 62 สื่อต่างประเทศรายงานว่า ศาลสหรัฐฯได้ตัดสินโทษจำคุกนายฮัวคิน “เอล ชาโป” กุซมาน ราชายาเสพติดชาวเม็กซิกันวัย 62 ปี ตลอดชีวิต จากความผิด10 คดี พร้อมทั้งปรับเงินมากถึง 12,600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือราว 3.9 แสนล้านบาท อีกทั้งศาลยังมีการพิจารณาโทษจำคุกเพิ่มเติมอีก 30 ปี จากความผิดในคดีลักลอบขนยาเสพติดเข้าสหรัฐฯ รวมถึงความผิดฐานฟอกเงิน

เอล ชาโปถือเป็นพ่อค้ายาเสพติดรายใหญ่ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งของโลก เช่นเดียวกับปาโบล เอสโกบาร์ พ่อค้ายาชาวโคลอมเบียผู้ล่วงลับอย่าง นอกจากนี้เขายังเป็นหัวหน้าแก๊งซินาลัว เอล ชาโปเคยแหกคุกที่มีระบบความปลอดภัยสูงสุดของเม็กซิโกมาได้แล้วถึง 2 ครั้งเมื่อปี 2001 และ 2015 ก่อนที่จะถูกจับกุมตัวและถูกรัฐบาลเม็กซิโกอีกครั้งจนถูกส่งตัวไปดำเนินคดีที่ศาลสหรัฐฯ ในที่สุด ตามรายงานระบุว่าเอล ชาโปสร้างรายได้จากการค้ายาเสพติดมากถึง 3 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี (ราว 9 หมื่น 8 พันล้านบาท) อีกทั้งยังมีอิทธิพลอย่างกว้างขวางในอย่างน้อย 50 ประเทศทั่วโลก

เวเนซุเอลา” ข้ามไป “โคลอมเบีย” อีกครั้ง หลังเปิดพรมแดน

ชาวเวเนซุเอลาข้ามพรมแดนไปยังโคลอมเบียอีกครั้งเพื่อซื้ออาหารและสิ่งของจำเป็น หลังมีการเปิดชายแดนอีกครั้งหลังปิดไปนาน 4 เดือน

ชาวเวเนซุเอลาหลายพันคนข้ามพรมแดนไปยังประเทศโคลอมเบียอีกครั้งเพื่อซื้ออาหาร ยา และสิ่งของจำเป็น หลังมีการเปิดชายแดนระหว่างทั้งสองประเทศอีกครั้งหลังจากที่ก่อนหน้านี้ปิดไปตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ตามคำสั่งของประธานาธิบดีนิโกลัส มาดูโร ผู้นำเวเนซุเอลา เพื่อไม่ให้นายฆวน กวัยโด ผู้นำฝ่ายค้าน สามารถนำความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมที่มีสหรัฐสนับสนุน เข้าสู่ประเทศได้

Image result for ชาว “เวเนซุเอลา” ข้ามไป “โคลอมเบีย” อีกครั้ง หลังเปิดพรมแดน

โดยตอนนี้ประเทศเวเนซุเอลากำลังขาดแคลนปัจจัยพื้นฐานอย่างหนักซึ่งเป็นผลพวงจากวิกฤตทางเศรษฐกิจในประเทศที่ดำเนินมานานหลายปี ทำให้ชาวเวเนซุเอลาต้องไปหาซื้อจากโคลอมเบียแทน นอกจากนี้นับตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมาก็มีชาวเวเนซุเอลาอพยพหลบหนีออกจากประเทศแล้วมากกว่า 4 ล้านคน

ประธานาธิบดีมาดูโรได้สั่งปิดชายแดนติดกับโคลอมเบีย บราซิล และเกาะกือราเซา เพราะฝ่ายค้านเตรียมที่จะนำความช่วยเหลือจากต่างชาติเข้าสู่ประเทศ ที่ประธานาธิบดีมาดูโรกล่าวประณามว่าเป็นส่วนหนึ่งของแผนที่จะล้มเขาลงจากอำนาจ แต่แล้วเขาก็ประกาศเปิดชายแดนติดกับบราซิลเมื่อเดือนก่อน ตามด้วยเปิดชายแดนติดกับโคลอมเบียในครั้งนี้

ทหารเวเนฯปิดสะพานเชื่อมโคลอมเบีย ปัดรับความช่วยเหลือ

ประธานาธิบดีนิโคลัส มาดูโร ผู้นำเวเนซุเอลา ได้สั่งการให้กองกำลังรักษาดินแดน (National guard) นำรถบรรทุกปิดกั้นสะพานที่เชื่อมระหว่างชายแดนเวเนซุเอลา กับประเทศโคลอมเบีย เพื่อสกัดไม่ให้ทีมช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมนำยาอาหาร และของใช้จำเป็นต่างๆเข้ามายังเวเนซุเอลาได้

การส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมดังกล่าวมาจากนาย ฆวน ไกวโด ผู้อ้างตัวเป็นประธานาธิบดีรักษาการเวเนฯ และได้รับการรับรองจากหลายประเทศ ร้องขอให้นานาชาติส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเข้ามายังเวเนฯ

 

Image result for ทหารเวเนฯปิดสะพานเชื่อมโคลอมเบีย