สาธารณรัฐโคลอมเบีย

โคลอมเบีย (Colombia) (ออกเสียง: [ko’lombja]) หรือชื่อทางการ สาธารณรัฐโคลอมเบีย (Republic of Colombia) เป็นประเทศในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้ มีอาณาเขตทางทิศตะวันออกติดต่อกับเวเนซุเอลาและบราซิล ทางทิศใต้ติดต่อกับเอกวาดอร์และเปรู ทางทิศเหนือจรดทะเลแคริบเบียน ส่วนทางทิศตะวันตกติดต่อกับปานามาและมหาสมุทรแปซิฟิก

สงครามกลางเมืองในโคลอมเบีย ซึ่งเป็นสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อยาวนานที่สุดของโลก ได้ดำเนินมาโดยไม่มีผู้ใดห้ามปรามถึง 35ปีแล้ว แต่ละปีมีผู้เสียชีวิตนับพันๆ คน กำลังคนราว 15,000 นายจากฝ่ายกองโจรกลุ่มต่างๆ ห้ากลุ่มสามารถควบคุมพื้นที่ในชนบทไว้ได้ถึง 60% ฝ่ายตรงข้ามกับพวกกบฏก็คือกองกำลังรักษาความมั่นคงของโคลอมเบีย และกลุ่มทหารฝ่ายขวาที่ไม่ได้สังกัดหน่วยใดหน่วยหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งรู้จักกันในว่าองค์กรกึ่งทหาร

ถึงตอนนี้อำนาจเศรษฐกิจและการเมืองของโคลอมเบียยังคงอยู่ในมือของชนชั้นสูงซึ่งเป็นผู้บริหารมาโดยตลอด แต่ความขัดแย้งในประเทศนี้มีมากกว่าเรื่องการเมือง แต่สิ่งที่เป็นหัวใจหลักของประเด็นความขัดแย้งได้แก่การควบคุมเส้นทางขนย้ายยาเสพย์ติดและการคอรัปชั่นต่างหาก

Image result for สาธารณรัฐโคลอมเบีย

โคลอมเบียประกาศเคอร์ฟิวควบคุมสถานการณ์ประท้วง

โคลอมเบียประกาศเคอร์ฟิวควบคุมสถานการณ์ประท้วง

นายกเทศมนตรีกรุงโบโกต้า ประเทศโคลอมเบียประกาศเคอร์ฟิว หลังผู้ชุมนุมหลายพันคนออกมาประท้วงรัฐบาลให้หยุดการคอรับชั่นและกดขี่กลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย การชุมนุมเริ่มทวีความรุนแรงเมื่อผู้ประท้วงออกมาปิดกั้นถนนและเริ่มมีการปล้นสะดมร้านค้า ตลอดจนบุกเผาสิ่งของและทำลายทรัพย์สินรัฐบาล เหตุประท้วงในโคลอมเบียทวีความรุนแรง หลังจากมีผู้ประท้วงเสียชีวิตไป 3 รายเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา

ผู้ประท้วงโคลอมเบียท้าทายเคอร์ฟิว ปะทะตำรวจปราบจลาจล

ตำรวจปราบจลาจลปะทะกับกลุ่มผู้ประท้วงชาวโคลอมเบียที่ไม่พอใจการดำเนินนโยบายของรัฐบาล และท้าทายคำสั่งประกาศเคอร์ฟิวในกรุงโบโกตา

เมื่อวันที่ 23 พ.ย.2562 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เกิดการปะทะกันระหว่างตำรวจปราบจลาจลกับกลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลโคลอมเบีย โดยตำรวจได้ฉีดน้ำแรงดันสูงและยิงแก๊สน้ำตาเข้าใส่กลุ่มผู้ประท้วงเป็นระยะ หลังจากผู้ประท้วงหลายร้อยคนนัดรวมตัวกันใจกลางกรุงโบโกตา

สาเหตุของการชุมนุมประท้วงครั้งนี้ มีชนวนมาจากความไม่พอใจรัฐบาลโคลอมเบียที่ไม่ยอมแก้ไขปัญหาการทุจริตของนักการเมือง และนิ่งเฉยต่อการลอบสังหารนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชน

ด้านนายอีวาน ดูเก ประธานาธิบดีโคลอมเบีย ออกคำสั่งประกาศเคอร์ฟิวห้ามประชาชนออกนอกเคหสถานในเวลากลางคืนทั่วกรุงโบโกตา หลังมีการประท้วงครั้งใหญ่เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ซึ่งคาดว่ามีประชาชนกว่า 250,000 คน ร่วมเดินขบวนเพื่อแสดงความไม่พอใจต่อการแก้ปัญหาของรัฐบาล นำไปสู่การสลายการชุมนุมจนทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 3 คน

บาทหลวงมิชชันนารีชาวโคลอมเบีย แปลเพลงรับเสด็จ “โป๊ปฟรังซิส”

บาทหลวงชาวโคลอมเบีย นำบทเพลง “ให้รักเป็นสะพาน“ แปลเนื้อร้องจากภาษาไทยเป็นภาษาสเปน เพื่อหวังว่า “โป๊ปฟรังซิส” จะได้ทรงรับฟังและทราบถึงความตั้งใจจริงของชาวไทยในการเฝ้ารับเสด็จพระองค์

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส องค์พระประมุขแห่งศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เตรียมเสด็จเยือนราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 20-23 พฤศจิกายนนี้ โดยคณะทำงานได้เร่งเตรียมการทุกด้านเป็นอย่างดี หนึ่งในนั้นคือด้านของบทเพลง ซึ่งได้มีการแต่งเนื้อร้องและทำนองเพลง “ให้รักเป็นสะพาน” สะท้อนพระดำริในการใช้ความรักเชื่อมโยงชาวโลกให้มีความกลมเกลียวเป็นหนึ่งเดียวกัน

เพลง “ให้รักเป็นสะพาน” ซึ่งขับร้องโดยศิลปินมากหน้าหลายตา ได้รับกระแสตอบรับเป็นอย่างดี หลังจากถูกเผยแพร่ในโลกออนไลน์ก่อนหน้านี้ และได้ช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับบาทหลวงชาวต่างชาตินำเนื้อร้องภาษาไทยมาแปลและปรับแต่งเป็นเนื้อร้องภาษาสเปน

บาทหลวงมิชชันนารีชาวโคลอมเบีย แปลเพลงรับเสด็จ “โป๊ปฟรังซิส” ทางการ สู่ภาษาที่พระสันตะปาปาเข้าใจ

บาทหลวงอันเดรส เฟลิเป้ ฮารามิลโล (Andres Felipe Jaramillo) ชาวโคลอมเบียเป็นสมาชิกมิชชันนารี หรือ คณะธรรมทูต “ยารูมาล” (YARUMAL) ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ออกเดินทางจากบ้านเกิดไปยังแคนาดา ก่อนจะต่อมายังเมืองไทย และปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดแม่พระแห่งลูร์ด จังหวัดลำปาง

บาทหลวงอันเดรสมาจากประเทศโคลอมเบียซึ่งใช้ภาษาสเปน เช่นเดียวกับ “โป๊ปฟรังซิส” ที่ทรงประสูติที่ประเทศอาร์เจนติน่า หลังจากพำนักอยู่ไทยมานาน 6 ปี “คุณพ่ออันเดรส” สามารถสื่อสารภาษาไทยได้อย่างยอดเยี่ยม และยังมีความสามารถในด้านดนตรี จึงได้นำเนื้อร้อง “ให้รักเป็นสะพาน” มาเรียบเรียงใหม่เป็นภาษาสเปน โดยพยายามรักษาความหมายเดิมไว้ให้ได้มากที่สุด นอกจากนี้ได้มีการแทรกคำสอนและคำศัพท์เฉพาะของ  “โป๊ปฟรังซิส” เข้าไปเพิ่มเติม

บาทหลวงอันเดรส ตั้งความหวังว่า บทเพลง “ให้รักเป็นสะพาน” ในเวอร์ชั่นภาษาสเปนนี้จะถูกส่งต่อไปถึง “โป๊ปฟรังซิส” ให้องค์สันตะบิดรแห่งชาวคริสต์นิกายโรมัน คาทอลิก ได้ทรงรับรู้ถึงความตั้งใจจริงของคริสตชนชาวไทย และพี่น้องคนไทยทุกคน ในการเฝ้ารอการมาถึงของพระองค์ระหว่างวันที่ 20-23 พ.ย. นี้

โดยทางคณะเตรียมงานรับเสด็จและสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย จะได้พยายามอย่างเต็มที่ในการนำบทเพลง “ให้รักเป็นสะพาน” เวอร์ชั่นภาษาสเปน ส่งต่อไปถึงสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสให้จงได้

บาทหลวงมิชชันนารีชาวโคลอมเบีย แปลเพลงรับเสด็จ “โป๊ปฟรังซิส” ทางการ สู่ภาษาที่พระสันตะปาปาเข้าใจ

 

2 พี่น้องโคลอมเบีย พบกันครั้งแรกในรอบ 34 ปี

นางสาวเจนิเฟอร์ เด ลา โรซา และนางสาวอังเคลา เรนดอน คู่พี่น้องที่พลัดพรากกันจากเหตุภูเขาไฟปะทุ เมื่อเดือน พ.ย. 2528 เจอเห็นหน้ากันเป็นครั้งแรกในรอบ 34 ปี ด้วยการโผเข้าไปกอดกัน เพราะดีใจสุดๆ

ภัยพิบัติครั้งนั้น ถือเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของประเทศโคลอมเบีย เพราะมีผู้เสียชีวิตไปถึง 25,000 คน ซึ่งส่วนมากอาศัยอยู่ที่เมืองอาร์เมโร จ.โตลิมา ใกล้เทือกเขาแอนดีส ซึ่งเป็นที่ตั้งของภูเขาไฟเนบาโด เดล รุยซ์

ขณะนั้น นางสาวเจนิเฟอร์ และนางสาวอังเคลา เสียพ่อแม่ไป เพราะถูกเถ้าภูเขาไฟร้อนทับถมจนเสียชีวิต ขณะนั้น นางสาวเจนิเฟอร์ ที่มีอายุเพียง 1 สัปดาห์ ถูกรับเลี้ยงจากคู่รักในประเทศสเปน ที่ไม่มีลูกเป็นของตัวเอง ขณะที่นางสาวอังเคลาได้ไปอยู่กับครอบครัวชาวโคลอมเบีย ทำให้ทั้งคู่ต้องแยกกันคนละทวีป

เมื่อโตขึ้น นางสาวเจนิเฟอร์ ที่อยู่ที่ประเทศสเปน จึงออกตามหาครอบครัวตามสายเลือด ที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่เมื่อเวลาผ่านไปหลายปี ก็ยังไม่พบเบาะแสใดๆ

อย่างไรก็ตาม เมื่อช่วงที่ผ่านมาของเดือนนี้ สถาบันด้านพันธุวิทยาแห่งหนึ่งในกรุงโบโกตา ของโคลอมเบีย ประกาศว่าพบหลักฐานบางอย่างที่ยืนยันว่า มีผู้หญิงคนหนึ่งที่น่าจะเป็นพี่น้องของเธอ อาศัยอยู่ในประเทศโคลอมเบีย

หลังจากนั้น นางสาวเจนิเฟอร์จึงรีบเดินทางมายังโคลอมเบีย เพื่อมาพบกับพี่สาวของตน ในงานที่อค์กรชื่อ อาร์มันโด อาร์เมโร จัดขึ้น

การพบกันครั้งนี้ไม่ได้สร้างความดีใจให้กับพี่น้องคู่ดังกล่าวเท่านั้น แต่ยังเป็นความหวังให้กับคนจำนวนมากที่สูญเสียหรือพลัดพรากจากสมาชิกในครอบครัว จากเหตุการณ์ครั้งนั้นอีกด้วย

ที่มาของสีธงประเทศโคลอมเบีย

หนึ่งในคำอธิบายแรกเกี่ยวกับการตีความที่ให้กับสีของธงโคลอมเบียได้รับในปี 1819 โดยสภาคองเกรส Angostura คนแรกที่อธิบายความหมายของธงคือ Francisco Antonio Zea.ในช่วงเหตุการณ์เช่นนี้สิ่งที่จะเป็นที่รู้จักในภายหลังในชื่อ Gran Colombia จะต้องถูกสร้างขึ้น Zea เน้นว่าแถบสีเหลืองหมายถึง “คนที่ต้องการและรักสหพันธ์”

ในส่วนของมันแถบสีฟ้าคือการพาดพิงของทะเลที่แยกอาณาเขตออกจากแอกของสเปนและสีแดงเป็นคำสาบานที่บ่งบอกว่าชอบสงครามมากกว่าที่จะตกอยู่ภายใต้การปกครองของสเปนอีกครั้ง

ในน้ำเสียงเดียวกันนี้มีความเชื่อกันว่าสีเหมือนกันบนธงชาติสเปน แต่มีสีน้ำเงินตรงกลางที่แสดงออกถึงความหมายเดียวกับที่เสนอโดย Zea

Image result for สีธงประเทศโคลอมเบีย

สวนพฤกษศาสตร์โบโกตาประเทศโคลอมเบีย

สัมผัสพรรณไม้ประจำถิ่นของโคลอมเบีย เรียนโยคะหรือเพลิดเพลินไปกับการปิกนิกในสวนพฤกษศาสตร์เงียบสงบที่ได้รับการดูแลรักษาเป็นอย่างดีแห่งนี้

เดินทางออกจากเมืองที่อึกทึกจอแจมาสำรวจต้นไม้และดอกไม้พื้นเมืองที่ Jardín Botánico José Celestino Mutis (สวนพฤกษศาสตร์โบโกตา) ซึ่งถือเป็นสถานที่ที่เหมาะต่อการผ่อนคลายด้วยการมาปิกนิก เรียนโยคะหรือสนุกสนานไปกับการฟังดนตรีสด สวนแห่งนี้เปิดทำการในปี 1955 เพื่อเป็นเกีย

Image result for สวนพฤกษศาสตร์โบโกตารติให้กับนักดาราศาสตร์และนักพฤกษศาสตร์ชาวสเปนนามว่า José Celestino Mutis

เดินไปตามทางเดินรอบสวนบนพื้นที่ 47 เอเคอร์ (19 เฮกตาร์) เพื่อสัมผัสกับการจัดแสดงพรรณพืชรวมทั้งสิ้นประมาณ 18,000 ต้น ป้ายบอกทางจะนำทางคุณไปชมการจัดแสดงต่างๆ และป้ายข้อมูลจะระบุชื่อของพืชชนิดนั้นๆ ด้วย ค้นหาพื้นที่จัดแสดงแบ่งตามเขตสภาพภูมิอากาศต่างๆ ของโคลอมเบีย รวมถึงแอมะซอน เทือกเขาแอนดีสและแม่น้ำโอรีโนโก

ชมต้นปาล์มเกือบ 600 ต้นหรือต้นกล้วยไม้พื้นเมืองนับพันชนิด สำรวจสวนกุหลาบสีสันหลากหลายมากกว่า 70 ชนิด และแวะชมเรือนกระจกสำหรับอนุรักษ์พรรณพืชที่มีกลิ่นหอมและมีคุณสมบัติเป็นยา อย่าพลาดเดินผ่านป่าแอนเดียนและชื่นชมต้นโอ๊กที่สูงตระหง่านต่าง

Image result for สวนพฤกษศาสตร์โบโกตา

ความสวยงามน่าดึงดูดใจและความเงียบสงบของสวนแห่งนี้ทำให้ที่นี่น่าอยู่เหมาะต่อการมาพักผ่อน แวะรับประทานอาหารกลางวันหรืออาหารว่าง ณ คาเฟ่ในบริเวณนั้น พร้อมชมสระที่ตกแต่งอย่างสวยงามหรือนำอาหารมาปิกนิกที่โต๊ะบนระเบียงคาเฟ่ บางวันคุณสามารถเข้าร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้น เช่น ห้องเรียนโยคะสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ นอกจากนี้คุณยังสามารถเข้าฟังดนตรีสดที่หอประชุมของสวนแห่งนี้ได้ด้วย

สวนพฤกษศาสตร์โบโกตาตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของดาวน์ทาวน์และเดินทางได้ง่ายด้วยรถโดยสารสาธารณะ นอกจากนี้คุณยังสามารถโดยสารรถนักท่องเที่ยวเพื่อไปยังหน้าประตูสวนพฤษศาสตร์ได้ด้วย หากเดินทางมาด้วยรถยนต์ สามารถจอดรถในที่จอดแบบมิเตอร์ใกล้กับทางเข้าหลักได้

โคลอมเบียเลือกตั้งนายกเทศมนตรีหญิงเข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นครั้งแรก

ชาวโคลอมเบียเลือกตั้งนายกเทศมนตรีหญิงเข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นครั้งแรกในกรุงโบโกตาหลังการลงนามข้อตกลงสันติภาพในปี 2559 คลอเดีย โลเปซ เป็นนายกเทศมนตรีหญิงคนแรกและเป็นคนรักเพศเดียวกันคนแรกที่ได้เข้ามาดำรงตำแหน่ง เธอมีภาพลักษณ์เป็นฝ่ายซ้ายที่ฉะกับนักการเมืองหัวอนุรักษ์อย่างตรงไปตรงมาและมีจุดยืนต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันมายาวนาน แต่ก็มีเสียงที่บอกว่าเธอหุนหันพลันแล่นเกินไป

Image result for คลอเดีย โลเปซ

29 ต.ค. 2562 คลอเดีย โลเปซ หญิงอายุ 49 ปี คือผู้ชนะการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีกรุงโบโกตา เมืองหลวงประเทศโคลอมเบียซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 27 ต.ค. ที่ผ่านมา คลอเดียสังกัดพรรคกรีนอะไลอันซ์  เคยดำรงตำแหน่งเป็น ส.ว. และเคยเป็นผู้แทนลงเลือกตั้งรองประธานาธิบดีในปี 2561 นอกจากนี้ยังเป็นนายกเทศมนตรีหญิงคนแรกและเป็นคนรักเพศเดียวกันคนแรกที่ได้รับตำแหน่งที่ถือว่าสำคัญเป็นอันดับที่สองรองลงมาจากประธานาธิบดี

อาร์ลีน ทิคเนอร์ ศาตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโรซาริโอกล่าวว่า ชัยชนะของโลเปซถือเป็นประวัติศาสตร์ในหลายระดับ ทั้งเรื่องที่เธอเป็นผู้หญิงคนแรกและคนรักเพศเดียวกันคนแรกที่ชนะการเลือกตังนายกเทศมนตรีในโคลอมเบีย และเรื่องที่เธอเป็นคนที่ต่อสู้กับการทุจริตคอร์รัปชันมายาวนานทำให้ชัยชนะของเธอน่าจะเป็นเสียงที่สร้างความฮึกเหิมให้กับเจ้าหน้าที่ทางการคนอื่นๆ ที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาในโคลอมเบียร่วมมือกับเธอ

การเลือกตั้งเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาถือเป็นการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ที่มีการลงนามข้อตกลงสันติภาพร่วมกันระหว่างกลุ่มกบฏ FARC กับรัฐบาล ซึ่งถือเป็นการปิดฉากความขัดแย้งที่มีมายาวนาน 52 ปี

โลเปซชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 35 เป็นนักการเมืองที่มีภาพลักษณ์เป็นคนโผงผางและหุนหันพลันแล่น เธอเป็นคนที่แสดงการต่อต้านนักการเมืองฝ่ายขวาจัดอย่างหนักแน่นทำให้เธอได้คะแนนนิยมจากประชาชนฝ่ายซ้ายและสายกลาง อย่างไรก็ตามความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปที่มีต่อการดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีของเธอนั้นมีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย

ไฮเด คาลดาส เจ้าของร้านค้าอายุ 69 ปีบอกว่าโลเปซไม่น่าจะใช่ทางเลือกที่ดีเพราะเธอมีความหุนหันพลันแล่นมีความคิดกลับไปกลับมาไม่แน่นอน ขณะที่ครูอายุ 44 ปี ปิอา กีโรกา ผู้ลงคะแนนให้โลเปซบอกว่าเธอเป็นคนที่จะสามารถจัดการเมืองได้ดีและมีการทุจริตน้อย

ทั้งนี้ก็มีกลุ่มคนที่ชื่นชมโลเปซในฐานะที่เธอเป็นนักการเมืองหญิงรักหญิงคนแรกที่เปิดเผยในเรื่องนี้ เธอและคู่รักของเธอคือแองเจลิกา โลซาโน ต่างก็เป็นนักการเมืองพรรคเดียวกันที่มีส่วนช่วยสนับสนุนรณรงค์ประเด็น LGBT ทั้งคู่ โจฮานา รินกง ครูอายุ 29 ปี บอกว่าในฐานะที่เธอเป็นหญิงเลสเบี้ยนคนหนึ่ง เธอรู้สึกว่าความหลากหลายทางเพศของโลเปซเป็นสิ่งที่ดีต่อโบโกตาและโคลอมเบีย

ประชาชนบางส่วนมองว่าถึงแม้วโลเปซจะเป็นคนที่ “มีเรื่องอื้อฉาวเล็กๆ น้อยๆ” และ “มีปฏิกิริยาโต้ตอบแรงไปหน่อย” แต่ก็มีคนชื่อชอบที่เธอเป็นคนตรงไปตรงมาทำให้รู้สึกว่า “สิ่งที่คุณเห็นคือสิ่งที่คุณจะได้รับ”

โลเปซเคยวิพากษ์อดีตประธานาธิบดีสายอนุรักษ์นิยม อัลวาโร อูริเบ ในสภาว่าเป็น “ปลิงที่วิ่งหนีลงท่อระบายน้ำ”

อูริเบแสดงการยอมรับชัยชนะของโลเปซผ่านทางทวิตเตอร์ว่า “พวกเราพ่ายแพ้ ผมยอมรับความพ่ายแพ้นี้ด้วยความถ่อมตน การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยไม่มีวันจบสิ้น”

โลเปซเคยต้องหนีออกจากโคลอมเบียชั่วคราวในปี 2556 หลังจากถูกขู่ฆ่าจากการที่เธอทำการศึกษาวิจัยเรื่องบทบาทของกองกำลังผสมทหารตำรวจในการเมืองโคลอมเบีย เธอเป็นคนที่พยายามต่อต้านการทุจริตคอรัปชันในโคลอมเบียมาเป็นเวลายาวนานและในเดือน ส.ค. 2561 เธอก็พยายามผ่านร่างกฎหมายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ

เซอร์จิโอ กุซมาน นักวิเคราะห์การเมืองกล่าวว่าโลเปซเป็นคนที่พูดในเชิงต่อต้านการทุจริตอย่างหนักแน่นมากและประเด็นนี้จะกลายมาเป็นหัวใจหลักของการบริหารของเธอ นอกจากนี้การที่เธอชนะการเลือกตั้งยังถือเป็นข่าวดีสำหรับขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองทางเลือกที่สามารถแสดงให้เห็นจุดยืนทางอุดมการณ์ที่หนักแน่นกว่าพรรคการเมืองแบบดั้งเดิม

‘Juan Valdez’ แบรนด์กาแฟโคลอมเบีย สู้ศึกตลาดโลก

ในโคลอมเบีย ประเทศขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ในดินแดนละตินอเมริกา กาแฟเป็นมากกว่าเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมกาแฟครองสัดส่วนมากกว่า 8 เปอร์เซ็นต์ ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) สร้างแรงงานทั้งทางตรงและทางอ้อมมากกว่า 1 ล้านคน หลายเมืองๆ ที่ปลูกกาแฟมากกว่า 200 ปี กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ดึงดูดเงินตราต่างประเทศจำนวนมหาศาล

กาแฟที่ผลิตในโคลอมเบียมีชื่อเสียงในเรื่องบอดี้ที่ค่อนข้างเบา มีความเปรี้ยวต่ำ รสชาติสมดุลกลมกล่อม เป็นหนึ่งในแหล่งผลิตกาแฟอาราบิก้าคุณภาพสูงแห่งหนึ่งของโลก ทั้งพันธุ์ทิปปิก้า, คาทูร่า และ คัสติโล

ในแง่ของกำลังการผลิตแล้ว โคลอมเบียก็เป็นรองเพียงบราซิลชาติเดียวเท่านั้น โดยการผลิตกาแฟของโคลอมเบียอยู่ที่เฉลี่ยปีละ 11.5 ล้านกระสอบ ขณะที่บราซิลมีตัวเลขอยู่ที่ 22 ล้านกระสอบ เมล็ดกาแฟจากไร่ในโคลอมเบียถูกส่งออกไปยังตลาด สหรัฐอเมริกา, เยอรมัน, ฝรั่งเศส, ญี่ปุ่น และ อิตาลี ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นประเทศผู้บริโภคกาแฟชั้นแนวหน้าด้วยกันทั้งสิ้น

157173154684

โคลอมเบียกำหนดโซนปลูกกาแฟไว้อย่างชัดเจน พื้นที่ปลูกที่สำคัญๆ เรียกกันว่า Coffee Triangle หรือ Coffee Axis อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ ว่ากันว่าเป็นแหล่งปลูกและผลิตกาแฟที่ดีที่สุดแหล่งหนึ่งของโลก บริเวณนี้ประกอบไปด้วยเมือง Caldas, Quindío, Risaralda และ Tolima

ในปี ค.ศ. 2011 ยูเนสโกได้ประกาศให้บริเงเขาของ Cordillera de los Andes เมืองเล็กๆ ทางตะวันตกของโคลอมเบีย มีสถานะเป็นเขต ‘ภูมิทัศน์วัฒนธรรมกาแฟของโคลัมเบีย’ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในมรดกโลกเช่นกัน ด้วยมีความโดดเด่นของวิถีทางการปลูกกาวณเชิแฟที่เป็นเอกลักษณ์ ไร่กาแฟที่นี่ปลูกกันมาเป็นร้อยปี ในแปลงเล็กๆ ที่ลาดเอียงไปตามเชิงชั้นของเทือกเขาสูง เคียงข้างด้วยบ้านเรือนมากสีสันเปี่ยมกลิ่นอายศิลปะสเปนเจ้าอาณานิคมยุคนั้น

การสืบหาร่องรอยประวัติศาสตร์ของกาแฟโคลอมเบียนั้น ต้องขอบคุณบันทึกเก่าแก่ของนักบวชคาทอลิกชื่อ โฮเซ่ กุมิล่า ที่มีข้อมูลว่า ต้นกาแฟแพร่กระจายเข้าสู่โคลอมเบียครั้งแรกในปี ค.ศ. 1790 ซึ่งเดิมทีนั้นจุดที่ปลูกกาแฟเป็นแห่งแรกๆ อยู่บริเวณตะวันออกของประเทศ ที่เรียกกันว่าเมือง Salazar de las Palmas และเริ่มส่งออกกาแฟในฐานะพืชพาณิชย์ได้เป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1808 ซึ่งในอีก 11 ปีต่อมา โคลอมเบียก็เป็นอิสระ พ้นจากการเป็นอาณานิคมสเปน

แต่เอาเข้าจริงๆ บุคคลที่มีอิทธิพลอย่างยิ่งที่ช่วยให้กาแฟลงหลักปักฐานมั่นคงในประเทศนี้ ก็คือ นักบวชชื่อ ฟรานซิสโก โรเมโร ผู้ที่อุทิศตนให้กับการเพาะปลูกไร่กาแฟในภาคตะวันตกเฉียงเหนือ อย่างไรก็ตาม กาแฟไม่ได้ทำเงินทำทองให้เจ้าของไร่มากมายนัก เน้นบริโภคในประเทศเป็นหลักมากกว่า จนกระทั่งเข้าสู่ครึ่งหลังศตวรรษที่ 19 นั่นแหละ จึงเริ่มมาแรงแซงทางโค้ง

เรื่องนี้ ต้องยกความดีความชอบให้กับการขยายตัวสูงของเศรษฐกิจโลก ที่ทำให้บรรดาแลนด์ลอร์ดเริ่มหันมาทำไร่กาแฟกันในระดับอุตสาหกรรม เพื่อส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ ส่งผลให้ในปี ค.ศ.1910 กาแฟก็กินส่วนแบ่งกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของโคลอมเบีย

เนื่องจากในทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ เป็นแหล่งผลิตกาแฟชั้นนำของโลก ปัญหาที่พบเจอก็คือ มีการแข่งขันกันสูงมากในด้านราคาและคุณภาพ ยากที่กาแฟจากโคลอมเบียจะเจาะเข้าสู่ในตลาดระหว่างประเทศ ที่น่าเจ็บใจอีกเรื่องก็คือ แม้โคลอมเบียมีไร่กาแฟมากมาย ปลูกกาแฟหลายหลากพันธุ์ แต่กลับมีการนำเข้ากาแฟจากประเทศเพื่อนบ้านมาขายให้ผุ้บริโภคเสียนี่

จึงมีความเคลื่อนไหวตั้ง ‘สหพันธ์ผู้ปลูกกาแฟแห่งชาติโคลอมเบีย’ ขึ้นมาในปี ค.ศ. 1927 ดึงนักธุรกิจ นักการตลาด ข้าราชการ ชาวไร่กาแฟ เข้ามาทำงาน รวมหัวช่วยกันคิดแผนพัฒนาการผลิตและการส่งออกกาแฟ เงินทุนดำเนินการนำมาจากการเก็บภาษีกาแฟส่งออก จนนำไปสู่การเปิดตัว ‘แคมเปญการตลาด’ ที่มีความสำคัญยิ่งและเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง นั่นก็คือ Juan Valdez หนึ่งในแบรนด์กาแฟดังของโลกกาแฟ

เมื่อโจทย์ที่ได้รับมามี 3 ข้อใหญ่ 1.คุ้มครองอุตสาหกรรมกาแฟ 2. ศึกษาหาทางแก้ไขปัญหาต่างๆ และ 3. ส่งเสริมด้านการตลาด …สหพันธ์ผู้ปลูกกาแฟห่างชาติ จึงผลักดันงานด้านวิจัยและพัฒนาในการผลิตกาแฟ ผ่านทางให้เงินทุนสนับสนุนมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยต่างๆ ในประเทศ เพื่อสร้างมาตรฐานและคุณภาพกาแฟ ดึงไร่กาแฟขนาดเล็กทั่วประเทศเข้าสู่ระบบ ก่อนที่จะกระจายองค์ความรู้เรื่องกระบวนการผลิตกาแฟตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ ออกสู่มือเกษตรกรผู้เพาะปลูก

157173154838

แนวคิดการปั้นแบรนด์ Juan Valdez จึงได้เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1958 สหพันธ์ผู้ปลูกกาแฟแห่งชาติทุ่มเงิน 600 ล้านดอลลาร์ จ้าง บริษัท Doyle Dane Bernbach เอเยนซี่โฆษณาชั้นนำของสหรัฐ สร้างสรรค์ตัวละครขึ้นมาให้เป็นที่จดจำ ผ่านคาแรคเตอร์ที่ถอดแบบเป๊ะๆ มาจากวิถีชีวิตชายชาวไร่กาแฟในชุดแต่งกายท้องถิ่น ไหล่พาดผ้าปานโช สวมหมวกชาวไร่ที่เรียกกันว่า Sombrero Aguadeño ไว้หนวดเคราครึ้ม จูงล่อบรรทุกกระสอบกาแฟ มีแบ็คกราวด์เป็นภูเขาอยู่เบื้องหลัง

จุดประสงค์เพื่อเพิ่มมูลค่าทางการตลาด กระตุ้นให้ชาวโคลอมเบียหันมาดื่มกาแฟที่ผลิตในประเทศ ช่วยแยกแยะความแตกต่างของ ‘กาแฟโคลัมเบีย 100%’ ออกจากกาแฟนำเข้าที่เอามาผสมกับกาแฟท้องถิ่น หรือที่เรียกกว่า coffee blend

เครื่องหมายการค้า Juan Valdez พร้อมใบหน้ากร้านแดดแต่อบอุ่นด้วยรอยยิ้ม ยืนเคียงข้างเจ้าล่อนำโชคชื่อ Conchita เปิดตัวทางโทรทัศน์เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1983 ฉายภาพ Valdez ทำงานอย่างเหน็ดเหนื่อยในไร่กาแฟบนเทือกเขาสูง เขาใช้ผ้าปานโชที่พาดไหล่ เช็ดเหงื่อบนใบหน้า ขณะคัดเลือกผลกาแฟสุกใส่ตะกร้าสานข้างเอว คลอด้วยเสียงกีตาร์ละตินกรีดกรายเส้นสายเบาๆ มีเสียงผู้บรรยายอธิบายกระบวนการผลิตที่ยากลำบาก และทุกขั้นตอนล้วนทำจากมือ

จากการโหมโฆษณาทางทีวีและสื่ออื่นๆ ไม่นานนัก…หนุ่มชาวไร่กาแฟก็โด่งดังเป็นที่รู้จักของชาวโคลอมเบียไปทั่วทุกหัวระแหง กลายมาเป็น ‘ไอคอน’ ของประเทศ สร้างภาพเชิงบวกให้ประเทศที่เต็มไปด้วยข่าวเชิงลบอย่างความรุนแรง การสู้รบ และการค้ายาเสพติด

คาแรคเตอร์ Juan Valdez ปักหมุดมุ่งหมายชัดเจนว่า ต้องการบ่งชี้ถึงเมล็ดกาแฟที่ปลูกและเก็บเกี่ยวในโคลอมเบียเท่านั้น และบ่งบอกให้คอกาแฟทั้งหลายรับรู้ถึงกรรมวิธีสร้างคุณภาพให้กับกาแฟในประเทศว่ามีต้นตอหรือต้นทางมาได้อย่างไร ตั้งแต่ดินที่ใช้ปลูก อากาศ สายพันธุ์ เก็บเกี่ยว ตาก คั่ว บด ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลช่วยสร้างกาแฟชั้นเยี่ยม เด่นดีทั้งรสชาติและกลิ่น

มีการต่อยอด ทำแบรนด์ Juan Valdez เป็น โลโก้สีขาวดำ ติดตามร้านกาแฟหรือบนแพคเกจจิ้งกาแฟคั่วของไร่กาแฟที่เป็นสมาชิกสหพันธ์ผู้ปลูกกาแฟแห่งชาติ เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงกาแฟโคลอมเบีย 100% ไม่มีส่วนผสมจากกาแฟนอกประเทศ แล้วส่งไปขายยังตลาดสหรัฐอเมริกา ปรากฏว่า ได้รับความนิยมค่อนข้างสูงทีเดียว

ที่น่าสนใจยิ่งคือ Juan Valdez ไม่ได้เป็นพียงโลโก้ แต่คือคนที่มีตัวตนจริง ๆ …จนถึงปัจจุบัน มีการใช้ผู้แสดงไปแล้ว 3 คนด้วยกัน คนแรกได้แก่ โฮเซ่ เอฟ. ดูวัล นักร้องนักแสดงชาวอเมริกันเชื้อสายคิวบา รับบทหนุ่มชาวไร่กาแฟจนถึงปี ค.ศ. 1969 จากนั้น ฮวน คาร์ลอส ชานเชส นักแสดงชาวโคลอมเบีย รับบทแทนจนเกษียณอายุตัวเองไปในปี 2006 จนมาถึงคิวของชาวไร่กาแฟตัวจริงอย่าง คาร์ลอส คาสตาเนด้า ซึ่งได้รับเลือกจากสหพันธ์ผู้ปลูกกาแฟฯ ให้แสดงบทมาจนถึงปัจจุบัน

157173450422

เดือนกันยายน ค.ศ. 2007 สหภาพยุโรปได้ขึ้นทะเบียนด้าน ‘การคุ้มครองการตั้งชื่อจากแหล่งกำเนิด’ (PDO) ให้แก่ Juan Valdez กลายเป็นแบรนด์กาแฟระหว่างประเทศเพียงเจ้าเดียวที่ได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการให้ขายกาแฟโคลอมเบีย เบื้องหน้าเบื้องหลังของการได้มาซึ่งสิทธินั้น มีอยู่ว่า ได้เกิดข้อพิพาทกันขึ้นในประเด็นทรัพย์สินทางปัญญา หลังจากสหพันธ์ผู้ปลูกกาแฟแห่งชาติโคลอมเบียยื่นฟ้องแบรนด์กาแฟคอสตาริก้าแห่งหนึ่ง ที่ใช้โฆษณาด้วยการใช้สโลแกน “Juan Valdez drinks Costa Rican coffee” ในเสื้อยืดที่บริษัททำขาย

ในที่สุด ทั้งสองฝ่ายก็ตกลงกันได้ โดยมีเงื่อนไขว่า บริษัทกาแฟคอสตาริก้าเลิกใช้สโลกแกนดังกล่าว แลกกับการถอนฟ้องคดีละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

การขึ้นทะเบียน PDO นั้น ก็เป็นเครื่องหมายรับประกันว่า เป็นกาแฟของแท้ที่มีชื่อและมาจากแหล่งผลิตที่ระบุไว้บนฉลากจริง มีคุณภาพสูงตามมาตรฐานที่ขอขึ้นทะเบียนไว้แต่แรกเริ่ม

ปัจจุบัน สหพันธ์ผู้ปลูกกาแฟแห่งชาติโคลอมเบีย มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงโบโกต้า กลายเป็นหน่วยงานใหญ่ที่มีความ ‘ซับซ้อน’ ไม่แพ้ขนาดองค์กร โครงข่ายการทำงานนั้นมีเกษตรกรชาวไร่กาแฟเป็นเจ้าของและควบคุมการทำงานทั้งหมด มีสมาชิกอยู่ในราว 500,000 คน นอกเหนือจากเรื่องกาแฟแล้ว ยังเข้าไปดูแลช่วยเหลือชุมชนชาวไร่ เช่น คุณภาพชีวิต และโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ

ขณะที่ร้านกาแฟแบรนด์ Juan Valdez ในโคลอมเบีย กระจายอยู่ทั่วประเทศราว 300 แห่ง และอีก 131 แห่งใน 13 ประเทศทั่วโลก ทั้งในสหรัฐ ยุโรป เอเชีย และละตินอเมริกา ครองส่วนแบ่งราว 30 เปอร์เซ็นต์ ของตลาดกาแฟในประเทศ มียอดขายประมาณ 30,000 แก้วต่อวัน

แม้ผลิตกาแฟมากคุณภาพ แต่การแข่งขันก็สูงเช่นเดียวกัน เส้นทางกาแฟในทุกวันนี้ของอดีตอาณานิคมสเปนจึงถือว่าไม่ธรรมดา มีเรื่องราวให้ต้องศึกษาเป็นโมเดลกันเลยทีเดียว แน่นอน…มันสะท้อนถึงความสำเร็จจากการวางแผนการตลาดในอดีตด้วย

เปิดใช้งานอุโมงค์ทางลอดของโคลอมเบีย

ประธานาธิบดี อิบัน ดูเก (Ivan Duque) ของโคลอมเบีย เป็นประธานในพิธีเปิดใช้งานอุโมงค์ทางลอด ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างเมืองเมเดยิน (Medellin) เมืองหลวงของจังหวัดอันติโอเกีย (Antioquia) และหุบเขาซาน นิโคลัส (San Nicolas) ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาโดยอุโมงค์แห่งนี้ มีขนาดความยาว 8.2 กิโลเมตร และนับเป็นอุโมงค์ที่มีความยาวมากที่สุดในทวีปอเมริกาใต้

ใช้งบประมาณก่อสร้าง 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 30,000 ล้านบาท โดยภายในงาน ประธานาธิบดี อิบัน ดูเก ได้นั่งรถยนต์สัญจรผ่านอุโมงค์ดังกล่าวอีกด้วย ขณะเดียวกัน ได้กล่าวว่า อุโมงค์แห่งนี้ ถือเป็นตัวอย่างของอุโมงค์ ที่กำลังได้รับการก่อสร้างในขณะนี้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตขอ งประชาชน ในด้านการคมนาคมของประเทศในอนาคต