เวเนซุเอลา ประกาศตัดความสัมพันธ์กับโคลอมเบีย

ประธานาธิบดี นิโคลาส มาดูโร ของเวเนซุเอลา ประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการเมืองและการทูตกับโคลอมเบีย พร้อมสั่งให้เจ้าหน้าที่ประจำสถานเอกอัครราชทูตโคลอมเบีย ในเวเนซุเอลา ย้ายออกจากประเทศภายใน 24 ชั่วโมงนี้

Image result for เวเนซุเอลา ประกาศตัดความสัมพันธ์กับโคลอมเบีย

หลังระบุว่า โคลอมเบีย ให้การช่วยเหลือและสนับสนุน นายฮวน กุยโด ผู้นำฝ่ายค้านเวเนซุเอลา ที่ประกาศตั้งตนเป็นผู้นำรักษาการ ประธานาธิบดีรวมถึงเหล่าทหารที่แปรพักตร์ ในการนำสิ่งของบรรเทาทุกข์จากนานาชาติรวมถึงสหรัฐฯ ทั้งอาหารและยารักษาโรคไปให้กับประชาชนที่กำลังเผชิญกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างรุนแรงจากพิษเศรษฐกิจ

ซึ่งผู้นำเวเนซุเอลา มองว่าเป็นการละเมิดพรมแดน พร้อมสั่งปิดชายแดน 3 แห่งที่ใช้เดินทางข้ามระหว่าง 2 ประเทศ ซึ่งการกระทำดังกล่าวสร้างความไม่พอใจให้กับประชาชน ที่ต่างพากันออกมาประท้วงต่อต้านรัฐบาลจนเกิดการปะทะกันขึ้นระหว่างเจ้าหน้าที่กับประชาชน ล่าสุดมีรายงานผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 3 คน บาดเจ็บอีกมากถึง 300 คน นอกจากนั้นยังมีรายงานว่าเจ้าหน้าที่พยายามเผารถบรรทุกสิ่งของหลายคันที่พยายามข้ามแดนมาด้วย

ด้าน นายไมค์ ปอมปีโอ รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐฯ กล่าวว่าสหรัฐฯ จะจัดการกับพฤติกรรมอันธพาล ของรัฐบาลนายมาดูโร ที่ขัดขวางการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม จากสหรัฐฯ พร้อมระบุว่านาย”กวยโด”จะได้เข้าร่วมการประชุมกลุ่มลิมา ที่ประเทศโคลอมเบีย ด้วย

ระเบิดทำลายบ้านราชายาเสพติดชื่อดังชาวโคลอมเบีย

ทางการโคลอมเบียได้สั่งให้ระเบิดทำลายบ้านที่เคยเป็นที่พำนักของอดีตราชายาเสพติดชื่อดัง ปาโบล เอสโคบาร์ เพื่อนำที่ดินไปสร้างเป็นอนุสรณ์สถานอุทิศให้แก่บรรดาผู้เสียชีวิต และผู้ได้รับผลกระทบจากการกระทำของอาชญากรชื่อก้องโลกผู้นี้

บ้านพัก 8 ชั้นหลังนี้ตั้งอยู่ในเมืองเมเดยีน ซึ่งเป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศโคลอมเบีย โดยการระเบิดทำลายเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา 22 ก.พ. มีประชาชนไปร่วมเป็นสักขีพยานราว 1,600 คน ในจำนวนนี้มีครอบครัวผู้เสียชีวิตและเหยื่อของอาชญากรเจ้าของฉายา “ราชาแห่งโคเคน” ผู้นี้รวมอยู่ด้วย

แม้จะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า ความเคลื่อนไหวครั้งนี้เป็นการ “ลบเลือนประวัติศาสตร์” อีกทั้งยังเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวให้ความนิยมมาชม แต่ทางการโคลอมเบียยืนยันว่านี่เป็นการ “เปลี่ยนแปลง” เรื่องราวเพื่อให้ความสำคัญแก่ผู้ตกเป็นเหยื่อมากกว่าตัวอาชญากร

Colombian drug lord Pablo Escobar

ปาโบล เอสโคบาร์ คือใคร

  • ปาโบล เอสโคบาร์ เกิดเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 1949 ในครอบครัวเกษตรกรที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งใกล้เมืองเมเดยีน
  • ความทะเยอทะยานและความโลภ ทำให้เขาก้าวเข้าสู่ธุรกิจค้ายาเสพติดในช่วงกลางทศวรรษที่ 1970 ก่อนที่จะกลายเป็นหัวหน้าขบวนการค้ายา “เมเดยีน” ที่ทรงอิทธิพล
  • เขามักได้รับการขนานนามว่า “ราชาแห่งโคเคน”( The King of Cocaine) เชื่อกันว่าในยุครุ่งเรืองที่สุดเขาเป็น 1 ใน 10 บุคคลร่ำรวยที่สุดในโลก โดยคาดว่ามีทรัพย์สินระหว่าง 2.5 – 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 หรือราว 4.8 – 5.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในยุคปัจจุบัน
  • แก๊งค้ายาเมเดยีน ของเขาถูกกล่าวหาว่าส่งออกโคเคนมากถึง 80% ของโคเคนทั้งหมดที่ส่งไปจำหน่ายในสหรัฐฯ
  • เอสโคบาร์ เสียชีวิตขณะพยายามหลบหนีการไล่ล่าของตำรวจโคลอมเบีย เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 1993 ขณะมีอายุ 44 ปี
  • หลังจากเสียชีวิตเรื่องราวของเขาถูกนำไปเขียนเป็นหนังสือ รวมทั้งถ่ายทอดในละครทีวีและภาพยนตร์มากมาย เช่น ซีรีส์เน็ตฟลิกซ์เรื่อง Narcos เป็นต้น

Image result for ระเบิดทำลายบ้านราชายาเสพติดชื่อดังชาวโคลอมเบีย

นักวิจัยชาวโคลอมเบีย เสพติดสมาร์ตโฟนเสี่ยงโรคอ้วน

งานวิจัยชิ้นใหม่ระบุว่าการเสพติดสมาร์ตโฟนอาจนำไปสู่การเพิ่มของน้ำหนักตัวอย่างจริงจัง และเพิ่มโอกาสโดนโรคร้ายแรงอื่นๆ จู่โจม

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า นักวิจัยชาวโคลอมเบียเผยว่าคนวัยหนุ่มสาวที่ใช้สมาร์ตโฟน 5 ชั่วโมงขึ้นไปต่อวันมีความเสี่ยงต่อโรคอ้วนและปัญหาสุขภาพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงโรคหัวใจเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 43

มิรารี แมนทิลลา-มอร์รอน ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดและหลอดเลือดแห่งมหาวิทยาลัยซิมอน โบลิวาร์ (SBU) ในโคลอมเบียกล่าวว่าการใช้สมาร์ตโฟนในระยะเวลานานเกินไปก่อให้เกิดพฤติกรรมเนือยนิ่ง และมีเวลาออกกำลังกายน้อยลง ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร โรคเบาหวาน โรคหัวใจ มะเร็งชนิดต่างๆ อาการเจ็บปวดของกระดูกและกล้ามเนื้อ

การวิจัยดังกล่าวมาจากการศึกษาพฤติกรรมนักศึกษาจำนวน 1,060 คน แบ่งเป็นหญิง 700 คน และชาย 360 คน อายุ 19 ปีและ 20 ปีตามลำดับ จากคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งมหาวิทยาลัยซิมอน โบลิวาร์ ตั้งแต่มิถุนายน-ธันวาคม 2018

นักวิจัยพบว่ามีนักศึกษาที่ติดสมาร์ตโฟนมีแนวโน้มเป็น 2 เท่าที่จะดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล อาหารจานด่วน ขนมหวาน และของว่างมากขึ้น รวมทั้งออกกำลังกายน้อยลง

แมนทิลลา-มอร์รอนกล่าวว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ประชาชนทั่วไปต้องรับรู้และตระหนักว่า แม้เทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือจะดึงดูดใจเพราะพกพาสะดวก เข้าถึงข้อมูลต่างๆ นับไม่ถ้วน และเป็นแหล่งความบันเทิง แต่ทุกคนควรใช้ประโยชน์จากมันในการปรับปรุงนิสัยและพฤติกรรมเพื่อสุขภาพด้วย

องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าความเชื่อมโยงที่เป็นไปได้ระหว่างเทคโนโลยีและโรคอ้วนนั้นเป็นเรื่องที่น่าสำรวจ เนื่องจากในปี 2016 มีประชากรผู้ใหญ่มากกว่า 1.9 พันล้านคนทั่วโลกประสบภาวะน้ำหนักเกิน

แมนทิลลา-มอร์รอนเสริมว่าเราได้สรุปแล้วว่าระยะเวลาที่แต่ละคนใช้โทรศัพท์มือถือนั้นมีส่วนก่อให้เกิดการพัฒนาไปสู่โรคอ้วน

โคลอมเบียใช้เฮลิคอปเตอร์ “พรมน้ำมนต์เพื่อชะล้างความชั่วร้ายทั่วเมือง”

บิชอปท่านหนึ่งจากแดนโคลอมเบียได้ขอความช่วยเหลือจากเฮลิคอปเตอร์ของภาคการทหารในประเทศเพื่อทำการพรมน้ำมนต์ไปทั่วเมืองบูเอนาเวนทูร่า (Buenaventura) เพราะเชื่อว่าที่แห่งนี้ถูกความชั่วร้ายครอบงำ และกรณีที่ทำให้ท่านไม่สามารถเพิกเฉยได้เลยคือเด็กสาววัย 10 ขวบ ได้ถูกฆาตกรรมอย่างทรมาน

Monsignor Rubén Darío Jaramillo Montoya คือชื่อเต็มของบิชอปท่านนี้ ได้ให้เหตุผลในการกระทำนี้ของท่านผ่านการป่าวประกาศบนคลื่นวิทยุว่า “พวกเราจำต้องเคลื่อนย้ายความช่วยร้ายออกจากบูเอนาเวนทูร่า และช่วยกันคืนสันติสุขและความเงียบสงบกลับมาสู่เมืองของเราที่อาชญากรรม, การคอรัปชัน, และความชั่วร้ายจากยาเสพติดพรากมันไปและบุกรุกดินแดนของเรา” ซึ่งวิธีการที่ท่านได้ทำก็แน่นอนครับว่าได้รับความช่วยเหลือภาคการทหารในการหยิบยืมเฮลิคอปเตอร์มาใช้ในการพรมน้ำมนต์เพื่อปัดเป่าความชั่วร้ายที่มากัดกินประเทศ

บูเอนาเวนทูร่าได้ติดอยู่ในรายชื่อของประเทศที่อันตรายที่สุดในปี 2014 โดยในหลากหลายละแวกของเมืองแห่งนี้ได้ถูกกลุ่มอาชญากรรมทรงอำนาจมากมายก้าวก่ายในการใช้ชีวิตมากมาย ไม่ว่าจะทั้ง เหตุการณ์ลักพาตัวที่เกิดขึ้นอย่างบ่อยครั้ง, บรรดาชุมชนต่าง ๆ ถูกภัยยาเสพติดคุกคาม, ลูกหลงจากการปะทะกันของแก๊งอาชญากรรม ฯลฯ

กาแฟ 3 สายพันธุ์ ที่ไปถึงโคลอมเบียต้องชิม

เราจะยกตัวอย่างกาแฟ สัก 3 สายพันธุ์ เผื่อใครมีโอกาสได้ไปเที่ยวโคลอมเบีย เที่ยวสถานที่สวยๆแล้ว ชิมกาแฟขึ้นชื่อสักหน่อย รับรองฟินเฟ่อแน่นอนค่ะ

Image result for กาแฟ โคลอมเบีย

ANTIOQUIA

พื้นที่นี้เป็นจุดกำเนิดกาแฟในโคลอมเบียและ FNC นี่เป็นพื้นที่ปลูกกาแฟหลักและมีพื้นที่ปลูกประมาณ 800,000 ไร่ ซึ่งมากกว่าพื้นที่อื่นในประเทศ กาแฟของที่นี่ผลิตโดยทั้งไร่ขนาดใหญ่และสหกรณ์ของเกษตรกรรายย่อย

ความสูง : 1,300 – 2,200 เมตร

ฤดูเก็บเกี่ยว : กันยายน – ธันวาคม (ผลผลิตหลัก)

เมษายน – พฤษภาคม (ผลผลิต Mitaca)

สายพันธุ์ : 6% Typica, 59% Caturra, 35% Castillo

ARINO

พื้นที่นี้สามารถปลูกต้นกาแฟที่สูงที่สุดในประเทศ และพวกมันมีศักยภาพที่น่าทึ่งมันค่อนข้างยากที่จะปลูกกาแฟบนความสูงระดับนี้ เพราะต้นกาแฟอาจได้รับผลกระทบจากอาการยอดแห้ง อย่างไรก็ตามพื้นที่นี้อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรพอที่จะมีสภาพอากาศเหมาะสมสำหรับการปลูกกาแฟ ผู้ปลูกกาแฟในพื้นที่นี้มีประมาณ 40,000 ราย และส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อยที่มีไร่กาแฟขนาดเล็กกว่า 12.5 ไร่ ซึ่งหลายคนรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนและสถาบันเพื่อช่วยเหลือกันและกันและติดต่อกับ FNC จริงๆ แล้วไร่กาแฟที่นี่มีขนาดเฉลี่ยน้อยกว่า 6.25ไร่ และมีผู้ผลิตเพียง 37 รายที่มีไร่กาแฟใหญ่กว่า 31.25 ไร่

ความสูง : 1,500 – 2,300 เมตร

ฤดูเก็บเกี่ยว : เมษายน – มิถุนายน

สายพันธุ์ : 54% Typica, 29% Caturra, 17% Castillo

SANTANDER

นี่เป็นหนึ่งในพื้นที่แรกๆ ในประเทศที่ปลูกกาแฟเพื่อการส่งออก โดยมันมีระดับความสูงต่ำกว่าพื้นที่อื่นและสามารถรับรู้ได้จากกาแฟที่มีความกลมกล่อมและความหวานแทนที่จะมีฉ่ำและซับซ้อน กาแฟจำนวนมากจากพื้นที่นี้ได้รับใบรับรอง Rainforest Alliance และความหลากหลายทางชีวภาพมีความสำคัญกับพื้นที่นี้มาก

ความสูง : 1,200 – 1,700 เมตร

ฤดูเก็บเกี่ยว : กันยายน – ธันวาคม

สายพันธุ์ : 15% Typica, 32% Caturra, 53% Castillo

ในหลวงพระราชสาส์นอวยพร ปธน.สาธารณรัฐโคลอมเบีย

20 ก.ค.62 – พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ส่งข้อความพระราชสาส์นอำนวยพรไปยังประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐโคลอมเบีย ในโอกาสวันเอกราชของสาธารณรัฐโคลอมเบีย ซึ่งตรงกับวันที่ 20 กรกฎาคม 2562 ข้อความว่า

ฯพณฯ นายอิบัน ดูเก

ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐโคลอมเบีย

กรุงโบโกตา

ในโอกาสวันเอกราชของสาธารณรัฐโคลอมเบีย ข้าพเจ้าขอส่งคำอำนวยพรและความปรารถนาดีอย่างจริงใจ เพื่อท่านประธานาธิบดีมีพลานามัยสมบูรณ์และประสบความสุขสวัสดิ์ ทั้งเพื่อความสำเร็จและความเจริญรุ่งเรืองของประเทศและประชาชนชาวโคลอมเบีย

(พระปรมาภิไธย) มหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

ประเทศโคลอมเบียแหล่งผลิตโคเคนมากที่สุดในโลก

รายงานประจำปีของสำนักงานป้องกันยาเสพติดและปราบปรามอาเชียร์กรรมแห่งสหประชาชาติ(ยูเอ็นโอดีซี) ชี้ว่าปริมาณการผลิตโคเคนทั่วโลกพุ่งทะลุทำสถิติสูงสุดตลอดกาลเมื่อปี 2560 ซึ่งมากกว่าปริมาณการผลิตในปีก่อนหน้านี้ถึงร้อยละ 25

เหตุผลสำคัญที่ทำให้ปริมาณการผลิตโคเคนเพิ่มสูงขึ้นจนน่าตกใจ เนื่องจากมีการใช้แหล่งผลิตในพื้นที่ที่ห่างไกลรวมถึงการที่แก๊งค์อาชญากรรมเพิ่มปริมาณการผลิต แม้ว่าจะมีความพยายามชักชวนให้ชุมชนในชนบทที่จะยุติการปลูกต้นโคคา ซึ่งถูกใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตโคเคนให้น้อยลงก็ตาม

Image result for แหล่งผลิตโคเคนมากที่สุดในโลก

ยูเอ็นโอดีซีระบุว่าปัญหาดังกล่าวมีต้นตอสำคัญมาจากประเทศโคลอมเบีย ซึ่งปัจจุบันถือว่าเป็นแหล่งผลิตโคเคนมากถึงร้อยละ 70 ของโลก โดยในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจนถึงปี 2560 ปริมาณการผลิตโคเคนในโคลอมเบียเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 50 จนทำยอดทะลุ 1,976 ตัน

ขณะที่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาปริมาณโคเคนที่ถูกยึดได้ทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 74 เฉพาะในปี 2560 ทางการสามารถยึดโคเคนได้รวม 1,275 ตันซึ่งมากกว่าปี 2559 ถึงร้อยละ 13 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าความพยายามของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายทั่วโลกมีประสิทธิภาพมากขึ้น ขณะที่การเพิ่มความร่วมมือระหว่างประเทศก็มีส่วนช่วยให้ยอดโคเคนที่ยึดได้สูงขึ้นด้วย

ทั้งนี้เกือบร้อยละ 90 ของโคเคนที่ถูกยึดได้อยู่ในอเมริกา ขณะที่ประเทศโคลอมเบียเองก็สามารถยึดโคเคนได้ถึงราวร้อยละ 38 ของปริมาณโคเคนที่มีการยึดได้ทั่วโลกในปี 2560

หนุนการใช้ภาษีบุหรี่-เหล้า-น้ำตาล ของโคลอมเบีย

ประเทศโคลอมเบียมีการขึ้นภาษียาสูบ (โดยขึ้นภาษีเฉพาะตามปริมาณยาสูบถึง 200% และยังกำหนดให้จัดเก็บเพิ่มขึ้นอีก 4% ต่อปี ตามภาวะเงินเฟ้อ) ผลคือ การสูบบุหรี่ลดลงถึง 23% ทันทีในปี 2560 ขณะที่รายได้จากภาษีบุหรี่ก็เพิ่มขึ้นถึง 54% โดยปีเดียวกันยังมีการปรับมาตรการภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ด้วยการจัดเก็บภาษีในอัตรา 25% ซึ่งรวมภาษีตามมูลค่าของสินค้าและภาษีเฉพาะที่จัดเก็บตามดีกรีแอลกอฮอล์ ทำให้รายได้การจัดเก็บภาษีจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นจาก 195 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็น 301 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 17% ในปี 2560 ย้อนขึ้นไปที่อเมริกาเหนือ

Related image

ประเทศเม็กซิโกมีการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มผสมน้ำตาลที่ให้ผลลัพธ์น่าสนใจ ซึ่งพบว่าในปี 2557 มีการจัดเก็บภาษี 0.064 เหรียญสหรัฐต่อลิตร ทำให้ผู้บริโภคน้ำอัดลมและเครื่องดื่มผสมน้ำตาลลดลงได้ 16% นอกจากนี้ยังพบว่ารัฐสามารถเก็บภาษีได้มากขึ้นซึ่งคิดเป็น 25% ของค่าใช้จ่ายที่เกิดจากโรคอ้วน

โคลอมเบียยืนยันจัดนัดชิงโคปา 2020

สมาคมฟุตบอลโคลอมเบีย (FCF) แถลงการณ์ยืนยันว่า รอบชิงชนะเลิศของการแข่งขันฟุตบอลโคปา อเมริกา 2020 ที่โคลอมเบียและอาร์เจนตินาเป็นเจ้าภาพร่วม จะจัดขึ้นที่ประเทศโคลอมเบีย

ศึกโคปา อเมริกา 2020 จะเป็นครั้งแรกที่มีเจ้าภาพร่วมกันสองประเทศ ซึ่งก่อนหน้านี้ยังมีคำถามว่าประเทศใดจะรับหน้าที่จัดนัดชิงชนะเลิศ ก่อนล่าสุด โคลอมเบีย จะเป็นฝ่ายรับจัดนัดชิงจ้าวลูกหนังอเมริกาใต้ปีดังกล่าวไป

โดย FCF แถลงว่า “คณะกรรมการบริหารของสมาคมฟุตบอลโคลอมเบียมีความภูมิใจและยินดีจะประกาศให้ทราบว่า นัดชิงชนะเลิศของศึก โคปา อเมริกา 2020 จะจัดขึ้นในประเทศของเรา” 

“สำหรับโคลอมเบีย มันคือความพิเศษมากที่ได้รับเลือกให้เป็นสถานที่จัดเกมที่สำคัญที่สุดของทวีปอเมริกาใต้”

“เราจะรับหน้าที่นี้ด้วยความยินดีและด้วยความมุ่งมั่น เราเชื่อมั่นว่าการร่วมมือกับอาร์เจนตินา จะช่วยทำให้เกิด โคปา อเมริกา ที่สวยงามขึ้น”

สำหรับ โคปา 2020 จะแบ่งทีมแข่งขันในรอบแรกในสองประเทศคือ ในประเทศโคลอมเบียประกอบไปด้วย โคลอมเบีย, บราซิล, เวเนซุเอล่า, เอกวาดอร์, เปรู และทีมรับเชิญ, ในประเทศอาร์เจนตินาประกอบไปด้วย อาร์เจนตินา, ปารากวัย, อุรุกวัย, โบลิเวีย, ชิลี และทีมรับเชิญ

ความร่วมมือด้านวิชาการของไทยกับโคลอมเบีย

ไทยและโคลอมเบียมีความร่วมมือด้านวิชาการในกรอบทวิภาคี โดย Presidential Agency of International Cooperation of Colombia: APC) ของโคลอมเบีย ต้องการร่วมมือกับไทยในหลายสาขา ที่ไทยมีความเชี่ยวชาญ อาทิ การปลูกพืชทดแทนการปลูกพืชเสพติด การท่องเที่ยว การพัฒนาพลังงานชีวมวล  วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)

Image result for Presidential Agency of International Cooperation of Colombia: APC)

และการพัฒนาศูนย์กลางการแพทย์และพยาบาลและความร่วมมือในกรอบพหุภาคี โดยโคลอมเบียได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมในโครงการกรอบความร่วมมือระหว่างเอเชียตะวันออกและลาตินอเมริกา (Forum for East Asia and Latin American Cooperation – FEALAC) อาทิ การอบรมหลักสูตร Tourism Management โครงการบัวแก้วสัมพันธ์ ซึ่งเน้นด้านการท่องเที่ยว ประมงและ SMEs การประชุมเชิงปฏิบัติการด้านยาเสพติด โครงการฝึกอบรมด้านการลดความยากจน (Poverty Reduction) การประชุมว่าด้วยความร่วมมือด้านการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติระหว่างสมาชิก FEALAC เป็นต้น