ระเบิดทำลายบ้านราชายาเสพติดชื่อดังชาวโคลอมเบีย

ทางการโคลอมเบียได้สั่งให้ระเบิดทำลายบ้านที่เคยเป็นที่พำนักของอดีตราชายาเสพติดชื่อดัง ปาโบล เอสโคบาร์ เพื่อนำที่ดินไปสร้างเป็นอนุสรณ์สถานอุทิศให้แก่บรรดาผู้เสียชีวิต และผู้ได้รับผลกระทบจากการกระทำของอาชญากรชื่อก้องโลกผู้นี้

บ้านพัก 8 ชั้นหลังนี้ตั้งอยู่ในเมืองเมเดยีน ซึ่งเป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศโคลอมเบีย โดยการระเบิดทำลายเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา 22 ก.พ. มีประชาชนไปร่วมเป็นสักขีพยานราว 1,600 คน ในจำนวนนี้มีครอบครัวผู้เสียชีวิตและเหยื่อของอาชญากรเจ้าของฉายา “ราชาแห่งโคเคน” ผู้นี้รวมอยู่ด้วย

แม้จะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า ความเคลื่อนไหวครั้งนี้เป็นการ “ลบเลือนประวัติศาสตร์” อีกทั้งยังเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวให้ความนิยมมาชม แต่ทางการโคลอมเบียยืนยันว่านี่เป็นการ “เปลี่ยนแปลง” เรื่องราวเพื่อให้ความสำคัญแก่ผู้ตกเป็นเหยื่อมากกว่าตัวอาชญากร

Colombian drug lord Pablo Escobar

ปาโบล เอสโคบาร์ คือใคร

  • ปาโบล เอสโคบาร์ เกิดเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 1949 ในครอบครัวเกษตรกรที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งใกล้เมืองเมเดยีน
  • ความทะเยอทะยานและความโลภ ทำให้เขาก้าวเข้าสู่ธุรกิจค้ายาเสพติดในช่วงกลางทศวรรษที่ 1970 ก่อนที่จะกลายเป็นหัวหน้าขบวนการค้ายา “เมเดยีน” ที่ทรงอิทธิพล
  • เขามักได้รับการขนานนามว่า “ราชาแห่งโคเคน”( The King of Cocaine) เชื่อกันว่าในยุครุ่งเรืองที่สุดเขาเป็น 1 ใน 10 บุคคลร่ำรวยที่สุดในโลก โดยคาดว่ามีทรัพย์สินระหว่าง 2.5 – 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 หรือราว 4.8 – 5.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในยุคปัจจุบัน
  • แก๊งค้ายาเมเดยีน ของเขาถูกกล่าวหาว่าส่งออกโคเคนมากถึง 80% ของโคเคนทั้งหมดที่ส่งไปจำหน่ายในสหรัฐฯ
  • เอสโคบาร์ เสียชีวิตขณะพยายามหลบหนีการไล่ล่าของตำรวจโคลอมเบีย เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 1993 ขณะมีอายุ 44 ปี
  • หลังจากเสียชีวิตเรื่องราวของเขาถูกนำไปเขียนเป็นหนังสือ รวมทั้งถ่ายทอดในละครทีวีและภาพยนตร์มากมาย เช่น ซีรีส์เน็ตฟลิกซ์เรื่อง Narcos เป็นต้น

Image result for ระเบิดทำลายบ้านราชายาเสพติดชื่อดังชาวโคลอมเบีย

นักวิจัยชาวโคลอมเบีย เสพติดสมาร์ตโฟนเสี่ยงโรคอ้วน

งานวิจัยชิ้นใหม่ระบุว่าการเสพติดสมาร์ตโฟนอาจนำไปสู่การเพิ่มของน้ำหนักตัวอย่างจริงจัง และเพิ่มโอกาสโดนโรคร้ายแรงอื่นๆ จู่โจม

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า นักวิจัยชาวโคลอมเบียเผยว่าคนวัยหนุ่มสาวที่ใช้สมาร์ตโฟน 5 ชั่วโมงขึ้นไปต่อวันมีความเสี่ยงต่อโรคอ้วนและปัญหาสุขภาพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงโรคหัวใจเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 43

มิรารี แมนทิลลา-มอร์รอน ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดและหลอดเลือดแห่งมหาวิทยาลัยซิมอน โบลิวาร์ (SBU) ในโคลอมเบียกล่าวว่าการใช้สมาร์ตโฟนในระยะเวลานานเกินไปก่อให้เกิดพฤติกรรมเนือยนิ่ง และมีเวลาออกกำลังกายน้อยลง ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร โรคเบาหวาน โรคหัวใจ มะเร็งชนิดต่างๆ อาการเจ็บปวดของกระดูกและกล้ามเนื้อ

การวิจัยดังกล่าวมาจากการศึกษาพฤติกรรมนักศึกษาจำนวน 1,060 คน แบ่งเป็นหญิง 700 คน และชาย 360 คน อายุ 19 ปีและ 20 ปีตามลำดับ จากคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งมหาวิทยาลัยซิมอน โบลิวาร์ ตั้งแต่มิถุนายน-ธันวาคม 2018

นักวิจัยพบว่ามีนักศึกษาที่ติดสมาร์ตโฟนมีแนวโน้มเป็น 2 เท่าที่จะดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล อาหารจานด่วน ขนมหวาน และของว่างมากขึ้น รวมทั้งออกกำลังกายน้อยลง

แมนทิลลา-มอร์รอนกล่าวว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ประชาชนทั่วไปต้องรับรู้และตระหนักว่า แม้เทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือจะดึงดูดใจเพราะพกพาสะดวก เข้าถึงข้อมูลต่างๆ นับไม่ถ้วน และเป็นแหล่งความบันเทิง แต่ทุกคนควรใช้ประโยชน์จากมันในการปรับปรุงนิสัยและพฤติกรรมเพื่อสุขภาพด้วย

องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าความเชื่อมโยงที่เป็นไปได้ระหว่างเทคโนโลยีและโรคอ้วนนั้นเป็นเรื่องที่น่าสำรวจ เนื่องจากในปี 2016 มีประชากรผู้ใหญ่มากกว่า 1.9 พันล้านคนทั่วโลกประสบภาวะน้ำหนักเกิน

แมนทิลลา-มอร์รอนเสริมว่าเราได้สรุปแล้วว่าระยะเวลาที่แต่ละคนใช้โทรศัพท์มือถือนั้นมีส่วนก่อให้เกิดการพัฒนาไปสู่โรคอ้วน

ชายชาวโคลอมเบียถูกจับข้อหาขนโคเคน

“โคลอมเบีย” ขึ้นชื่อ (เสีย) เรื่องยาเสพติด โดยเฉพาะ “โคเคน” และแก๊งค้ายาฯ ใช้กรรมวิธีหลากหลายในการลักลอบขนโคเคนหลบเลี่ยงหูตาเจ้าหน้าที่ ไล่ตั้งแต่กรอกใส่ถุงยางอนามัยยัดเข้าทวารหนักและช่องคลอดหรือกลืนลงท้อง ซุกในลังสินค้า ไปจนถึงใช้ “เรือดำน้ำ” หรือ “โดรน” ในการขนส่งยา

แต่ชายชาวโคลอมเบียวัยกลางคนรายหนึ่งอาจไม่ใช่นักค้ายา “มืออาชีพ” เพราะขนโคเคนแบบประเจิดประเจ้อสุดๆ จนถูกจับได้ที่สนามบิน “บาร์เซโลนา-เอล แพรท” ในเมืองบาร์เซโลนาในสเปน หลังเดินทางจากกรุงโบโกตาในโคลอมเบียเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

ตำรวจสนามบินสังเกตเห็นเขามีพิรุธ กระสับกระส่าย เหงื่อแตกพลั่กๆ แต่ที่เตะตาทันทีที่เห็นกลับเป็น “วิกผม” ปกปิดหัวล้านที่กลางกระหม่อม ซึ่งใหญ่โตบะเริ่มเทิ่มผิดปกติ จึงขอตรวจค้น และพบว่าเขาซุกห่อโคเคนถึงครึ่ง กก. ราคาราว 30,000 ยูโร (ราว 1,088,000 บาท) ไว้ใต้วิกผม

ตำรวจเผยว่า ในปี 2561 ยึดโคเคนได้ที่สนามบินบาร์เซโลนากว่า 100 กิโลกรัม แต่ไม่มีครั้งไหนที่มีผู้ขนโคเคนแบบ “ไม่เนียน” ได้ถึงปานนี้

โคลอมเบียใช้เฮลิคอปเตอร์ “พรมน้ำมนต์เพื่อชะล้างความชั่วร้ายทั่วเมือง”

บิชอปท่านหนึ่งจากแดนโคลอมเบียได้ขอความช่วยเหลือจากเฮลิคอปเตอร์ของภาคการทหารในประเทศเพื่อทำการพรมน้ำมนต์ไปทั่วเมืองบูเอนาเวนทูร่า (Buenaventura) เพราะเชื่อว่าที่แห่งนี้ถูกความชั่วร้ายครอบงำ และกรณีที่ทำให้ท่านไม่สามารถเพิกเฉยได้เลยคือเด็กสาววัย 10 ขวบ ได้ถูกฆาตกรรมอย่างทรมาน

Monsignor Rubén Darío Jaramillo Montoya คือชื่อเต็มของบิชอปท่านนี้ ได้ให้เหตุผลในการกระทำนี้ของท่านผ่านการป่าวประกาศบนคลื่นวิทยุว่า “พวกเราจำต้องเคลื่อนย้ายความช่วยร้ายออกจากบูเอนาเวนทูร่า และช่วยกันคืนสันติสุขและความเงียบสงบกลับมาสู่เมืองของเราที่อาชญากรรม, การคอรัปชัน, และความชั่วร้ายจากยาเสพติดพรากมันไปและบุกรุกดินแดนของเรา” ซึ่งวิธีการที่ท่านได้ทำก็แน่นอนครับว่าได้รับความช่วยเหลือภาคการทหารในการหยิบยืมเฮลิคอปเตอร์มาใช้ในการพรมน้ำมนต์เพื่อปัดเป่าความชั่วร้ายที่มากัดกินประเทศ

บูเอนาเวนทูร่าได้ติดอยู่ในรายชื่อของประเทศที่อันตรายที่สุดในปี 2014 โดยในหลากหลายละแวกของเมืองแห่งนี้ได้ถูกกลุ่มอาชญากรรมทรงอำนาจมากมายก้าวก่ายในการใช้ชีวิตมากมาย ไม่ว่าจะทั้ง เหตุการณ์ลักพาตัวที่เกิดขึ้นอย่างบ่อยครั้ง, บรรดาชุมชนต่าง ๆ ถูกภัยยาเสพติดคุกคาม, ลูกหลงจากการปะทะกันของแก๊งอาชญากรรม ฯลฯ

นักปั่นโคลอมเบียคว้าแชมป์ตูร์เดอฟรองซ์

อีกาน เบร์นัล ไม่พลาดในสเตจสุดท้าย สร้างประวัติศาสตร์เป็นน่องเหล็กโคลัมเบียรายแรกที่ได้แชมป์จักรยานตูร์ เดอ ฟรองซ์ ขณะที่ ปีเตอร์ ซากัน ยังครองเจ้าแห่งแต้มรวมอีกสมัย

Image result for โคลอมเบียคว้าแชมป์ตูร์เดอฟรองซ์

การแข่งขันจักรยานทางไกล ตูร์ เดอ ฟรองซ์ 2019 เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (28 ก.ค.) สเตจที่ 21 ซึ่งเป็นสเตจสุดท้าย ระยะทางจากเมืองรองบุยเยต์ถึงกรุงปารีส ระยะทาง 128 กิโลเมตร

ผลปรากฏว่าแชมป์สเตจนี้ตกเป็นของ คาเลบ อีแวน น่องเหล็กจากสังกัด ล็อตโต ซูดาล ด้วยเวลา 3 ชั่วโมง 4 นาที 8 วินาที ถึงกระนั้นคนที่คว้าแชมป์ในปีนี้ไปครองคือ อีกาน เบอร์นาล นักปั่นดาวรุ่งชาวโคลอมเบีย ที่จบสเตจนี้ด้วยอันดับที่ 28 ทว่าเจ้าตัวทำเวลารวมตลอดทัวร์นาเมนต์ไป 82 ชั่วโมง 57 นาที พร้อมจารึกประวัติศาสต์เป็นนักปั่นจากโคลัมเบียรายแรกที่คว้าแชมป์ตูร์ เดอ ฟรองซ์ มาครองอีกด้วย

ด้านอันดับ 2 คือ เกอเรนต์ โธมัส แชมป์เก่าจากสหราชอาณาจักร ซึ่งอยู่สังกัดเดียวกับ เบอร์นาล ทำเวลาตามหลังแชมป์ 1 นาที 11 วินาที และ สตีเฟน ไครส์ไวค์ จากทีม จัมโบ-วิสมา เข้าป้ายมาเป็นอันดับ 3 ด้วยเวลาตามหลัง 1 นาที 31 วินาที

หลังคว้าแชมป์น่องเหล็กวัย 22 ปี ระบุถึงความรู้สึกว่า “ขอขอบคุณทุกคนในทีม รวมถึง โธทัส ทีมเมทที่ช่วยให้ผมคว้าแชมป์มาครอง ตอนนี้ผมคือผู้ชาบที่มีความสุขที่สุดในโลก ซึ่งผมยังไม่อยากเชื่อเลยว่าผมเพิ่งคว้าแชมป์ตูร์ เดอ ฟรองซ์ มาครอง”

กาแฟ 3 สายพันธุ์ ที่ไปถึงโคลอมเบียต้องชิม

เราจะยกตัวอย่างกาแฟ สัก 3 สายพันธุ์ เผื่อใครมีโอกาสได้ไปเที่ยวโคลอมเบีย เที่ยวสถานที่สวยๆแล้ว ชิมกาแฟขึ้นชื่อสักหน่อย รับรองฟินเฟ่อแน่นอนค่ะ

Image result for กาแฟ โคลอมเบีย

ANTIOQUIA

พื้นที่นี้เป็นจุดกำเนิดกาแฟในโคลอมเบียและ FNC นี่เป็นพื้นที่ปลูกกาแฟหลักและมีพื้นที่ปลูกประมาณ 800,000 ไร่ ซึ่งมากกว่าพื้นที่อื่นในประเทศ กาแฟของที่นี่ผลิตโดยทั้งไร่ขนาดใหญ่และสหกรณ์ของเกษตรกรรายย่อย

ความสูง : 1,300 – 2,200 เมตร

ฤดูเก็บเกี่ยว : กันยายน – ธันวาคม (ผลผลิตหลัก)

เมษายน – พฤษภาคม (ผลผลิต Mitaca)

สายพันธุ์ : 6% Typica, 59% Caturra, 35% Castillo

ARINO

พื้นที่นี้สามารถปลูกต้นกาแฟที่สูงที่สุดในประเทศ และพวกมันมีศักยภาพที่น่าทึ่งมันค่อนข้างยากที่จะปลูกกาแฟบนความสูงระดับนี้ เพราะต้นกาแฟอาจได้รับผลกระทบจากอาการยอดแห้ง อย่างไรก็ตามพื้นที่นี้อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรพอที่จะมีสภาพอากาศเหมาะสมสำหรับการปลูกกาแฟ ผู้ปลูกกาแฟในพื้นที่นี้มีประมาณ 40,000 ราย และส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อยที่มีไร่กาแฟขนาดเล็กกว่า 12.5 ไร่ ซึ่งหลายคนรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนและสถาบันเพื่อช่วยเหลือกันและกันและติดต่อกับ FNC จริงๆ แล้วไร่กาแฟที่นี่มีขนาดเฉลี่ยน้อยกว่า 6.25ไร่ และมีผู้ผลิตเพียง 37 รายที่มีไร่กาแฟใหญ่กว่า 31.25 ไร่

ความสูง : 1,500 – 2,300 เมตร

ฤดูเก็บเกี่ยว : เมษายน – มิถุนายน

สายพันธุ์ : 54% Typica, 29% Caturra, 17% Castillo

SANTANDER

นี่เป็นหนึ่งในพื้นที่แรกๆ ในประเทศที่ปลูกกาแฟเพื่อการส่งออก โดยมันมีระดับความสูงต่ำกว่าพื้นที่อื่นและสามารถรับรู้ได้จากกาแฟที่มีความกลมกล่อมและความหวานแทนที่จะมีฉ่ำและซับซ้อน กาแฟจำนวนมากจากพื้นที่นี้ได้รับใบรับรอง Rainforest Alliance และความหลากหลายทางชีวภาพมีความสำคัญกับพื้นที่นี้มาก

ความสูง : 1,200 – 1,700 เมตร

ฤดูเก็บเกี่ยว : กันยายน – ธันวาคม

สายพันธุ์ : 15% Typica, 32% Caturra, 53% Castillo

ข้อมูลเกี่ยวกับโคลอมเบีย

โคลอมเบีย เป็นหนึ่งในประเทศที่ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้ โดยมีบางส่วนติดต่อกับทะเลแคริบเบียน เเละมหาสมุทรแปซิฟิก ชื่อของประเทศนั้นได้มาจากนักสำรวจชื่อดังชาวอิตาเลี่ยน นามว่า คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เเต่เดิมนั้นดินเเดนเเถบนี้ถูกปกคองโดยสเปนเเละโปรตุเกสในฐานะของดินอาณานิคมก่อนที่จะได้รับเอกราช ก่อนที่เวเนซุเอลา เอกวาดอร์ และปานามา จะเเยกตัวออกไปเป็นอิสระทำให้เป็นประเทศโคลอมเบียอย่างทุกวันนั้น

  • อุณหภูมิ: เฉลี่ยตลอดทั้งปีจะอยู่ที่ 7 องศาเซลเซียส ถึง 27 องศาเซลเซียส
  • เวลา: ช้ากว่าเวลาประเทศไทย 12 ชั่วโมง
  • สกุลเงิน: เปโซโคลอมเบีย (COP) โดยมีอัตราเเลกเปลี่ยนอยู่ที่ 1 บาท เท่ากับ 81.64 เปโซโคลอมเบีย
  • ภาษา: ภาษาทางราชการ คือ ภาษาสเปน เเต่ในเเหล่งท่องเที่ยวก็สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้พอสมควร
  • เอกสาร: ควรพกเอกสารอย่างพาสปอร์ตติดตัวตลอดเวลาท่องเที่ยวในโคลอมเบีย
  • สุขภาพ: ควรนำยารักษาประจำตัวตามทะเบียนยาที่อนุญาตให้นำเข้าประเทศโคลอมเบีย เเละซื้อประกันการเดินทางที่ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลเอาไว้ด้วย

ในหลวงพระราชสาส์นอวยพร ปธน.สาธารณรัฐโคลอมเบีย

20 ก.ค.62 – พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ส่งข้อความพระราชสาส์นอำนวยพรไปยังประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐโคลอมเบีย ในโอกาสวันเอกราชของสาธารณรัฐโคลอมเบีย ซึ่งตรงกับวันที่ 20 กรกฎาคม 2562 ข้อความว่า

ฯพณฯ นายอิบัน ดูเก

ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐโคลอมเบีย

กรุงโบโกตา

ในโอกาสวันเอกราชของสาธารณรัฐโคลอมเบีย ข้าพเจ้าขอส่งคำอำนวยพรและความปรารถนาดีอย่างจริงใจ เพื่อท่านประธานาธิบดีมีพลานามัยสมบูรณ์และประสบความสุขสวัสดิ์ ทั้งเพื่อความสำเร็จและความเจริญรุ่งเรืองของประเทศและประชาชนชาวโคลอมเบีย

(พระปรมาภิไธย) มหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

ประเทศโคลอมเบียแหล่งผลิตโคเคนมากที่สุดในโลก

รายงานประจำปีของสำนักงานป้องกันยาเสพติดและปราบปรามอาเชียร์กรรมแห่งสหประชาชาติ(ยูเอ็นโอดีซี) ชี้ว่าปริมาณการผลิตโคเคนทั่วโลกพุ่งทะลุทำสถิติสูงสุดตลอดกาลเมื่อปี 2560 ซึ่งมากกว่าปริมาณการผลิตในปีก่อนหน้านี้ถึงร้อยละ 25

เหตุผลสำคัญที่ทำให้ปริมาณการผลิตโคเคนเพิ่มสูงขึ้นจนน่าตกใจ เนื่องจากมีการใช้แหล่งผลิตในพื้นที่ที่ห่างไกลรวมถึงการที่แก๊งค์อาชญากรรมเพิ่มปริมาณการผลิต แม้ว่าจะมีความพยายามชักชวนให้ชุมชนในชนบทที่จะยุติการปลูกต้นโคคา ซึ่งถูกใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตโคเคนให้น้อยลงก็ตาม

Image result for แหล่งผลิตโคเคนมากที่สุดในโลก

ยูเอ็นโอดีซีระบุว่าปัญหาดังกล่าวมีต้นตอสำคัญมาจากประเทศโคลอมเบีย ซึ่งปัจจุบันถือว่าเป็นแหล่งผลิตโคเคนมากถึงร้อยละ 70 ของโลก โดยในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจนถึงปี 2560 ปริมาณการผลิตโคเคนในโคลอมเบียเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 50 จนทำยอดทะลุ 1,976 ตัน

ขณะที่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาปริมาณโคเคนที่ถูกยึดได้ทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 74 เฉพาะในปี 2560 ทางการสามารถยึดโคเคนได้รวม 1,275 ตันซึ่งมากกว่าปี 2559 ถึงร้อยละ 13 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าความพยายามของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายทั่วโลกมีประสิทธิภาพมากขึ้น ขณะที่การเพิ่มความร่วมมือระหว่างประเทศก็มีส่วนช่วยให้ยอดโคเคนที่ยึดได้สูงขึ้นด้วย

ทั้งนี้เกือบร้อยละ 90 ของโคเคนที่ถูกยึดได้อยู่ในอเมริกา ขณะที่ประเทศโคลอมเบียเองก็สามารถยึดโคเคนได้ถึงราวร้อยละ 38 ของปริมาณโคเคนที่มีการยึดได้ทั่วโลกในปี 2560

หนุนการใช้ภาษีบุหรี่-เหล้า-น้ำตาล ของโคลอมเบีย

ประเทศโคลอมเบียมีการขึ้นภาษียาสูบ (โดยขึ้นภาษีเฉพาะตามปริมาณยาสูบถึง 200% และยังกำหนดให้จัดเก็บเพิ่มขึ้นอีก 4% ต่อปี ตามภาวะเงินเฟ้อ) ผลคือ การสูบบุหรี่ลดลงถึง 23% ทันทีในปี 2560 ขณะที่รายได้จากภาษีบุหรี่ก็เพิ่มขึ้นถึง 54% โดยปีเดียวกันยังมีการปรับมาตรการภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ด้วยการจัดเก็บภาษีในอัตรา 25% ซึ่งรวมภาษีตามมูลค่าของสินค้าและภาษีเฉพาะที่จัดเก็บตามดีกรีแอลกอฮอล์ ทำให้รายได้การจัดเก็บภาษีจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นจาก 195 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็น 301 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 17% ในปี 2560 ย้อนขึ้นไปที่อเมริกาเหนือ

Related image

ประเทศเม็กซิโกมีการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มผสมน้ำตาลที่ให้ผลลัพธ์น่าสนใจ ซึ่งพบว่าในปี 2557 มีการจัดเก็บภาษี 0.064 เหรียญสหรัฐต่อลิตร ทำให้ผู้บริโภคน้ำอัดลมและเครื่องดื่มผสมน้ำตาลลดลงได้ 16% นอกจากนี้ยังพบว่ารัฐสามารถเก็บภาษีได้มากขึ้นซึ่งคิดเป็น 25% ของค่าใช้จ่ายที่เกิดจากโรคอ้วน