สิ่งคาดไม่ถึงเมื่อไปเยือน เมืองเมเดยิน ประเทศโคลอมเบีย

สิ่งคาดไม่ถึงเมื่อไปเยือน เมืองเมเดยิน ประเทศโคลอมเบีย  ทัวร์ยาเสพติดทั้งทีก็ต้องมีผู้ที่รู้จริงมาเป็นไกด์ให้เรา แต่คนที่เป็นไกด์ให้กับเรานั้นดันเป็น ป๊อบอาย-ผู้ติดตามใกล้ชิดของเจ้าพ่อยาเสพติดชื่อดังอย่าง พาโปล เอสโคบาร์ แถมยังเป็นมือปืนที่ตามเก็บคนกว่า 250 คนด้วยความจงรักภักดีที่มีต่อเจ้านาย ที่ตอนนี้กลายเป็น YouTuber เดวิดมองว่าเป็นเรื่องที่น่าชื่นชมที่เขาออกจากคุกมาแล้วสำนึกผิด หันมาทำอาชีพที่สุจริต แต่ถึงอย่างไรเรื่องราวในทัวร์ของเขาในบางช่วงก็ดูเหมือนจะเป็นการนำเอาเรื่องจริงอันโหดร้ายในอดีตมาทำเพื่อความบันเทิง อย่างการแสดงบทบาทสมมติเป็นมือปืนในอดีตอีกครั้ง 

ยังมีอีกหลายสิ่งที่คาดไม่ถึงอีกหลายอย่างในรายการนี้ที่รอให้ทุกคนไปค้นพบในรายการ Dark Tourist  ดูแล้วนอกจากจะให้ความรู้สึกตื่นเต้น ประหลาดใจกับตัวเองว่าโลกเรามันมีแบบนี้ด้วยเหรอ ยังทำให้เราได้มองเห็นความหมายของการเดินทาง สิ่งที่ซ่อนอยู่ในเรื่องราวความดาร์กเหล่านั้น ไม่ว่าจะเรื่องวัฒนธรรม ความเชื่อ ปัญหาสังคม สงคราม ความเป็นมนุษย์ เชื่อว่าหากทุกคนดูจบแล้วน่าจะเข้าใจว่าทำไมเดวิดถึงเลือกที่จะเสี่ยงอันตรายเพื่อไปตามสถานที่ต่างๆเหล่านี้

Image result for เมืองเมเดยิน

ภายใต้ความกดดันของชาวโคลอมเบียต่อ เรเน่ ฮิกิต้า

ทุกคนรู้ว่า ปาโบล เอสโคบาร์ ทำตัวเป็น โรบินฮู้ด ด้วยการนำเงินผิดกฎหมายมาเลี้ยงคนจน มันจึงทำให้เขากลายเป็นพระเจ้าแห่ง เมเดยีน บ้านเกิดของเขา แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่สามารถหนีความจริงได้คือเขาเป็นอาชญากรที่เลวร้ายที่สุดคนหนึ่งของโลก

หากเปรียบเทียบชีวิตของเอสโคบาร์เป็นเหรียญ 1 เหรียญ ที่มีด้านดีและด้านเลว เรเน่ ฮิกิต้า ผู้รักษาประตูที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์ของทีมชาติโคลอมเบียก็เปรียบได้กับชายผู้โยนเหรียญนั้นหงายออกมาแต่ด้านดีทุกครั้ง

ภายใต้ความกดดันของชาวโคลอมเบียที่ผิดหวังในตัวของเขา ฮิกิต้า กลับเลือกเชื่อมั่นไม่เปลี่ยนแปลงและยินดีที่จะเป็นผู้รับใช้ เอสโคบาร์ อย่างเต็มใจ แม้ว่าเขาจะไม่ได้ไปเล่นฟุตบอลโลกก็ตาม

ทำไม ฮิกิต้า จึงยึดมั่นในตัว เอสโคบาร์ ขนาดนั้น? ติดตามได้ที่นี่

ผู้รักษาประตูที่ไม่เชื่อในการเล่นแบบเพลย์เซฟ

ในตำแหน่งผู้รักษาประตู คุณไม่มีสิทธิ์พลาด เพราะการผิดพลาดแต่ละครั้งนั้นอาจสร้างความเสียหายให้กับทีมถึงที่สุด แม้โลกฟุตบอลยุคปัจจุบันจะมีผู้รักษาประตูที่ชอบใช้เท้าเล่นบอลและออกบอลระยะสั้นเพื่อเสี่ยงให้โอกาสทีมได้เซ็ตเกมบุก อาทิ เอแดร์ซอน, อลิสซอน หรือแม้แต่ มานูเอล นอยเออร์ ก็ตาม

แต่ในช่วงเวลา 20-30 ปีก่อนหรือยุค ’80s-’90s เราแทบไม่พบเจอผู้รักษาประตูประเภทนี้มาก่อนเลย ยอดฝีมือในยุคนั้นอย่าง ปีเตอร์ ชไมเคิล และ เอ็ดวิน ฟาน เดอ ซาร์ ต่างเป็นประตูยุคโบราณที่เน้นการสั่งการและเน้นที่การป้องกันประตูเป็นหลัก

มีเพียง 1 เดียวเท่านั้นที่แตกต่าง เขาคนนั้นคือ เรเน่ ฮิกิต้า ผู้รักษาประตูที่ไม่เชื่อในการเล่นแบบเพลย์เซฟ ทว่าติดอยู่อย่างเดียวคือเขาบ้าระห่ำเกินไป ในยุคของเขาอาจจะมีประตูที่ใช้เท้าได้ดีอย่าง ฮอร์เก้ คัมโปส ของ เม็กซิโก และ โฮเซ่ หลุยส์ ชิลาเวิร์ต ของ ปารากวัย แต่ทั้ง 2 คนนี้ ไม่ระห่ำถึงขั้นเลี้ยงบอลล็อกหลบผู้เล่นคู่แข่งไปถึงกลางสนามเหมือนกับ ฮิกิต้า แน่นอน

ฮิกิต้า เองก็เป็นหมองูที่ตายเพราะงูสำหรับเรื่องนี้ จากศึกฟุตบอลโลก 1990 ที่เขาติดทีมชาติ โคลอมเบีย และพาทีมเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้ายได้สำเร็จ ในเกมรอบดังกล่าว โคลอมเบีย พบกับ แคเมอรูน และพวกเขามีภาษีดีกว่า ทว่าสุดท้าย ฮิกิต้า ก็มั่นใจเกินไป เขาพยายามจะเลี้ยงบอลผ่าน โรเจอร์ มิลล่า ดาวยิงของทีมหมอผี ซึ่งมันไม่สำเร็จ และการพลาดครั้งนั้นก็จบลงด้วยการเสียประตูและ โคลอมเบีย ก็ตกรอบไป

2

ตัวของ ฮิกิต้า เองไม่ได้ตื่นตระหนกกับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เขายอมรับผิดแต่จะไม่เปลี่ยนสไตล์ของตัวเองแน่ ซึ่งในอีก 5 ปีต่อมา ฮิกิต้า ก็โชว์ลีลาเซฟประตูด้วยท่า “สกอร์เปี้ยน คิก” หรือการกระโดดไปข้างหน้าและเอาสองขาหลังดีดลูกฟุตบอล แบบเดียวกับการตวัดหางโจมตีศัตรูของแมงป่อง ในเกมกับทีมชาติอังกฤษ ซึ่งท่าดังกล่าวทำให้ทั้งโลกจดจำเขาได้ดียิ่งขึ้นอีก

“เดอะ สกอร์เปี้ยน คิก จะไม่ถูกเลียนแบบแน่ ในอนาคตจะไม่มีผู้รักษาประตูคนไหนกล้าทำอะไรเสี่ยงๆ แบบที่ผมทำ พวกเขาเลือกจะเล่นกับของง่ายๆ และเน้นที่ความปลอดภัยมากกว่า” ฮิกิต้า กล่าว แม้หากดูภาพช้าชัดๆ ก็จะเห็นว่า เจ้าตัวสามารถทำ สกอร์เปี้ยน คิก ได้แบบไม่ต้องกังวลอะไร เพราะนักเตะทีมสิงโตคำรามล้ำหน้าไปก่อนนั้นแล้ว

3

การเป็นผู้รักษาประตูที่โฉบเฉี่ยวทำให้โลกจดจำ ฮิกิต้า ได้ชัดเจน ชาวโคลอมเบีย ชอบอกชอบใจที่นักเตะในทีมชาติของพวกเขาโด่งดังในระดับโลก พวกเขาภูมิใจในตัว ฮิกิต้า จนกระทั่งวันหนึ่งที่ตัวของนายทวารจอมระห่ำดันพูดต่อหน้าสื่อว่าเขาเป็นคนของ เอสโคบาร์ และมองว่ามิตรภาพของพวกเขาไม่ใช่เรื่องผิดกฎหมาย

เมื่อนั้นกระแสของชาว โคลอมเบีย ก็เปลี่ยนไป… เพราะโคลอมเบียทั้งประเทศไม่ใช่ เมเดยีน มีคนอีกไม่น้อยที่เกลียด เอสโคบาร์ ดังนั้น ฮิกิต้า จึงถูกมองว่าเป็นนักเตะที่ไม่สมควรเป็นความภูมิใจของประเทศอีกต่อไป

นักสู้แห่งเมเดยีน 

“เอสโคบาร์ โมเดล” คือสิ่งที่อยู่เหนือความถูกต้อง ทุกคนรู้ดีว่าเขาร่ำรวยจากการค้าขายโคเคนและทำเรื่องผิดกฎหมาย ตำรวจทุกที่โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาต้องการจับตัวเขา … ยกเว้น 1 เมืองใหญ่แห่งโคลอมเบียที่ชื่อว่า “เมเดยีน” นครแห่งสลัมที่มี ปาโบล เอสโคบาร์ เป็นพระเจ้าที่นั่งอยู่ในหัวใจของผู้คนในเมือง

4

เอสโคบาร์ กลายเป็นขวัญใจด้วยวิธีที่เรียกว่า “เงินต่อเงิน” เขาเอาเงินจากการขาย โคเคน ส่งออกไปตามที่ต่างๆ กลับเข้ามาเพื่อมอบให้กับชาว เมเดยีน ราวกับตัวเองเป็นโรบินฮู้ด เขาบริจาคเงินให้โรงพยาบาลเพื่อผู้ป่วย และสร้างโรงเรียนให้กับเด็กๆ ในพื้นที่ได้มีโอกาสเรียนหนังสือ ดังนั้นต่อให้เขาจะเลวแค่ไหนแต่ในสายตาชาวโลกก็ไม่สามารถเปลี่ยนทัศนคติที่ชาวเมเดยีนมอบให้กับ เอสโคบาร์ ได้

เหตุผลที่ เอสโคบาร์ “คืนกำไรให้สังคม” นั้นมันเป็นเรื่องที่สามารถเข้าใจได้ง่ายๆ เพราะเขาเองเคยผ่านจุดที่ไม่มีจะกินมาก่อน เขาเกิดมาพร้อมกับความจนและเมื่อท้องร้องจนเกินต้านทาน เขาไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากจะเดินทางสายดำเพื่อเลี้ยงตัวให้พอยาไส้ ทว่าเมื่อยิ่งทำยิ่งเข้าท่าสุดท้ายมันก็กลายเป็นตัวตนของเขาไปโดยปริยาย

จากแค่เคยลักขโมย จนถึงลักพาตัว ปาโบล เอสโคบาร์ และ โรแบร์โต้ พี่ชายของเขาช่วยกันสร้างเครือข่ายอาชญากรที่ทรงพลังที่สุดในโคลอมเบีย รู้ตัวอีกที “แก๊งเมเดยีน” คือแก๊งที่ถือส่วนแบ่งการค้าโคเคนมากถึง 80% ในสหรัฐอเมริกา โดยมีรัฐฟลอริดาเป็นจุดกระจายสินค้าสำคัญ ซึ่งประเมินว่ามูลค่าของธุรกิจทั้งหมดนั้นสูงถึง 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เลยทีเดียว

ด้วยอำนาจที่ล้นพ้นและเงินที่ใช้เท่าไหร่ก็ไม่หมด เอสโคบาร์ เริ่มทำตามความฝันของตัวเองเนื่องจากเขาเป็นคนที่ชื่นชอบฟุตบอลมาก ดังนั้นเขาจึงได้สร้างสนามฟุตบอล ณ ใจกลางสลัมของ เมเดยีน ไม่ใช่แค่สนามเดียว แต่เขาสร้างมันไปเรื่อยๆ มีที่ไหนว่างที่นั่นต้องมีสนามฟุตบอล5

“เอสโคบาร์ มุ่งเน้นไปที่การคืนกำไรให้สังคม ในละแวกบ้านของเรา ปาโบล เป็นเหมือนแสงสว่างในชีวิตและในโลกของฟุตบอลอย่างแท้จริง” ลุซ มาเรีย น้องสาวของ เอสโคบาร์ กล่าวยืนยัน

จุดเริ่มต้นความสัมพันธ์ของ ฮิกิต้า กับ เอสโคบาร์ เริ่มต้นจากเรื่องเล็กๆ นี้นี่เอง นอกจาก เอสโคบาร์ จะสร้างสนามฟุตบอลแล้ว เขายังให้การสนับสนุนสโมสรฟุตบอลอาชีพด้วย นั่นคือสโมสร แอตเลติโก นาซิอองนาล และ อินดิเพนเดนเต เมเดยีน ซึ่งทั้ง 2 ทีมที่เป็นคู่ปรับประจำเมือง เมเดยีน ถือเป็นทีมระดับหัวแถวของประเทศ ซึ่งก็ไม่แปลกอะไรเพราะเรื่องของเงินทุนนั้น เอสโคบาร์ ไม่เคยอั้นกับเรื่องพวกนี้แม้แต่น้อย

“เงินที่ได้จากการค้ายาเสพติด ถูกนำมาใช้ในฟุตบอล มันทำให้ช่วงนั้นเราสามารถดึงนักเตะต่างชาติฝีเท้าดีเข้ามาสู่ทีมได้” ฟรานซิสโก มาตูราน่า อดีตผู้จัดการทีมของ นาซิอองนาล ในช่วงระหว่างปี 1987-1990 กล่าวเอาไว้ใน สารคดี The Two Escobars

ตัวของ เรเน่ ฮิกิต้า ลืมตาดูโลกในช่วงเวลาที่คาบเกี่ยวกับจุดพีกในชีวิตอาชญากรของ เอสโคบาร์ พอดีและมันประจวบเหมาะมากที่บ้านเกิดของ ฮิกิต้า คือ เมเดยีน … ใช่แล้วทั้งสองคนเป็นคนบ้านเดียวกัน และเอสโคบาร์ใจดีกับชาวเมเดยีนที่ซื่อสัตย์กับเขาเสมอ ซึ่งแน่นอนว่า ฮิกิต้า ก็เป็นหนึ่งในนั้น

“สำหรับ ปาโบล นักเตะไม่ใช่สินค้า แต่ว่าเป็นเพื่อน มันมีค่ามากกว่าเงินทอง เขาต้องการให้นักเตะทุกคนมีความสุข” มาตูราน่า ซึ่งยังเป็นโค้ชทีมชาติโคลอมเบีย ชุดฟุตบอลโลกปี 1994 ด้วย กล่าวถึงความสัมพันธ์ของ เอสโคบาร์ กับนักเตะของเขา 6

ด้าน ฮิกิต้า เติบโตมากับสนามฟุตบอลที่ เอสโคบาร์ สร้าง และการเป็นนักฟุตบอลที่มีความสามารถจึงทำให้เขาเป็นคนโปรดของ แก๊งเมเดยีน และได้รับการโอ๋การเอาใจเสมอ โดยเฉพาะกับ โรแบร์โต้ เอสโคบาร์ พี่ชายที่เป็นมือขวาของราชาแห่งโคเคน

“ผมเป็นเพื่อนกับ ปาโบล ซึ่งก็รู้จักกันในระดับหนึ่ง เพราะคนที่สนิทกับผมที่สุดคือ ดอน โรแบร์โต้ เอสโคบาร์” ฮิกิต้า กล่าวถึงจุดเริ่มต้นที่ทำให้เขาเข้าไปพัวพันกับแก๊งเมเดยีนแบบเลี่ยงไม่ได้ เพราะเมื่อเข้าไปอยู่จุดนั้นแล้วเขาได้รับสิทธิพิเศษมากมาย ถึงแม้จะรู้ว่าเป็นการรับใช้คนที่ทำผิดกฎหมายแต่ผลประโยชน์มันก็หอมหวานเกินกว่าจะต้านทาน

โลกอาชญากรรมของ ฮิกิต้า 

เงินของ เอสโคบาร์ ทำให้เกิดยุคทองของวงการฟุตบอลโคลอมเบีย เพราะกลุ่มคนสีเทาหลายคนพยายามใช้ฟุตบอลเป็นธุรกิจฟอกขาว พวกเขาเหล่านั้นอัดเงินมากมายเพื่อทำให้ทีมของตัวเองแข็งแกร่ง

7

อย่างไรก็ตามงานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา หลังจากเข้าสู่ยุค ’90s เอสโคบาร์ โดนชาวโคลอมเบียกดดันหนักจากเหตุการณ์ที่เขาสั่งระเบิดเครื่องบินพาณิชย์และทำให้ผู้บริสุทธิ์กว่า 100 คนต้องเสียชีวิตเมื่อปี 1989 ด้วยเหตุผลเกี่ยวกับเรื่องการเมือง กับเป้าหมายเพื่อสังหาร เซซาร์ กาวิเรีย ผู้สมัครประธานาธิบดีโคลอมเบียจากพรรคเสรีนิยม และมีนโยบายกวาดล้างแก๊งยาเสพติดเท่านั้น และที่น่าเศร้าคือ กาวิเรีย เป้าหมายในการฆ่าไม่ได้อยู่บนเครื่องบินในวันนั้น

รัฐบาลโคลอมเบียไม่มีทางเลือกเพราะประชาชนทั้งประเทศและต่างประเทศเร่งเร้าให้พวกเขาจับตัว เอสโคบาร์ มาเอาผิดให้ได้ เพราะช่วงเวลาเดียวกันนั้น เอสโคบาร์ ยังมีส่วนพัวพันกับการสังหาร หลุยส์ คาร์ลอส กาลัน ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีที่มีนโยบายล้างบางยาเสพติดด้วยเช่นกัน จึงทำให้รัฐบาลโคลอมเบีย (ซึ่งตลกร้ายเกิดขึ้นเมื่อผู้นำประเทศในขณะนั้นก็คือ เซซาร์ กาวิเรีย ผู้เคยตกเป็นเป้าสังหาร) กับ เอสโคบาร์ ต้องเปิดโต๊ะเจรจา ซึ่งได้ผลออกมาว่า ราชายาเสพติดจะยอมติดคุก แต่คุกนั้นจะต้องเป็นคุกที่เขาสร้างขึ้นมาเอง

แม้ทุกคนจะรู้ว่าในคุกนั้นเขายังอยู่ดีและสุขสบาย แต่ความคล่องตัวในการสั่งการอะไรต่างๆ ไปยังลูกน้องของ เอสโคบาร์ นั้นไม่เหมือนเดิม ดังนั้นจึงต้องมีคนที่ทำหน้าที่เป็นแขนขาให้กับเขา … ซึ่ง ฮิกิต้า คือหนึ่งในผู้ถูกเลือกและเขาไม่ปฎิเสธคำขอนี้

8

“เราไม่อาจเปลี่ยนแปลงจุดเริ่มต้นของมิตรภาพได้” ฮิกิต้า ในวัย 53 ปี เล่าถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตเกี่ยวกับเขาในฐานะ 1 คนของแก๊งเมเดยีน

“เอสโคบาร์ ลงจากตำแหน่งในสภา กลับสู่ใต้ดิน และจบลงด้วยการเดินเข้าคุก เขาไม่ใช่นักการเมืองอีกต่อไปและกลายเป็นคนค้ายา 100% แต่มันก็เหมือนเดิมคือไม่มีใครทำอะไรเขาได้อยู่ดี” ฮิกิต้า กล่าว

ฮิกิต้า เข้าใจผิดอยู่บางอย่าง เพราะในเวลานั้นแก๊งยาเสพติดแก๊งอื่นๆ ในโคลอมเบียก็เจริญรอยตามความยิ่งใหญ่ของแก๊งเมเดยีน ที่หัวหน้าแก๊งติดคุก และเป็นแก๊งที่รัฐบาลจ้องเล่นงานเป็นอันดับ 1 และนั่นทำให้หลังจาก เอสโคบาร์ เข้าไปอยู่ในคุกจึงเป็นช่วงเวลาที่เขาโดนลูบคมจากแก๊งคู่ปรับอยู่บ่อยครั้ง

ครั้งหนึ่งลูกสาววัย 11 ปีของ หลุยส์ คาร์ลอส โมลิน่า 1 ในเครือข่ายคนสำคัญของ เอสโคบาร์ โดนจับลักพาตัว ซึ่งเมื่อ เอสโคบาร์ ได้ข่าวเขาจึงมอบหมายให้ ฮิกิต้า เป็นตัวกลางเจรจาเพื่อปล่อยตัวประกันรายนี้ และแน่นอนว่าเขายินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับเกียรติจาก เอสโคบาร์ ครั้งนี้

การเจรจาปล่อยตัวประกันสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ฮิกิต้า ได้ค่าแรงเป็นเงิน 64,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ และเขาถูกเรียกตัวไปพบกับ เอสโคบาร์ ในคุก “ลา กาเตดรัล” อันโด่งดัง ซึ่ง ฮิกิต้า เดินทางเข้าไปในคุกอย่างสง่าผ่าเผย ไม่มีการปิดบังเหมือนกับคนดังในประเทศคนอื่นๆ เลย ซึ่งนั่นเองทำให้เขาโดนโจมตีเป็นอย่างมากในฐานะนักฟุตบอลทีมชาติแต่กลับเป็นสุนัขรับใช้ของพ่อค้ายาเสพติดและอาชญากรระดับโลก

“ก็ผมเป็นนักฟุตบอล ผมไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับการลักพาตัวและกฎหมายเรื่องนี้เลย” ฮิกิต้า เปิดใจเมื่อโดนหลายฝ่ายพยายามจะเอาเขาไปเข้าคุกให้ได้ และแน่นอนว่าคำพูดว่าไม่รู้ ไม่สามารถเอาไปใช้ในชั้นศาลได้ การเกี่ยวข้องกับเรี่องลักพาตัวจึงทำให้ ฮิกิต้า ต้องโทษจำคุกถึง 7 เดือน

เคารพจนวันสุดท้าย

แม้จะถูกยืนยันว่า ฮิกิต้า โดนจับด้วยคดีลักพาตัวและยาเสพติด ทว่าเอาเข้าจริงเมื่อเขาถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจสืบสวน คำถามที่โดนถามมีเพียงแต่เรื่องของ ปาโบล เอสโคบาร์ เท่านั้น เพราะช่วงเวลาดังกล่าวรัฐบาลโคลอมเบียตั้งใจจะจับกุม เอสโคบาร์ ให้ได้แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดและไม่ใช่การจับขังในคุกสุดหรูที่เขาออกแบบเองอีกแล้ว

9

รัฐบาลโคลอมเบียเอาจริงอย่างที่พูด หลังจากเข้าสู่ปี 1993 พวกเขาไล่ล่า เอสโคบาร์ อย่างจริงจัง และพยายามจะบุกเข้าไปจับในคุกแต่ เอสโคบาร์ ก็หนีเอาตัวรอดไปได้หลายเดือน ซึ่งการเอาจริงเอาจังของรัฐบาลสำเร็จลุล่วงได้เพราะอำนาจของ เอสโคบาร์ ลดน้อยถอยลงไป จนสุดท้ายในเดือนธันวาคมปี 1993 เอสโคบาร์ โดนตำรวจโคลอมเบีย ยิงเสียชีวิตที่ดาดฟ้าของตึกแห่งหนึ่งที่ เมเดยีน บ้านเกิดของเขาเอง

“ผมโดนถามแต่เรื่องของ ปาโบล เรื่องเดียวเลย” ฮิกิต้า กล่าวหลังพ้นโทษ 7 เดือน

“ปาโบล เอสโคบาร์ คอยให้ความช่วยเหลือคนจนตลอด เขาสร้างที่อยู่อาศัย, สร้างสนามฟุตบอล แต่ว่าเขาก็มีส่วนรับผิดชอบกับสงครามความวุ่นวายที่เกิดขึ้นเช่นกัน ผมเคยมีโอกาสขอบคุณเขาเป็นการส่วนตัวกับการที่เขามอบตัว (เข้าไปอยู่ในคุกของตัวเอง) ผมไม่เคยคิดว่าผมทำผิดกฎหมาย” ฮิกิต้า เลือกข้างแล้ว เขาไม่ถอนคำพูดและสายสัมพันธ์กับ เอสโคบาร์ เด็ดขาด แม้จะต้องหมดอนาคตกับทีมชาติโคลอมเบีย เมื่อผลพวงจากการต้องโทษจำคุก คือการหลุดทีมชาติชุดฟุตบอลโลกปี 1994 ก็ตาม

10

ทุกอย่างบนโลกนั้นเหมือนเหรียญสองด้าน จริงๆ แล้ว ฮิกิต้า เองก็น่าจะรู้ดีอยู่แก่ใจว่าสิ่งที่ เอสโคบาร์ ทำนั้นถูกหรือผิด? แต่เมื่อเขามองจากอีกมุมมันทำให้เขาพบแต่ข้อดีของเอสโคบาร์ ซึ่งมันเกิดจากประสบการณ์ตรงที่เขาได้พบเจอ

หาก ฮิกิต้า จะกล่าวโทษเอสโคบาร์ในวันที่เจ้าพ่อยาเสพติดอำนาจเสื่อมถอยเพื่อล้างภาพลักษณ์ของตัวเขาก็ย่อมได้ แต่สุดท้ายเขาก็ไม่ทำเพราะความรู้สึกที่มีต่อ เอสโคบาร์ ในใจของเขามันชัดเจนเสียจนหักหลังไม่ลง …

“ผมมีเพื่อนอยู่ไม่น้อยที่เป็นพ่อค้ายาเสพติด และผมเปลี่ยนมันไม่ได้ ชีวิตนี้ผมได้พบกับทั้งทหาร นักสู้ และกองโจร และสิ่งที่ผมบอกได้คือผมให้ความเคารพสำหรับพวกเขาทุกคน เหมือนกับที่พวกเขาเคารพในตัวของผม ผมเป็นคนที่สงบและเรียบง่าย ผมพร้อมที่จะเป็นเพื่อนกับพวกเขาทุกคนคน”

พ่อครัวประเทศโคลอมเบียสุดเจ๋ง!ทำไข่ทอดไซส์ใหญ่สุดในโลก

ปกติแล้วอาหารอย่างไข่ทอดจะเป็นของเล็กๆ แต่ไม่ใช่ในกรณีนี้ เพราะมันมีการทำไข่ทอดที่มีน้ำหนักรวมกันถึง 6,860.8 ปอนด์ขึ้นมา

ผลงานนี้เป็นของเหล่าพ่อครัวที่ประเทศโคลอมเบีย โดยพวกเขาใช้ไข่มากถึงราว 62,000 ฟองในการทำไข่ทอดอันนี้ขึ้นมา ส่วนกระทะที่ใช้ทำก็มีความยาวเกือบ 40 ฟุตด้วยกัน
ทั้งนี้ ผลงานในครั้งนี้ทำให้นี่ถือเป็นไข่ทอดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกตามการบันทึกของกินเนสส์ เวิลด์ เร็คคอร์ด โดยสถิติโลกเดิมอยู่ที่ 5,436.6 ปอนด์

ลี้ภัย 1.4 ล้านคนหนีเข้ามาที่ประเทศโคลอมเบีย

วิกฤตการเมืองเวเนซุเอลาไม่ได้เพิ่งเกิด เรื่องนี้เป็นมหากาพย์ต่อเนื่องยาวนานนับตั้งแต่ปี 2000 มีคนลี้ภัยออกนอกประเทศกว่า 4.3 ล้านคน และ 1.4 ล้านคนหนีเข้ามาที่ประเทศโคลอมเบียที่ชายแดนติดต่อกัน เกิดวิกฤตและปัญหาต่างๆ จนทำให้เศรษฐกิจประเทศล้มละลาย เกิดอัตราเงินเฟ้อที่สูงมาก เงินกลายเป็นสิ่งที่ไม่มีความหมาย เกิดอาชญากรรมมากขึ้น ปัญหาสาธารณูปโภคทำให้ประชาชนไม่สามารถดำรงชีวิตในประเทศนี้ต่อไปได้

เคน นครินทร์ ได้รับเชิญจากหน่วยงาน UNHCR ไปดูวิกฤตผู้ลี้ภัยเวเนเวซุเอลา และกลับมาวิเคราะห์ต้นตอและสาเหตุเพื่อเป็นข้อเตือนใจให้หลายๆ องค์กรนำไปประยุกต์ใช้หรือปรับปรุงได้ทันเวลา ในรายการ The Secret Sauce: Executive Espresso

Image result for หนีเข้ามาที่ประเทศโคลอมเบีย

3 สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดวิกฤตในเวเนซุเอลา

1. ไม่กระจายความเสี่ยง

เวเนซุเอลาในยุคก่อนเป็นประเทศที่ร่ำรวยมาก แต่รายได้ประเทศ 95% อยู่ที่มูลค่าการส่งออกน้ำมัน ช่วงประมาณปี 1970 เป็นประเทศที่มี GDP สูงกว่าสเปน กรีซ อิสราเอล และยังเคยเป็นที่พักพิงของชาวโคลอมเบีย ในสมัยนั้นน้ำมันมีมูลค่าสูงมาก และเวเนซุเอลาเป็นผู้นำในการส่งออกน้ำมันระดับโลกตั้งแต่ปี 2001-2013 ราคาน้ำมันสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ประเทศมีรายได้สูงมาก แต่มีสัญญาณวิกฤตเกิดขึ้น เมื่อสหรัฐอเมริกาจากเคยเป็นผู้นำเข้าน้ำมันอันดับหนึ่งของโลกได้ค้นพบเทคโนโลยีในการขุดน้ำมัน ซึ่งสามารถมีกำลังการผลิตจำนวนมาก ทำให้สหรัฐอเมริกาไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันจากประเทศอื่นๆ อีกต่อไป และส่งผลให้ราคาน้ำมันลดลงอย่างรวดเร็ว นอกจากสหรัฐอเมริกาแล้วยังมีประเทศอื่นๆ ที่มีกำลังการผลิตน้ำมันมากขึ้นเช่นกัน ตัวอย่างเช่น แคนาดา จากกำลังการผลิต 2.5 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2009 กลายเป็น 3.3 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2013 ภาพรวมการแข่งขันธุรกิจน้ำมันค่อนข้างสูง และเป็นสัญญาณในการเปลี่ยนแปลงธุรกิจเพื่อความอยู่รอด ดูตัวอย่างจาก OPEC ซึ่งเป็นผู้นำการส่งออกน้ำมัน ตอนนี้ธุรกิจหลักของบริษัทมีหลากหลายมากขึ้นที่ไม่ใช่แค่น้ำมัน ทางบริษัทมาเน้นเรื่องการบริการ ธุรกิจสายการบิน และอื่นๆ เพื่อกระจายความเสี่ยงธุรกิจ

2. ไม่ส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรม

รัฐบาลเวเนซุเอลาทำการยึดกิจการจากเอกชนให้รัฐบาลมาบริหารงานแทน หมายถึงรัฐบาลบริหารงานเองโดยไม่มีผู้แข่งขัน หรือเรียกได้ว่าตลาดผูกขาด ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง เนื่องจากไม่มีผู้แข่งขัน ส่งผลให้ไม่มีการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ไม่เกิดการพัฒนา

3. ไม่สนับสนุนให้ประชาชนพึ่งพาตัวเอง

อย่างที่หลักปรัชญากล่าวไว้ว่า “ให้เบ็ดดีกว่าให้ปลา” พลังแห่งความยั่งยืน เรื่องของประชานิยม ประชากรในประเทศสามารถใช้พลังงานไฟฟ้าหรือน้ำมันในราคาถูกมากกว่าปกติหลายสิบเท่า ทำให้ประชาชนใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง นอกจากนั้นยังอุ้มราคาสินค้า ซึ่งก็คือการควบคุมและกำหนดราคาสินค้าให้ถูกกว่าความเป็นจริง ส่งผลให้ประชาชนไม่กระตือรือร้นในการทำอาชีพ ภาคธุรกิจไม่มีกำไร จึงต้องปิดตัวลง และยังไม่สนับสนุนให้ประชาชนทำธุรกิจเกษตร โดยมีการนำเข้าอาหารจากต่างประเทศแทน ซึ่งเวเนซุเอลาเป็นประเทศใกล้เส้นศูนย์สูตร มีลักษณะคล้ายประเทศไทย โดยสามารถทำการเกษตรได้ดี แต่รัฐบาลไม่สนับสนุนสิ่งนี้ ซึ่งเป็นปัจจัย 4 ในการดำรงชีวิตของผู้คน และรัฐบาลยังควบคุมอัตราการแลกเปลี่ยนเงินเพื่อป้องกันไม่ให้เงินไหลออกไปนอกประเทศ ทำให้ตลาดค่าเงินเวเนซุเอลาพังเพราะขาดแคลนเงินสกุลต่างชาติ ทำให้ไม่มีการลงทุนจากชาวต่างชาติ ส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อขั้นรุนแรง

นี่เป็นบทเรียนสำคัญที่ทุกคนสามารถเรียนรู้และนำมาปรับใช้ไม่ว่าจะกับประเทศหรือว่ากับองค์กร อย่างที่ ฟิลิป คอตเลอร์ ได้กล่าวว่า “ผู้นำเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้องค์กรอยู่รอดได้”

 

 

“เอกวาดอร์” จับมือ “โคลอมเบีย-เปรู” เสนอตัวจัดบอลโลก 2030

เอกวาดอร์ เตรียมหารือกับโคลอมเบีย และเปรูเพื่อเสนอตัวเป็นเจ้าภาพร่วมจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก ปี 2030

เลนิน โมเรโน่ ประธานาธิบดีของเอกวาดอร์ ยืนยันผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัวว่า เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา เขาได้เสนอเรื่องการเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2030 ไปให้ นายอีวาน ดูเค ประธานาธิบดีของโคลอมเบีย และ นายมาร์ติน วิซการ์ร่า ประธานาธิบดีของเปรู พิจารณา

โดยตอนนี้อยู่ในช่วงที่รัฐบาลของทั้ง 2 ประเทศตัดสินใจ และถ้าหากทั้งคู่เห็นด้วย เอกวาดอร์ ก็จะเดินหน้าเสนอตัวเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2030ในทันที

อย่างไรก็ตามทั้ง 3 ประเทศต้องขับเคี่ยวแย่งสิทธิ์กับอีกหลายชาติ ทั้งอาร์เจนติน่า, อุรุกวัย, ปารากวัย และชิลี 4 ชาติเพื่อนร่วมทวีปอเมริกาใต้ ที่เสนอตัวเป็นเจ้าภาพร่วมมาแล้วก่อนหน้านี้

นอกจากนี้ยังมี โมร็อกโก, ตูนิเซีย และแอลจีเรีย 3 ชาติจากทวีปแอฟริกา ที่พลาดการเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกในปี 2026 รวมไปถึง 4 ชาติยุโรปตะวันออกที่จับมือกัน ได้แก่ โรมาเนีย,กรีซ,บัลแกเรีย และเซอร์เบีย

สำหรับฟุตบอลโลกครั้งต่อไป จะมีขึ้นในปี 2022 ที่ประเทศกาตาร์ ส่วนในปี 2026 เป็น แคนาดา เม็กซิโก และสหรัฐอเมริกา ที่จับมือกันเป็นเจ้าภาพร่วม

Image result for “เอกวาดอร์” จับมือ “โคลอมเบีย-เปรู” เสนอตัวจัดบอลโลก 2030

ไทย-โคลอมเบีย’ จับมือขยายตลาดละติน

โคลอมเบียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 4 ในภูมิภาคละตินอเมริกา ซึ่งประเทศบราซิลมีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุด รองลงมาเป็นเม็กซิโก อาร์เจนตินา

ในปี 2562 เป็นปีแห่งการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ไทย-โคลอมเบียครบรอบ 40 ปี โดยกระทรวงการต่างประเทศมีความมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกันในอนาคต

ดำรง ใคร่ครวญ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์พิเศษว่า ปัจจุบัน ไทย-โคลอมเบียมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น และทั้ง 2 ประเทศเห็นตรงกันว่า จะผลักดันความร่วมมือด้านการค้าการลงทุนให้เพิ่มมากขึ้น

ในช่วงที่ผ่านมา โคลอมเบียตกอยู่ในสถานการณ์ปัญหาการเมืองภายในประเทศอยู่หลายสิบปี กระทั่งในปี 2554 รัฐบาลโคลอมเบียสามารถตั้งโต๊ะเจรจากับพรรคฝ่ายค้านสำเร็จ สามารถนำพาประเทศกลับสู่สันติภาพได้รวดเร็ว

“ด้วยสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมือง ทำให้โคลอมเบียสาละวนอยู่กับการจัดการปัญหาภายในประเทศ จึงยังไม่ค่อยมีปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอกมากนัก และเมื่อทุกอย่างกลับคืนสู่ความสงบเรียบร้อย ทำให้โคลอมเบียซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ฉายแสงให้เห็นโอกาสการพัฒนาและความร่วมมือทางการค้ากับต่างชาติ” รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ระบุ

ดำรง กล่าวอีกว่า โคลอมเบียมีนโยบายบุกเบิกความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศในภูมิภาคเอเชีย จึงได้กลับมาเปิดสถานเอกอัครราชทูตในประเทศไทยเมื่อปี 2556

ขณะที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลิมา ประเทศเปรู ให้การดูแลอาณาบริเวณครอบคลุมไปยังโคลอมเบีย ถ้าในอนาคตไทยจะพิจารณาเปิดสถานทูตแห่งใหม่ในภูมิภาคละตินอเมริกา เชื่อว่าโคลอมเบียจะเป็นประเทศที่ถูกพิจารณาในลำดับแรก

“ณ เวลานี้ โคลอมเบียให้ความสำคัญกับความร่วมมือกับประเทศในเอเชีย อาจยังไม่เจาะจงเป็นรายประเทศ เพราะต้องยอมรับว่า หากมองในมุมโคลอมเบียมายังเอเชีย ก็ย่อมให้ความสำคัญกับจีนเป็นชาติแรก รองลงมาเป็นญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และประเทศในอาเซียน ซึ่งประเทศไทยอยู่ในภูมิภาคอาเซียน จึงถือได้ว่าไทยอยู่ในจอเรดาร์ที่โคลอมเบียต้องการจะร่วมมือทางเศรษฐกิจด้วย” รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ระบุ

ปัจจุบัน โคลอมเบียเป็นประเทศคู่ค้าอันดับ7 ของไทยในละตินอเมริกา ขณะนี้ในมิติความร่วมมือทางเศรษฐกิจยังไม่สูงมาก เนื่องจากการค้าระหว่างกันยังน้อย อยู่ที่ประมาณ 200 ล้านดอลลาร์ ส่วนการลงทุนยังไม่เกิดขึ้นมาก ขณะที่มีนักท่องเที่ยวโคลอมเบียเดินทางมายังประเทศไทย อยู่ที่ประมาณ 1.4 หมื่นคน 

“ส่วนตัวเชื่อว่า แนวโน้มระดับการพัฒนาประเทศของโคลอมเบียจะสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะอัตราการเติบโตของจีดีพีน่าจะอยู่ที่ประมาณ 4% ซึ่งใกล้เคียงกับประเทศไทย นั่นหมายถึงมีประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใกล้เคียงกับไทยอยู่ในละตินอเมริกาด้วย จึงเป็นโอกาสทางการค้าสำหรับนักธุรกิจไทยเข้าไปทำตลาดใหม่ เพราะการแข่งขันยังไม่สูง” ดำรงกล่าว

รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ที่ผ่านมา มีบริษัทของไทยบางแห่งเข้าไปบุกเบิกในตลาดโคลอมเบีย ส่วนใหญ่ขายสินค้าผลิตภัณฑ์การเกษตร และเปิดร้านอาหารไทยที่นั้น ทั้งนี้ โคลอมเบียยังเป็นตลาดซื้อยางพารารายใหญ่จากไทยในละตินอเมริกา

ขณะเดียวกัน โคลอมเบียมีนโยบายส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ในการผลิตสินค้าประยุกต์เชิงวัฒนธรรมเช่นเดียวกับโอท็อปของไทย ซึ่งในส่วนนี้สามารถนำไปสู่ความร่วมมือระหว่างไทย-โคลอมเบีย และต่อยอดทางธุรกิจในอนาคต 

นอกจากนี้ ไทยต้องการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการผลิตกาแฟจากโคลอมเบีย เพราะที่นั่นจัดได้ว่าเป็นแหล่งผลิตกาแฟสไตล์บูติคแห่งเดียวในโลก ที่สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจกาแฟไทยต่อไป

เจ้าหน้าที่ตำรวจเผาทำลายโคเคนและกัญชาโดยเฉพาะประเทศโคลอมเบีย

เจ้าหน้าที่ตำรวจปานามา ระดมกำลังใช้มีดพร้าขนาดใหญ่ เปิดกระสอบที่ใช้บรรจุยาเสพติดอัดแท่ง ประเภทโคเคนและกัญชา ซึ่งมีน้ำหนักรวม 26.1 ตัน และสับออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ก่อนจะราดน้ำมันเพื่อจุดไฟเผาทำลาย โดยการเผาทำลายครั้งนี้ นับเป็นการเผาทำลายยาเสพติดครั้งใหญ่ที่สุดในรอบปีของปานามา โดยมีขึ้นที่บริเวณปากแม่น้ำบายาโน (Bayano) ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของกรุงปานามาซิตี้ โดยทางเจ้าหน้าที่ตำรวจรายงานว่า ยาเสพติดที่ถูกเผาทำลายในครั้งนี้ เป็นของกลางที่ตรวจยึดมาได้ จากการกวาดล้างยาเสพติดครั้งใหญ่ ในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งส่วนใหญ่เดินทางมาจากประเทศในทวีปอเมริกาใต้ โดยเฉพาะประเทศโคลอมเบีย และมีจุดหมายปลายทางที่ประเทศสหรัฐอเมริกา

ทั้งนี้ นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ปานามาสามารถตรวจยึดยาเสพติดได้มากถึง 57 ตัน โดยยังคงน้อยกว่าปีที่แล้ว ที่สามารถตรวจยึดได้มากถึง 75 ตัน

“ปู” ไปรยา ลงพื้นที่ประเทศโคลอมเบียเพื่อช่วยเหลือผู้อพยพและลี้ภัย

“ปู” ไปรยา ลุนด์เบิร์ก ในฐานะทูตสันถวไมตรีของ UNHCR ประเทศไทย ลงพื้นที่ระหว่างวันที่ 23-27 กันยายน 2562 ณ ประเทศโคลอมเบีย เพื่อเก็บภาพและข้อมูลในการทำสารคดีสั้นเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ในประเทศเวเนซุเอลา โดย สาวปู เผยความรู้สึกว่า

“ทุกๆ ครั้งที่ปูไปรู้สึกว่าสถานการณ์แต่ละที่มันยากและซับซ้อนมากในการให้ความช่วยเหลือ และในครั้งนี้ก็ไม่ง่ายขึ้นเลย ครั้งนี้เป็นจุดเปลี่ยนของชีวิตปูที่ได้เห็นวิกฤตการณ์ที่ยากสุด ซับซ้อนที่สุด มีทั้งความไม่มั่นคงในประเทศเอง มีทั้งการลี้ภัยและการอพยพที่ต้องการความช่วยเหลือที่ต่างกันไป ในพื้นที่ที่ปูไปเยี่ยมครั้งนี้ไม่ใช่ในค่ายผู้ลี้ภัยนะคะ แต่เป็นศูนย์อพยพในสถานการณ์ฉุกเฉินจริงๆ ซึ่งวิกฤตครั้งนี้ต้องการความร่วมมือจากทุกฝ่าย สถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ไม่ต่างจากสถานการณ์แห่งความเป็นความตาย พวกเขาต้องหนีออกมาแสวงหาความปลอดภัยและมาถึงชายแดนด้วยความหวาดกลัว เหนื่อยล้า และต้องการความช่วยเหลือฉุกเฉิน ปูชื่นชมการทำงานของ UNHCR ที่ทำงานอย่างรอบด้านเพื่อให้ความช่วยเหลือทุกคนอย่างเร่งด่วน และชื่นชมความเข้มแข็งและแข็งแกร่งของผู้ลี้ภัยและผู้อพยพทุกคน ปูได้เห็นกับตาตัวเองที่สะพานข้ามแม่น้ำตาชีรา Saimon Bolivar International ชายแดนโคลอมเบีย-เวเนซุเอลาที่เป็นเส้นทางหลักในการลี้ภัยของชาวเวเนซุเอลาเพื่อข้ามมาที่โคลอมเบีย ได้เห็นคนเป็นพันๆ คนข้ามสะพานหนีตายจากความโหดร้าย เห็นคนท้อง คนพิการ เด็กเล็ก ผู้ป่วยที่ต้องออกจากบ้านตัวเอง นั่นแสดงให้เห็นว่าพวกเขาอยู่ไม่ได้แล้วจริงๆ ไม่มีแม้แต่น้ำ ไฟฟ้า ยารักษาโรค หรืออาหารในการดำรงชีวิต เด็กหลายคนต้องป่วยและเสียชีวิตเพราะไม่มีนมและต้องรองน้ำที่มีสารปนเปื้อนเพื่อดื่มประทังชีวิต การขาดแคลนกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในโรงพยาบาล ทำให้อัตราการเสียชีวิตของหญิงตั้งครรภ์เพิ่มขึ้น 65% และการเสียชีวิตของเด็กแรกเกิดเพิ่มขึ้น 53% สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้ปูและ UNHCR เศร้าใจเป็นอย่างมากและต้องเร่งช่วยเหลือพวกเขาอย่างเร่งด่วนที่ศูนย์ช่วยเหลือผู้ลี้ภัยและผู้อพยพของ UNHCR บริเวณชายแดน เจ้าหน้าที่ทำงานตลอดเวลาเพราะทุกคนที่เข้ามาต่างมีภาวะฉุกเฉิน ปูเจอมีทั้งเด็กที่มีความพิการ ร่างกายผิดปกติ เด็กและผู้ใหญ่มากมายป่วยเป็นโรคขาดสารอาหาร ปูได้คุยกับคุณแม่ที่ลูกพิการ ตอนที่ปูกอดให้กำลังใจพวกเขา ร่างกายเขาเหลือแต่กระดูก ปูได้เจอกับแอนกี้ คุณแม่ลูก 2 วัย 24 ปีที่ป่วยเป็นมะเร็งระยะที่ 4 เธอต้องลี้ภัยกับคุณแม่วัย 50 ปีและลูกเล็กอีก 2 คน เพราะที่เวเนซุเอลาไม่มียารักษาโรคให้เธออีกแล้ว เธอหนีมาที่โคลอมเบียเพียงแค่เพื่อมีชีวิตอยู่ต่ออีกสักหน่อยกับแม่และลูกของเธอ ตลอดเวลาที่ปูคุยกับเธอ เธอถือผ้าเช็ดหน้าตลอดเวลาเพื่อปกปิดความป่วยของเธอไม่ให้ใครเห็น ปูได้พบกับแอนเดรียนา สามี และลูกของพวกเขา 3 คน จากเวเนซุเอลาที่เป็นกลุ่มเปราะบางที่สุด UNHCR พบพวกเขานอนข้างถนน จึงช่วยเหลือให้การรักษาและความคุ้มครอง แอนเดรียนาเจอกับความโหดร้ายในเวเนซุเอลาจนต้องอพยพมาที่โคลอมเบีย เธอไม่มีอะไรติดตัวมาเลย ต้องยอมให้ลูกและตนเองนอนข้างถนนเพื่อเอาชีวิตรอด เธออยู่อย่างหวาดกลัวทุกคืนเพราะมีกลุ่มติดอาวุธขี่มอเตอร์ไซค์วนเวียนมาถามเธอว่าจะขายอวัยวะของลูกเธอไหม เมื่อได้รับการช่วยเหลือจาก UNHCR เธอบอกว่าคืนนี้จะเป็นคืนแรกที่เธอจะปลอดภัยที่สุด ปูเดินทางไปที่ Brisas del Norte (บริซาส เดล นอร์เต้) เป็นพื้นที่ชั่วคราวที่เป็นที่พักพิงให้กับผู้ลี้ภัยชาวเวเนซุเอลา ผู้พลัดถิ่นในประเทศ และผู้ลี้ภัยชาวโคลอมเบียที่กลับสู่ถิ่นฐานกว่า 250 ครอบครัว ซึ่งพวกเขาต้องผ่านการเป็นผู้พลัดถิ่นมาตลอดชีวิต ไฮโร อิบารา ต้องลี้ภัยจากโคลอมเบียไปเวเนซุเอลาตั้งแต่อายุ 10 ขวบ เพราะความรุนแรง พ่อเขาถูกฆ่า และลุงถูกลักพาตัวจนทุกวันนี้ยังหาตัวไม่พบ เมื่อความรุนแรงเกิดขึ้นในประเทศที่เขาหนีไปอยู่ เขาตัดสินใจพาลูกที่ป่วยกลับมาที่โคลอมเบียอีกครั้งในปี พ.. 2557 โดยภรรยาและลูกอีกคนยังรออยู่ที่เวเนซุเอลาและจนวันนี้พวกเขาก็ยังไม่ได้อยู่ด้วยกัน ไฮโรทำงานเป็นนักบัญชี มีชีวิตที่ดีอยู่ในเวเนซุเอลา แต่เมื่อต้องกลับมาที่โคลอมเบียอีกครั้งเขาต้องเริ่มจากติดลบ ต้องอาศัยอยู่ในเพิงที่รกร้าง ดูแลลูกที่ป่วยขยับไม่ได้ เขายังจำได้ว่าลูกทรมานแค่ไหนที่ต้องอยู่สภาพนั้น เราอาจจะมองว่าไฮโดรอยู่ในที่พักแบบนี้ได้อย่างไร แต่สำหรับเขาที่นี่คือวัง เพราะตอนที่เขากลับมา เขามีที่อยู่เป็นเพียงผ้าพลาสติกเท่านั้น แต่ไฮโรเข้มแข็งมาก เขาสู้แม้ไม่มีความหวังว่าชีวิตจะดีกว่านี้ได้อย่างไร เขาเข้าเรียนการทำงานฝีมือเพื่อเลี้ยงชีพถึงแม้จะเป็นเรื่องที่เขาไม่ถนัด แต่เขาสามารถใช้มันเลี้ยงดูครอบครัวได้ UNHCR ช่วยเหลือพวกเขาอยู่ในพื้นที่นี้ให้ได้รับการช่วยเหลือขั้นพื้นฐาน ได้มีน้ำ มีไฟฟ้า สร้างโรงเรียนสอนฟุตบอลให้เด็ก 300 คน เยียวยาและป้องกันการรุนแรงทางเพศ ผู้ลี้ภัยและผู้อพยพได้รับการเยียวยาจิตใจ การได้อยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลและเข้าใจและตอนนี้เขาได้เจอภรรยาและลูกปีละ 2 ครั้งเท่านั้น ผ่านการโบกมือหากันที่ตรงชายแดน ปูได้เห็นผู้คนตั้งแต่เขาเดินข้ามชายแดนมาที่โคลอมเบีย ต้องมานอนอยู่ข้างถนนเพราะไม่มีที่อยู่ ไม่มีเอกสารติดตัว ระหว่างทางพวกเขาต้องเจอความโหดร้ายมากมายทั้งโดนข่มขู่ ปล้น ลักพาตัว หลอกไปขายอวัยวะ หรือ บางคนตื่นมาไม่เห็นลูกตัวเองอีกแล้ว ปูได้พบมารีและอิสเมล ลูกวัย 3 ขวบที่พิการ มารีสูญเสียสามีและต้องลี้ภัยเพราะอิสเมลป่วยหนัก เพื่อให้ลูกคนเล็กมีชีวิตรอด มารีต้องทิ้งลูกสาวและพ่อแม่ของเธอไว้ที่เวเนซุเอลา โดยไม่รู้ว่าจะได้กลับไปอีกเมื่อไหร่ มาเรียมีค่าใช้จ่ายสูงมากในการหาซื้อยาให้อิสเมลในเวเนซุเอลา เธอลี้ภัยมาโคลอมเบียและหาเลี้ยงชีพด้วยการขายขนมเพื่อแลกกับค่าเช่าบ้านให้เธอและลูก แต่ก็ทำต่อไม่ได้เพราะอิสเมลที่ป่วยหนักต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด เธอหวังว่าอิสเมลจะได้รับการรักษาที่ดีขึ้นในโคลอมเบีย UNHCR ตามหากลุ่มคนที่เปราะบางที่สุดเพื่อให้ได้ความช่วยเหลือที่เร่งด่วน ทั้งการออกเอกสารระบุตัวตน มอบความช่วยเหลือด้านการแพทย์ ที่พักพิงชั่วคราว ปัจจัย 4 การเยียวยาจิตใจ และการอยู่ร่วมกันกับคนโคลอมเบียอย่างเกื้อกูลเพื่อเขาจะได้อยู่ปลอดภัย ด้วยจำนวนผู้ลี้ภัยและผู้อพยพชาวเวเนซุเอลาที่ยังคงเพิ่มสูงขึ้น ทรัพยากรเริ่มลดน้อยลงและจำนวนครอบครัวที่ต้องการความช่วยเหลือนั้นมีมากขึ้น พวกเขาจำเป็นต้องได้รับการคุ้มครอง รวมถึงที่พักอาศัย อาหาร และยารักษาโรคในทันที ทำให้ UNHCR ไม่อาจทำงานที่สำคัญนี้ได้เพียงลำพัง เราต้องการงบประมาณกว่า 158.2 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือมากกว่า 4,900 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือพวกเขา และตอนนี้ยังขาดงบประมาณอีกถึง 1,300 ล้านบาทในการให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน

ชายแดนเวเนซุเอลา-โคลอมเบีย พบผู้หญิงขายเส้นผมเพื่อประทังชีวิต

สะพาน Simon Bolivar International Bridge นี้มีความยาวเพียง 300 เมตร แต่ความหวังที่แฝงอยู่ในดวงตาชาวเวเนซุเอลานั้นทอดยาวไกลราวไม่มีที่สิ้นสุด

สะพานแห่งนี้คือเส้นทางหลักในการลี้ภัยของชาวเวเนซุเอลาเพื่อข้ามมาที่เมือง Villa del Rosario ประเทศโคลอมเบีย เบื้องล่างคือแม่น้ำตาชีรา บนหลังของพวกเขาขนกระเป๋าเสื้อผ้า บนไหล่มีลูกน้อย ในหัวใจแบกความหวังสร้างชีวิตใหม่ ประเมินกันว่ามีชาวเวเนซุเอลาเดินเท้าข้ามสะพานแห่งนี้ประมาณ 25,000 คนต่อวัน เพื่อหนีจากวิกฤตในประเทศบ้านเกิดตัวเอง

บนสะพานผู้สื่อข่าว พบเห็นรั้วที่มีลักษณะแข็งแรง เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองอธิบายว่ามันคือรั้วกันกระสุน เนื่องจากเคยเกิดการปะทะขึ้นบริเวณพรมแดนระหว่างกองกำลังติดอาวุธ โดยหากมองลงไปด้านล่างสะพานจะเห็นจุดเข้าเมืองที่ผิดกฎหมาย ซึ่งเสี่ยงต่อการถูกลักพาตัวหรือค้ามนุษย์อย่างมาก

UNHCR และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พยายามตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลือพื้นฐานกับผู้ลี้ภัย นอกจากนี้ยังได้ติดตั้งตู้คอนเทนเนอร์สำหรับให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับบุคคลที่กำลังเปราะบาง โดยมีคนที่ต้องการความช่วยเหลือเข้ามาใช้ประมาณ 2,000-3,000 คนต่อวัน

นอกเหนือจากผู้ลี้ภัยแล้วก็ยังมีชาวบ้านที่เดินเข้ามาเพื่อซื้อหาอาหาร น้ำสะอาด ยารักษาโรค หรือของใช้อุปโภคบริโภคที่ไม่สามารถหาได้ในเวเนซุเอลา ได้พูดคุยกับคนเดินถนนหลายคน บางคนอุ้มลูกเดินเท้าจากบ้านตั้งแต่ตี 2 เพื่อฉีดวัคซีน 1 เข็มแล้วกลับบ้าน บางคนเข้ามาเพื่อขายลูกอมยังชีพในวันธรรมดา แล้วขนเงินกลับไปให้ครอบครัวในวันหยุด ทุกคนพูดตรงกันว่าพวกเขาอยู่ในช่วงยากลำบากที่สุดในชีวิต

หากเดินออกจากสะพานมาไม่นาน จะพบพื้นที่ขายของขนาดใหญ่ที่วุ่นวายมาก มีทั้งจุดเรียกรถเข้าเมือง รถเข็นขายอาหารและน้ำดื่ม แผงลอยขายบุหรี่ โทรศัพท์มือถือ หรือของใช้อื่นๆ แต่ที่สะดุดตาและสะกิดหูมากที่สุดคือ คนตะโกนเป็นภาษาสเปนว่า “รับซื้อเส้นผม!”

สอบถามจึงได้คำตอบว่าพวกเขารับซื้อเส้นผมผู้หญิงชาวเวเนซุเอลาไปทำวิก ผู้สื่อข่าวพบผู้หญิงผมยาวคนหนึ่งกำลังถูกตัดผมอยู่ แต่เมื่อจะเข้าไปขอสัมภาษณ์และถ่ายรูปก็โดนโบกมือไล่

ภายหลังจึงทราบว่าผู้หญิงเวเนซุเอลารักสวยรักงามมาก เส้นผมจึงเปรียบเสมือนของมีค่าที่สุดอย่างหนึ่งในชีวิต การที่ต้องยอมสูญเสียเส้นผมเพื่อแลกกับเงินเล็กๆ น้อยๆ ในการประทังชีวิตจึงเป็นสัญลักษณ์ของความยากจนข้นแค้น และพวกเธอไม่อยากให้ใครมาบันทึกภาพความเจ็บปวดนั้น

ความล่มสลายทางเศรษฐกิจในเวเนซุเอลาสร้างความลำบากให้กับประชาชนในขั้นเลวร้าย ตั้งแต่ปี 2015 มีชาวเวเนซุเอลาต้องลี้ภัยกว่า 4.3 ล้านคน เฉลี่ย 5,000 คนต่อวัน โดยจำนวน 1.4 ล้านคนหนีเข้ามาในโคลอมเบีย พวกเขาเหล่านี้ขาดแคลนอาหาร น้ำสะอาด ยารักษาโรค ไร้ซึ่งความปลอดภัย ถูกคุกคามทางเพศ ค้ามนุษย์ ลักพาตัว หรือกระทั่งฆ่า

UNHCR ระบุว่า วิกฤตเวเนซุเอลาถือเป็นวิกฤตด้านผู้ลี้ภัยของโลกที่ร้ายแรงที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตซีเรีย และรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของลาตินอเมริกา

แลกเงินที่ชายแดนเวเนซุเอลา-โคลอมเบีย

กองธนบัตรโบลิวาร์ หรือที่เรียกอย่างเป็นทางการว่า Venezuelan Bolivar Fuerte (VER) ซึ่งเป็นสกุลเงินของประเทศเวเนซุเอลา วางอยู่บนโต๊ะเป็นตั้งๆ จำนวนหลายปึก เสียงตะโกนภาษาสเปนจากพ่อค้าร่างใหญ่เรียกให้เราเข้าไปดูสินค้าของเขา กะเกณฑ์ด้วยสายตาเงินกองพะเนินนั้นน่าจะมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 30 ล้านโบลิวาร์

ผู้สื่อข่าว ลงพื้นที่บริเวณชายแดน Paraguachon ในเมือง Maicao ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของโคลอมเบียติดกับเวเนซุเอลา ชายแดนนี้มีความพิเศษตรงที่ไม่มีจุดตรวจเอกสารใดๆ ทำให้ชาวเวเนซุเอลาที่ต้องการมาทำงานหรือเริ่มต้นชีวิตใหม่เพื่อหลุดพ้นจากวิกฤตในประเทศตัวเองหลั่งไหลมาเป็นจำนวนมาก

แม้อากาศจะร้อนจัดเกือบทะลุ 40 องศาเซลเซียส แต่ผู้คนจำนวนมากต่างออกมาเดินเต็มถนนจนแทบจะเหยียบเท้ากัน ส่วนใหญ่จะขนของมาค้าขาย โดยสินค้าที่พบเห็นมากที่สุดคือน้ำมัน เนื่องจากเวเนซุเอลาเป็นประเทศที่ผลิตน้ำมันได้มากและราคาถูก เด็กๆ อายุไม่เกิน 5-6 ขวบเดินเท้าเปล่าถือกรวยเติมน้ำมันตะโกนหาลูกค้า นอกเหนือจากนั้นก็จะเป็นรถเข็นขายสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป

จุดที่ดึงดูดความน่าสนใจมากที่สุดคือจุดแลกเงิน โดยตั้งเป็นโต๊ะง่ายๆ มีเงินปึกใหญ่วางกองเป็นตั้งเสมือนเป็นป้ายร้าน ผู้สื่อข่าว THE STANDARD ถามว่าเงินทั้งกองนั้นเทียบเป็นมูลค่าประมาณเท่าไร พวกเขาตอบว่า 100 ดอลลาร์ หรือประมาณ 3,000 บาท แต่เงินกองโตซึ่งคาดด้วยสายตาน่าจะประมาณ 30 ล้านโบลิวาร์นี้ พวกเขาบอกว่าเพียงพอสำหรับการกินอยู่ขั้นพื้นฐานในเวเนซุเอลาได้เพียง 1 สัปดาห์เท่านั้น เนื่องจากข้าวของราคาแพงมากจากปัญหาเงินเฟ้อขั้นรุนแรง (Hyperinflation)

ผู้สื่อข่าว THE STANDARD ลองแลกเงิน 1,000 เปโซโคลอมเบีย (ประมาณ 9 บาท) ได้เงินเวเนซุเอลาคืนมาประมาณ 6,500 โบลิวาร์ แต่คาดว่าน่าจะโดนพ่อค้าหลอก เพราะเมื่อกดตัวเลขในเว็บไซต์อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา พบว่าควรจะได้เงินจำนวน 73,826 โบลิวาร์

แล้วเงินจำนวนนี้ซื้ออะไรได้บ้างในเวเนซุเอลา?

Gustavo  Pino ศิลปินชาวเวเนซุเอลาผู้ลี้ภัยวัย 48 ปี บอกกับ THE STANDARD ว่า เงินจำนวนนั้น “แม้แต่เศษคุกกี้ 1 ชิ้นก็ยังซื้อไม่ได้” แต่ในโคลอมเบียอาจกินอาหารเช้าราคาถูกได้ 1 มื้อ

ค่าเงินของเวเนซุเอลาไม่มีมูลค่าจนศิลปินหลายคนนำธนบัตรโบลิวาร์มาทำเป็นกระเป๋าถือหรือของตกแต่งบ้านออกวางจำหน่าย

สำนักข่าวต่างประเทศเคยรายงานว่า เงินเดือนขั้นต่ำของชาวเวเนซุเอลาอยู่ที่ประมาณ 5.5 ดอลลาร์ หรือ 165 บาท แทบจะซื้ออะไรเลี้ยงชีพไม่ได้เลย

นักเศรษฐศาสตร์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เคยเตือนว่า อัตราเงินเฟ้อในเวเนซุเอลาอาจพุ่งแตะระดับ 1,000,000% ในปีนี้

ความล่มสลายทางเศรษฐกิจในเวเนซุเอลาภายใต้การบริหารของประธานาธิบดีนิโคลัส มาดูโร สร้างความลำบากให้กับประชาชนในขั้นเลวร้าย

ตั้งแต่ปี 2015 มีชาวเวเนซุเอลาต้องลี้ภัยกว่า 4.3 ล้านคน โดยจำนวน 1.4 ล้านคนหนีเข้ามาในโคลอมเบีย เฉลี่ย 5,000 คนต่อวัน พวกเขาเหล่านี้ขาดแคลนอาหาร น้ำสะอาด ยารักษาโรค ไร้ซึ่งความปลอดภัย ถูกคุกคามทางเพศ ค้ามนุษย์ ลักพาตัว หรือกระทั่งฆ่า

UNHCR ระบุว่า วิกฤตเวเนซุเอลาถือเป็นวิกฤตด้านผู้ลี้ภัยของโลกที่ร้ายแรงที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตซีเรีย และรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของลาตินอเมริกา

ความน่าสนใจของวิกฤตครั้งนี้คือ ผู้ลี้ภัยประมาณ 60% เป็นคนทำงานปกติ มีอาชีพการงานเหมือนคนทั่วไป หลายคนเป็นพนักงานบริษัท พนักงานหน่วยงานภาครัฐ หรือกระทั่งเป็นเจ้าของกิจการ แต่ชีวิตกลับพลิกผันกลายเป็นคนตกงานในพริบตา

Gustavo Pino ศิลปินชาวเวเนซุเอลากล่าวกับ THE STANDARD ว่า เขาอยากตั้งรกรากที่โคลอมเบีย สอนศิลปะและขายผลงานเพื่อเก็บเงินพาครอบครัวย้ายตามมาที่นี่ เมื่อถามว่าอยากกลับไปใช้ชีวิตที่บ้านเกิดไหม เขาตอบว่า แม้ว่าเขาจะฝันอยากเห็นเวเนซุเอลากลับมาเป็นเหมือนเดิม แต่ตนไม่อยากกลับไปอีกแล้ว เพราะที่นั่นหาเงินยาก ไม่มีงานให้ทำ และต่อให้หาได้ก็ไม่มีทางเพียงพอกับชีวิต

“ผมไม่ได้พูดเล่น เงินโบลิวาร์มันหมดมูลค่าไปแล้วครับ” Gustavo Pino กล่าว