โคลอมเบียยืนยันจัดนัดชิงโคปา 2020

สมาคมฟุตบอลโคลอมเบีย (FCF) แถลงการณ์ยืนยันว่า รอบชิงชนะเลิศของการแข่งขันฟุตบอลโคปา อเมริกา 2020 ที่โคลอมเบียและอาร์เจนตินาเป็นเจ้าภาพร่วม จะจัดขึ้นที่ประเทศโคลอมเบีย

ศึกโคปา อเมริกา 2020 จะเป็นครั้งแรกที่มีเจ้าภาพร่วมกันสองประเทศ ซึ่งก่อนหน้านี้ยังมีคำถามว่าประเทศใดจะรับหน้าที่จัดนัดชิงชนะเลิศ ก่อนล่าสุด โคลอมเบีย จะเป็นฝ่ายรับจัดนัดชิงจ้าวลูกหนังอเมริกาใต้ปีดังกล่าวไป

โดย FCF แถลงว่า “คณะกรรมการบริหารของสมาคมฟุตบอลโคลอมเบียมีความภูมิใจและยินดีจะประกาศให้ทราบว่า นัดชิงชนะเลิศของศึก โคปา อเมริกา 2020 จะจัดขึ้นในประเทศของเรา” 

“สำหรับโคลอมเบีย มันคือความพิเศษมากที่ได้รับเลือกให้เป็นสถานที่จัดเกมที่สำคัญที่สุดของทวีปอเมริกาใต้”

“เราจะรับหน้าที่นี้ด้วยความยินดีและด้วยความมุ่งมั่น เราเชื่อมั่นว่าการร่วมมือกับอาร์เจนตินา จะช่วยทำให้เกิด โคปา อเมริกา ที่สวยงามขึ้น”

สำหรับ โคปา 2020 จะแบ่งทีมแข่งขันในรอบแรกในสองประเทศคือ ในประเทศโคลอมเบียประกอบไปด้วย โคลอมเบีย, บราซิล, เวเนซุเอล่า, เอกวาดอร์, เปรู และทีมรับเชิญ, ในประเทศอาร์เจนตินาประกอบไปด้วย อาร์เจนตินา, ปารากวัย, อุรุกวัย, โบลิเวีย, ชิลี และทีมรับเชิญ

การท่องเที่ยวและกีฬาของไทยกับโคลอมเบีย

การท่องเที่ยวและกีฬาของไทยกับโคลอมเบีย เป็นส่วนสำคัญอีกอย่างในการขับเคลื่อนทั้ง 2 ประเทศ ทั้งรายได้เข้าออกประเทศและยังเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ที่ดีอีกด้วย

Image result for ไทยและโคลอมเบีย

การท่องเที่ยว

ไทยและโคลอมเบียมีบันทึกความเข้าใจด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระหว่างกัน ซึ่งลงนาม ระหว่างการเยือนโคลอมเบียของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๘

ในปี ๒๕๕๘ มีชาวโคลอมเบียเดินทางเข้าประเทศไทยจำนวน ๙,๙๙๙ คน ขณะที่มีคนไทยเดินทาง ไปโคลอมเบียจำนวน ๔๒๔ คน โดยส่วนใหญ่เป็นการเดินทางเพื่อไปทำธุรกิจ และมีคนไทยพำนัก อยู่ในโคลอมเบีย ๑๐ คน (สถิติจากฝ่ายโคลอมเบีย)

Related image

วัฒนธรรมและกีฬา

มวยไทยเริ่มเป็นที่นิยมแพร่หลายในโคลอมเบีย และมีชาวโคลอมเบียเดินทางมาฝึกหัดมวยไทย ที่ประเทศไทยด้วย ทั้งนี้ ล่าสุดโรงเรียนสอนฝึกหัดมวยไทยโบราณรามเกียรติ์ในโคลอมเบียได้จัดสัมมนา การไหว้ครูมวยไทยภาคทฤษฎีและปฏิบัติให้กับนักเรียนและสมาชิก International Muay Thai Academy ซึ่งมีการสอนเทคนิคพื้นฐานและเคล็ดลับการชกมวยโบราณคาดเชือกด้วย

ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจไทยกับโคลอมเบีย

ไทยและโคลอมเบียมีมูลค่าการค้ารวม 294.26 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยปี พ.ศ.2556 ไทยได้ดุลการค้า 205.01 ล้านดอลลาร์สหรัฐมูลค่าการส่งออกของไทยไปโคลอมเบีย 249.63 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สินค้าส่งออกของไทยไปโคลอมเบีย

  1. รถยนต์
  2. อุปกรณ์และส่วนประกอบ
  3. ผลิตภัณฑ์จากยาง
  4. เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ
  5. ตัวจุดไฟและลูกสูบ
  6. จักรยานยนต์
  7. อุปกรณ์และส่วนประกอบเม็ดพลาสติก
  8. ไหม พรม เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศ ผ้าผืน
    เคมีภัณฑ์ ฯลฯ

สินค้านำเข้าของไทยจากโคลอมเบีย

  1. สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์
  2. สารเคมี
  3. เหล็กและเหล็กกล้า
  4. อัญมณี เงินและทองคำแท่ง
  5. ผ้า
  6. เวชภัณฑ์และเภสัชภัณฑ์
  7. ผลิตภัณฑ์พลาสติก
  8. สินแร่โลหะ เศษโลหะ
  9. กาแฟชาและเครื่องเทศ
  10. ปุ๋ยและยาฆ่าแมลง
  11. สบู่ ผงซักฟอกและเครื่องสำอาง
  12. ผักและผลไม้
  13. เครื่องจักรกล
  14. เครื่องจักรไฟฟ้า
  15. กระดาษและผลิตภัณฑ์จากกระดาษ ฯลฯ

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐโคลอมเบีย

ไทยกับโคลอมเบียได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2522 แม้ไม่ได้เปิดสถานทูตในโคลัมเบีย แต่ได้ให้เอกอัครราชทูต ณ กรุงบราซิเลีย มีอาณาเขตดูแลโคลอมเบียด้วย

โคลอมเบียเคยเปิดสถานเอกอัครราชทูตในไทยเมื่อปี 2535 แต่ได้ปิดลงตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2542เนื่องจากเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจและได้แต่งตั้งให้เอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์เป็นเอกอัครราชทูตประจำ ประเทศไทยอีกตำแหน่งหนึ่ง

แม้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับโคลอมเบียถือว่ายังมีค่อนข้างน้อยและจำกัด แต่อย่างไรก็ดีนาย CamiloReyes Rodriguez รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศโคลอมเบียได้เดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการ
ระหว่างวันที่ 19-21 พฤษภาคม 2547 ซึ่งนาย Reyes ได้แสดงความสนใจเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหายาเสพติดและการยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน โดยเฉพาะในเรื่องโครงการปลูกพืชทดแทนยาเสพติด และ
โครงการพัฒนาทางเลือกตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

นอกจากนี้โคลอมเบียได้ให้การสนับสนุนประเทศไทยในเวทีความร่วมมือระหว่างเอเชียตะวันออกและลาตินอเมริกา (Forum for East Asia and Latin American Cooperation –FEALAC) โดยได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมใน
โครงการความร่วมมือภายใต้กรอบดังกล่าวของไทย ได้แก่การประชุมเชิงปฏิบัติการด้านยาเสพติด ระหว่างวันที่ 17-28 มกราคม 2548 และโครงการฝึกอบรมด้าน Poverty Reduction ระหว่างวันที่ 4-29 กรกฎาคม 2548

คำแนะนำก่อนการเดินทางไปโคลอมเบีย

Image result for ประเทศโคลอมเบีย

ก่อนการเดินทาง

ผู้ที่จะเดินทางไปโคลอมเบียต้องมีหนังสือเดินทางที่ยังมีอายุเกิน 6 เดือน และต้องฉีดวัคซีนป้องกันไข้เหลือง ก่อนการเดินทางอย่างน้อย 10 วัน ควรเตรียมยารักษาโรคและยาประจาตัวไปให้เพียงพอถ้าเป็นไปได้ควรมีใบรับรองแพทย์หรือใบสั่งยาชนิดที่นาไปด้วย ผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและราชการสามารถเดินทางเข้าสาธารณรัฐโคลอมเบียโดยไม่ต้องขอวีซ่า และพานักได้ไม่เกิน 90 วัน เนื่องจากไทยมีความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราสาหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและราชการกับสาธารณรัฐโคลอมเบียสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาจะต้องขอวีซ่าจากสถานเอกอัครราชทูตโคลอมเบียประจาประเทศไทยหมายเลขโทรศัพท์+66 21688715-17

การเข้าเมือง

หลังจากผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง ให้เก็บรักษาเอกสารการตรวจคนเข้าเมืองที่ได้รับจากเจ้าหน้าที่ให้ดี เพราะจาเป็นต้องใช้เมื่อเดินทางออกจากประเทศและหากคืนเอกสารจะสามารถลดค่าภาษี (departure tax) ได้

เมื่อเดินทางถึงโคลอมเบีย

สนามบินนานาชาติเอลโดราโด ณ กรุงโบโกตา (Aeropuerto El Dorado หรือ El Dorado International Airport) เป็นสนามบินที่อยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางตะวันตกเฉียงเหนือเป็นเวลา 20 นาที หากเดินทางโดยแท็กซี่ ควรเตรียมเงิน 1 – 2 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ติดตัวไว้ ในกรณีต้องการใช้รถเข็นในสนามบิน

ภาษา

คนท้องถิ่นใช้ภาษาสเปนในการสื่อสาร คนส่วนใหญ่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ดังนั้นการศึกษาภาษาสเปนพื้นฐานก่อนการเดินทางจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

ความปลอดภัย

โดยทั่วไปแล้ว โคลอมเบียเป็นประเทศที่มีความปลอดภัยสาหรับนักท่องเที่ยว การเดินทางทางรถยนต์ผ่านเมืองต่างๆ มีความปลอดภัย โดยเฉพาะเมืองท่องเที่ยวใหญ่ๆ เช่น โบโกตา เมเดยิน การ์ตาเฆนา ซานตา มาร์ตา อย่างไรก็ตาม นักท่องเที่ยวควรเดินทางโดยมีมัคคุเทศก์หรือผู้นาท่องเที่ยวท้องถิ่น ซึ่งนอกจากจะสามารถแนะนาสถานที่ท่องเที่ยวที่ปลอดภัยได้ดีแล้ว ยังช่วยไม่ให้หลงทาง เพราะภูมิประเทศของโคลอมเบียมีความสลับซับซ้อน อาจหลงทางได้ง่าย การเดินทางระยะไกลด้วยรถบัสควรระมัดระวังมากเป็นพิเศษ เนื่องจากที่ท่ารถ (Terminal de Transportes) เป็นท่ารถขนาดใหญ่ มีคนจานวนมากทาให้อาจมีมิจฉาชีพ เช่น นักล้วงกระเป๋าและโจรวิ่งราวแฝงตัวอยู่ การเดินทางด้วยแท็กซี่ควรเรียกรถผ่านการโทรศัพท์ ซึ่งทางบริษัทจะบอกหมายเลขรถให้ทราบก่อน และเมื่อรถมารับ คนขับจะถามหมายเลขสองหลักสุดท้ายของเบอร์โทรศัพท์ที่ใช้โทรเรียก เนื่องจากมีมิจฉาชีพจานวนไม่น้อยที่ปลอมเป็นคนขับแท็กซี่ เพื่อปล้นผู้โดยสาร

ภัยธรรมชาติ

บริเวณที่ราบสูงมีการระเบิดของภูเขาไฟ บางครั้งเกิดแผ่นดินไหวและดินถล่ม มีฤดูแล้งเป็นช่วงๆ ฤดูกาลเปลี่ยนแปลงเนื่องจากได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญและลานีญา

สกุลเงิน/การชำระเงิน

โคลอมเบียใช้สกุลเงินเปโซโคลอมเบีย (Colombian Peso; COP) อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ (USD) เท่ากับ อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ (USD) เท่ากับ 1,905.96 เปโซโคลอมเบีย (COP) (อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 30 พ.ค. พ.ศ. 2557 จากเว็บไซต์ธนาคารกลางแห่งโคลอมเบีย Banco Central de Colombia) เทียบเป็นเงินไทยคือ 1 บาท ประมาณ 61 เปโซโคลอมเบีย
การจ่ายเงินควรใช้บัตรเครติดบัตรเดบิตและเงินสดทั้งในสกุลท้องถิ่นและเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ มากกว่าใช้เช็คของนักท่องเที่ยว (Traveler’s Cheque) เนื่องจากเช็คของนักท่องเที่ยวไม่ค่อยได้รับความนิยมแพร่หลายนัก อาจประสบปัญหาได้ การเบิกเงินที่ตู้กดเงินสดอัตโนมัติ (ATM) ด้วยบัตรเดบิตจะมีค่าธรรมเนียมต่าที่สุด บัตรที่เป็นที่ยอมรับมากที่สุดคือ Visa และรองลงมาคือ Master Card อย่างไรก็ดี ไม่ควรพกเงินสดติดตัวในปริมาณมากๆ
 

การแลกเงิน

Bancolombia และ Banco Unión Colombiano เป็นธนาคารหลัก 2 แห่งสาหรับการแลกเปลี่ยนเงินและการทาธุรกรรมทางการเงินและยังสามารถแลกเงินได้ตามสถานที่รับแลกเงิน (casas de cambio) ทั่วไปตามโรงแรมที่พัก หรือที่สนามบิน ห้ามแลกเงินข้างทางโดดเด็ดขาดเนื่องจากเป็นไปได้มากที่จะได้รับธนบัตรปลอมและเสี่ยงต่อการถูกชิงทรัพย์

การใช้โทรศัพท์ 

การโทรศัพท์จากโคลอมเบียมาประเทศไทย

กด 001 (หมายเลขโทรทางไกล) – 66 – รหัสพื้นที่ (กรุงเทพฯ กด 2 )– หมายเลขโทรศัพท์บ้านและ 001 – 66 – หมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ 9 หลัก

การโทรศัพท์จากประเทศไทยไปโคลอมเบีย
กด 001 (หมายเลขโทรทางไกล) -57 – รหัสพื้นที่ – หมายเลขโทรศัพท์การใช้โทรศัพท์       เคลื่อนที่ของไทยในโคลอมเบีย
กระแสไฟฟ้า 110V 60Hz

เศรษฐกิจของโคลอมเบีย

เศรษฐกิจของโคลอมเบีย มีอัตราการเจริญเติบโตในอัตราสูงสุดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นโยบายเศรษฐกิจหลัก ได้แก่ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การเร่งการสร้างงาน การสนับสนุนการค้าเสรี และการลดอุปสรรคทางการค้า
แต่ยังคงมีการอุดหนุนภาคเกษตรกรรมและธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม นโยบายดังกล่าวสามารถลดอัตราการว่างงานลงได้และทำให้โคลอมเบียมีเศรษฐกิจค่อนข้างดีเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เอกวาดอร์และเปรู

รัฐบาลมุ่งเน้นการส่งเสริมความเท่าเทียมด้านเศรษฐกิจให้แก่ประชาชนโคลอมเบียและเพิ่มประสิทธิภาพของการบริการสาธารณะ ตลอดจนส่งเสริมให้โคลอมเบียเป็นแหล่งการศึกษาและความรู้ด้านวิทยาศาสตร์

สหรัฐฯ เป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญต่อการค้าและการลงทุนของโคลอมเบีย สหรัฐฯ และโคลอมเบียเห็นชอบที่เรื่องการสร้างความเป็นเอกภาพในทวีปอเมริกา (Unity of the Americas) แสดงความมุ่งมั่นที่จะร่วมมือในด้านการต่อต้านการก่อการร้าย นอกจากนี้ สหรัฐฯ จะให้ความช่วยเหลือในการส่งเสริมภาคเกษตรและผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมของโคลอมเบีย และผลักดั นให้มีการลงทุนเพิ่มเติมจากสหรัฐฯ ในภาคอุตสาหกรรมน้ำมันและพลังงานด้วย

ประเทศไทยส่งออกไปโคลอมเบีย

(1) ผลิตภัณฑ์ยาง
(2) รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ
(3) ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์
(4) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล
(5) เครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ
(6) เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ
(7) รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ
(8) เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ
(9) เม็ดพลาสติก
(10) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ

ประเทศไทยนำเข้าจากโคลอมเบีย

(1) น้ำมันดิบ
(2) เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ
(3) ถ่านหิน
(4) สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์
(5) เคมีภัณฑ์
(6) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์

สันติภาพโคลอมเบีย

บทความ “สันติภาพคือการพัฒนาที่ยั่งยืนของสาธารณรัฐโคลอมเบีย” จาก ฯพณฯ นายอันเดลโฟ การ์เซีย เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐโคลอมเบียประจำประเทศไทย

หลังใช้เวลากว่า 50 ปี รัฐบาลสาธารณรัฐโคลอมเบีย ภายใต้การนำของประธานาธิบดีฮวน มานูเอล ซานโตส ประสบความสำเร็จในการเจรจาสันติภาพกับกองกำลังการปฏิวัติแห่งสาธารณรัฐโคลอมเบีย นำไปสู่การลงนามข้อตกลงวางอาวุธเมื่อ 23 มิ.ย.2559 ที่กรุงฮาวานา คิวบา ด้วยการสนับสนุนจากองค์กรนานาชาติต่างๆ

ถึงแม้จะมีความพยายามของรัฐบาลโคลอมเบียมาหลายทศวรรษในการเจรจาสันติภาพกับกองกำลังการปฏิวัติฯ แต่ด้วยความมุ่งมั่นของประธานาธิบดีซานโตสทำให้กระบวนการเจรจาสันติภาพครั้งล่าสุดที่เริ่มต้นในปี 2555 ซึ่งประสบความท้าทายและอุปสรรคมากมาย มีการเจรจากันกว่า 50 รอบ สามารถบรรลุข้อตกลงร่วมกันได้ใน 6 ประเด็นหลัก คือ การปฏิรูปที่ดิน การเปิดโอกาสให้ฝ่ายกองกำลังการปฏิวัติฯเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองในระบบ การขจัดปัญหาลักลอบค้ายาเสพติดและปลูกพืชผิดกฎหมาย การแสวงหาความยุติธรรมให้ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อความรุนแรง การวางอาวุธและการดำเนินการเพื่อให้ขั้นตอนต่างๆได้เริ่มปฏิบัติใช้อย่างเป็นรูปธรรมโดยได้รับการยอมรับจากประชาชน ซึ่งรัฐบาลโดยความเห็นชอบของศาลรัฐธรรมนูญจะเปิดให้มีการทำประชามติทั่วประเทศในอีกไม่กี่สัปดาห์เพื่อให้ความเห็นชอบข้อตกลงสันติภาพนี้

สำหรับโคลอมเบีย สันติภาพคือสิ่งการันตีการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ ประมาณว่าผลรวมรายได้ประชาชาติของประเทศจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าทุก 9 ปีเมื่อมีการบรรลุข้อตกลงสันติภาพ ขณะที่รายได้ประชาชาติต่อหัวเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบัน 6,800 ดอลลาร์สหรัฐฯ เป็น 12,000 ดอลลาร์สหรัฐฯภายในสิบปี ยอดเงินลงทุนจากต่างประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 36 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯในอีกไม่นาน เมื่อเทียบกับยอดเงินลงทุน 12 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปี 2558 ปัจจุบันโคลอมเบียเป็น 1 ใน 20 ประเทศที่มียอดเงินลงทุนจากต่างประเทศสูงสุดในโลก

การบรรลุในข้อตกลงสันติภาพครั้งนี้ยังส่งผลให้โคลอมเบียซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพลำดับต้นๆ ของโลกสามารถลดผลกระทบของความรุนแรงที่มีต่อสภาพแวดล้อมซึ่งมีการประมาณการเป็นตัวเลขไว้ที่ 2.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อปี รัฐบาลไม่ต้องเสียงบประมาณในการฟื้นฟูธรรมชาติที่เกิดจากการบุกรุกป่าของฝ่ายกองกำลังการปฏิวัติฯเพื่อเพาะปลูกพืชเสพติด ลดค่าใช้จ่ายการรักษาผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษปรอทจากการลักลอบทำเหมืองแร่ผิดกฎหมาย ลดความสูญเสียต่อระบบนิเวศเมื่อกองกำลังการปฏิวัติฯลอบวางระเบิดท่อส่งน้ำมัน สันติภาพสามารถคืนธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ เพิ่มคุณภาพชีวิตให้ชาวโคลอมเบีย ส่งเสริมโอกาสให้กับนักลงทุนทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

สงครามและความรุนแรงได้สิ้นสุดลงแล้ว สันติภาพหาได้เป็นความฝันอีกต่อไป สาธารณรัฐโคลอมเบียได้แปรเปลี่ยนจากดินแดนแห่งการรบราฆ่าฟันกลายเป็นดินแดนแห่งความหวัง ดินแดนแห่งสันติสุข ที่เปิดกว้างพร้อมรับประชาคมโลกในทุกมิติ.

10 อาหารแบบดั้งเดิมในโคลอมเบีย

ในขณะที่โคลอมเบียอาจไม่เป็นที่รู้จักกันดีทั่วโลกสำหรับอาหารของประเทศ แต่ประเทศนี้มีอาหารแบบดั้งเดิมที่แสนอร่อย ในแต่ละภูมิภาคของประเทศโคลอมเบียมีอาหารประจำท้องถิ่นและอาหารประจำชาติของแต่ละประเทศ ด้านล่างมีจานโคลัมเบีย 10 แบบจากภูมิภาคต่างๆทั่วประเทศ

Image result for Bandeja Paisa

Bandeja Paisa

Bandeja Paisa เป็นอาหารแบบดั้งเดิมจากภูมิภาค Paisa ของโคลอมเบียซึ่งรวมถึงเมือง Medellin, Santa Fe de Antioquia, Guatape และ Jardin ในความเป็นจริงมันเป็นที่รักดีได้รับการรับรองเป็นจานชาติของโคลอมเบีย อาหารที่อุดมไปด้วยนี้มักประกอบด้วยข้าวขาวถั่วแดงถั่วลิสงหรือเนื้อสับละเอียดถั่วลิสงไส้กรอก chorizo ​​ข้าวโพดหมูแคร็กทอดไข่และอโวคาโด ส่วนผสมสามารถแตกต่างกันระหว่างเมืองและร้านอาหารด้วยส่วนผสมบางอย่างที่เพิ่มหรือนำออกไป ขนาดของชิ้นส่วนอาจแตกต่างกันระหว่างมื้ออาหารเต็มและครึ่งหรือหนึ่งในสี่ของขนาดจานแบบดั้งเดิม

Image result for Lechona

Lechona

Lechona เป็นส่วนผสมของ chickpeas เนื้อหมูเครื่องเทศและบางครั้งข้าว (ขึ้นอยู่กับพื้นที่) ซึ่งมักจะเสิร์ฟกับ arepa ตามเนื้อผ้าส่วนผสมของส่วนผสมนี้จะสุกช้าๆนานถึง 10 ชั่วโมงภายในเนื้อหมูทั้งตัวซึ่งจะผสมผสานรสชาติทั้งหมดเข้าด้วยกันและสร้างแผ่นเสียงแสนอร่อย ในขณะที่ Lechona สามารถพบได้ในร้านอาหารทั่วโคลัมเบียมันมาจากภูมิภาค Tolima ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของBogotáและมีเมืองใหญ่ของIbaguéและ Espinal

Image result for Ajiaco

Ajiaco

มีพื้นเพมาจากเทือกเขาBogotáและเทือกเขาแอนดีสแห่งโคลอมเบีย แต่พบเมื่อเร็ว ๆ นี้ทั่วประเทศนี้ซุปแบบดั้งเดิมเหมาะสำหรับสถานที่ที่มีอากาศหนาวเย็น จานนี้เป็นซุปขาวที่ทำจากไก่มีมันฝรั่งข้าวโพดเปรี้ยวและมันฝรั่งสองหรือสามชนิดและมักเสริฟกับข้าวขาวและอะโวคาโด

Image result for Sancocho

Sancocho

Sancocho มาจากอาหารสเปนแบบดั้งเดิมและเป็นที่นิยมทั่วทั้งอเมริกาใต้และแต่ละประเทศมีเอกลักษณ์เฉพาะที่ใช้ในจาน โคลัมเบียไม่แตกต่างกัน: จานโคลอมเบียแตกต่างกันไประหว่างปลาบนชายฝั่งและเนื้อสัตว์ที่แตกต่างกันในภูมิภาคอื่น ๆ มันมักจะประกอบด้วย yuca, ข้าวโพดมันฝรั่งและต้นแปลนทินและมักจะเสิร์ฟพร้อมกับข้าวขาว จานนี้มาจากภูมิภาค Valle de Cauca ที่มีเมือง Cali, Buenaventura และ Tulua

Image result for Changua

Changua

ซุปเช้านี้มาจากเทือกเขาแอนดีสและในพื้นที่ที่เป็นภูเขาที่เย็นกว่านี้น้ำซุปนี้ให้ความคิดเริ่มต้นวันนี้ ซุปนมที่ทำขึ้นด้วยน้ำนมไข่หัวหอมและผักชีและมักเสิร์ฟพร้อมกับขนมปังและช็อกโกแลตร้อน

Image result for Arepas

Arepas

Arepas เป็นอาหารแบบดั้งเดิมที่พบมากที่สุดในโคลอมเบียและทำหน้าที่เป็นอาหารเสริมหรือเป็นอาหารในตัวเอง Arepas มีให้บริการทั่วอเมริกากลางและอเมริกาใต้ แต่โคลอมเบียมีรูปแบบดั้งเดิมของตัวเอง Arepas สามารถมาในหลายพันธุ์รวมทั้ง arepas de choco (ทำจากข้าวโพดหวานและเต็มไปด้วยชีส), arepas con queso (เต็มไปด้วยชีส) และ arepas de huevo (a arepa ซึ่งทอดกับไข่ภายในแตก แล้ว refried) แต่ละภูมิภาคในโคลอมเบียมีวิธีการดั้งเดิมในการกินและทำเป็น arepas

Image result for Fritanga

Fritanga

จานนี้สามารถพบได้ในหลากหลายรูปแบบทั่วทั้งโคลัมเบียและแต่ละชิ้นมีส่วนผสมที่แตกต่างกันเล็กน้อยขึ้นอยู่กับภูมิภาคหรือร้านอาหาร จานนี้มีเนื้อหมูมากมาย (เนื้อไก่เนื้อหมูไส้กรอกไส้กรอก chorizo) และมักจะเสริฟกับมันฝรั่ง arepas, plantain และข้าวโพดต่างชนิดกัน จานนี้ถูกออกแบบมาให้ใช้ร่วมกันระหว่างครอบครัวหรือเพื่อนฝูงซึ่งแต่ละคนมีส้อมหรือค๊อกเทลติดกับจานนี้

Image result for Hormigas Culonas

Hormigas Culonas

นี่เป็นอาหารอันโอชะจากภูมิภาค Santander ของโคลัมเบียซึ่งเป็นพื้นที่ทางตอนเหนือของBogotáซึ่งเป็นที่ตั้งของเมือง Bucaramanga, Barichara, San Gil และ Floridablanca Hormigas Culonas เป็นกลุ่มมดขนาดใหญ่ที่กินใบขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งที่พบในภูมิภาคนี้และมีการกินเพื่อเป็นอาหาร มดเหล่านี้สามารถเสิร์ฟทอดหรือคั่วในเกลือและบดหรือเก็บทั้ง

Image result for Tamales

Tamales

Tamales สามารถพบได้ทั่วทั้งภาคกลางและภาคใต้ของอเมริกามีหลากหลายรูปแบบด้วยส่วนผสมที่หลากหลาย ชาวโคลัมเบียมักรับประทาน Tamale กับเนื้อผักผลไม้หรือชีสและอาหารอันโอชะที่ทำจากข้าวโพดนี้จะเสิร์ฟพร้อมกับห่อด้วยใบไม้ต้นแปลนทิน Tamales สามารถพบได้ทั่วโคลอมเบียในซูเปอร์มาร์เก็ตหรือร้านอาหาร

Image result for Rondón

Rondón

จานที่ได้รับอิทธิพลจากแอฟริกา – แคริบเบียนนี้มักพบในหมู่เกาะแคริบเบียนของซานอันโตนิโอและ Providencia ของโคลัมเบีย จานซุปนี้ทำมาจากเนื้อปลาหรืออาหารทะเลอื่น ๆ หอยทากมันเทศมันฝรั่ง yuca และธัญพืชที่อบในกะทิและพริกไทย จานนี้มักจะเสิร์ฟพร้อมกับข้าวมะพร้าวและพุดดิ้งทอด

 

แหล่งผลิตกาแฟภูมิทัศน์วัฒนธรรมแห่งโคลอมเบีย

ที่นี่เป็นตัวอย่างของภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมของโคลัมเบีย สะท้อนให้เห็นถึงธรรมเนียมการปลูกกาแฟที่มีมากว่า 100 ปีในพื้นที่เล็กๆ ในป่าสูงและการที่ชาวนาได้ปรับวิถีการเพาะปลูกในสภาพภูเขาอันยากลำบาก โดยประกอบด้วยไร่กาแฟ 6 แห่ง รวมไปถึงศูนย์กลางเมืองบนเชิงเขา 6 เมือง ทางทิศตะวันตกและตอนกลางของเทือกเขาคอร์ดิลเรลร่า เดอ ลอส แอนดิส ทางทิศตะวันตกของประเทศ

โคลอมเบียรู้ว่าการตลาดมีค่าแค่ไหนและเริ่มสร้างแบรนด์ของตัวเองค่อนข้างไว โดยการสร้างตัวละครชื่อ Juan Valdez เกษตรที่เป็นตัวแทนของกาแฟโคลอมเบียในปี 1958 อาจเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเลยก็เป็นได้ โดย Juan Valdez กับลาของเขาเป็นสัญลักษณ์ของกาแฟ โคคลอมเบียที่สามารถพบได้บนถุงกาแฟและในโฆษณาที่แสดงโดยนักแสดงสามคนตลอดหลายปีที่ผ่านมา โดย Juan Valdez กลายเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาและช่วยเพิ่มมูลค่าให้แก่กาแฟโคลอมเบีย ตัวละครนี้ต่อยอดความสำเร็จของวลีทางการตลาดที่ประสบความสำเร็จ เช่น ‘กาแฟจากขุนเขา’ (Mountain Grown Coffee) และการส่งเสริม ‘กาแฟโคลอมเบีย 100%’ ซึ่งทำให้โคลอมเบียสามารถสร้างความแตกต่างให้กับตัวเองได้ในสายตาของผู้บริโภคทั่วโลกการตลาดนี้เป็นผลงานของ Federacion Nacional de Cafeteros (FNC) ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1927 และเป็นองค์กรในประเทศอื่นที่ทำงานทางด้านการส่งออกและการส่งเสริมกาแฟ แต่ก็ไม่มีองค์กรไหนที่จะใหญ่และซับซ้อนเท่า FNC โดยมันก่อตั้งเป็นองค์กรเอกชลไม่แสวงผลกำไรเพื่อปกป้องผู้ผลิตกาแฟและได้รับเงินทุนมาจากภาษีส่งออกกาแฟพิเศษ เนื่องจากโคลอมเบียเป็นหนึ่งในประเทศผู้ผลิตกาแฟรายใหญ่ขององค์กร FNC จึงมีเงินทุนมากมายจนเติบโตเป็นองค์กรขนาดใหญ่และกลายเป็นองค์กรที่ใช้ระบบเจ้าขุนมูลนาย ซึ่งมันอาจเลี่ยงไม่ได้ที่จะใช้ระบบนี้เพราะทางเทคนิคแล้วตอนนี้ FNC ถูกครอบครองและควบคุมโดยสมาชิกผู้ผลิตกาแฟที่มีกว่า 500,000 คน ในขณะที่ FNC มีบทบาทด้านการตลาดการผลิต และการเงิน แต่มันก็ยังมีบทบาทครอบคลุมไปถึงชุมชนกาแฟมีส่วนในการสร้างพื้นฐานทางสังคม และโครงสร้างพื้นฐานทั้งถนนชุมชน โรงเรียน และศูนย์สุขภาพ มันยังลงทุนในอุตสาหกรรมอื่นนอกเหนือจากกาแฟ เพื่อช่วยส่งเสริมการพัฒนาและคุณภาพชีวิตในภูมิภาคด้วย

เทศกาลดอกไม้สุดยิ่งใหญ่ที่เมืองเมเดยิน ประเทศโคลอมเบีย

Medellín Flower Festival หรือ The Flower Festival (ภาษาสเปน Feria de las Floresเทศกาลดอกไม้เมเดยิน เป็นงานที่มีความสำคัญที่สุดและยิ่งใหญ่ที่สุดของเมืองเมเดยินที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยครั้งแรก จัดขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ.1957 หรือเกือบ 60 ปีมาแล้ว ปีต่อมาเปลี่ยนวันจัดงานเป็นเดือนสิงหาคมนับแต่นั้นเป็นต้นมา และเพิ่มกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การประกวดไม้ดอกไม้ประดับ, คอนเสิร์ต, International Pageant of the Flowers, พาเหรดรถยนต์คลาสสิก และ ขบวนเต้นรำ เป็นต้น

ปัจจุบัน งานมักจัดขึ้นช่วงปลายเดือนกรกฎาคมหรือต้นเดือนสิงหาคม แต่ละครั้งจัดงานประมาณ 5-7 วัน เป็นที่รู้กันของนักท่องเที่ยวชาวโคลอมเบียและต่างชาติว่าช่วงสัปดาห์แรกของเดือนสิงหาคมของทุกปีต้องเดินทางไปร่วมงานสุดยิ่งใหญ่ของเมืองเมเดยินให้ได้ ซึ่งแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวหลั่งไหลมาร่วมงานนี้หลายแสนคน

สำหรับปีนี้จะจัดขึ้นวันที่ 29 กรกฎาคม-7 สิงหาคม โดยภายในเมืองจะมีการประดับประดาและตกแต่งสถานที่สำคัญด้วยดอกไม้หลากชนิดหลายสีสัน ชมขบวนพาเหรดสวยงามตระการตาของดอกไม้นานาชนิด

ไฮไลท์ของงาน คือ ขบวนพาเหรดของบรรดา “ซิเยสเตรอส” (Silleteros) ในอดีตพวกเขาคือคนที่แบกเก้าอี้ไม้หรืออานม้าไว้บนหลังเพื่อใช้บรรทุกส่งคนหรือสิ่งของต่าง ๆ ปัจจุบันหมายถึง คนขายดอกไม้หรือเจ้าของฟาร์มดอกไม้ซึ่งบรรทุกดอกไม้ไว้บนหลังแล้วเข้ามาขายในตลาดหรือตามจัตุรัสในเมืองเมเดยิน ในขบวนพาเหรดที่พวกเขาจะแบกกระบะดอกไม้ซึ่งได้รับการออกแบบและจัดแต่งมาอย่างงดงามด้วยดอกไม้กว่า 20 ชนิด กระบะดอกไม้ที่พวกเขาแบกไว้อาจมีน้ำหนักสูงถึง 70 กิโลกรัมและมีความสูงถึง 5 เมตร แต่ละปีจะมี “ซิเยสเตรอส” ร่วมขบวนพาเหรดกว่า 500 คน

เมืองเมเดยิน (Medellin) เป็นเมืองหลวงของจังหวัดอันเตียวเกีย (Antioquia) เมืองใหญ่อันดับสองของประเทศโคลอมเบีย ได้รับสมญาว่า “City of Eternal Spring” เนื่องจากอากาศดี เย็นสบายตลอดปีนั่นเอง และยังเป็นเมืองที่ส่งออกไม้ตัดดอกมากที่สุดของประเทศจนทำให้โคลอมเบียเป็นประเทศที่ส่งออกดอกไม้รายใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากประเทศฮอลแลนด์ นอกจากเทศกาลดอกไม้อันโด่งดังแล้วยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมากมาย