โคลอมเบียใช้กลยุทธ์แจกยาให้เสพ แก้ปัญหายาเสพติดระบาด ลดอาชญากรรม 

ประเทศโคลอมเบีย แก้ปัญหายาเสพติดในวิธีแปลกใหม่ โดยอนุญาตให้ประชาชนสามารถครอบครองยาเสพติดครอบครองยาเสพติดเช่นกัญชาและโคเคนเอาไว้เสพได้ แต่ห้ามมีไว้เพื่อจำหน่าย ซึ่งหลังจากนโยบายดังกล่าวเมืองโบโกตาซึ่งเป็นเมืองหลวงของโคลอมเบีย สงครามในประเทศลดลงอย่างเห็นได้ชัด

นอกจากนี้บางประเทศในยุโรปเช่น เดนมาร์ก นอร์เวย์ ใช้โครงการแจกยาเสพติด แจกยาเสพติดโดยรัฐบาลเป็นผู้เริ่มทำขึ้นด้วย ต้องมีการลงทะเบียนให้ผู้ที่อยากครอบครองยา แล้วค่อยๆลดจำนวนลง ซึ่งสามารถลดอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในสังคมได้ด้วย

Image result for โคลอมเบียใช้กลยุทธ์แจกยาให้เสพ

สหรัฐกังวลโคลอมเบียมีพื้นที่ปลูกต้นโคคา วัตถุดิบผลิตโคเคนสูงขึ้น

นอกจากที่นายไมค์ พอมเพโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ ได้พบหารือกับประธานาธิบดีอิบัน ดูเก ผู้นำโคลอมเบีย ในประเด็นการแก้ไขปัญหาวิกฤตในเวเนซุเอลานั้น อีกหนึ่งประเด็นที่มีการหารือกันคือเรื่องของการปลูกต้นโคคาในโคลอมเบีย ที่เป็นวัตถุดิบในการผลิตโคเคน

โดยสำนักข่าวบีบีซีรายงานว่า นายพอมเพโอ ระบุว่า มีความกังวลอย่างยิ่งสำหรับการเพิ่มขึ้นของผลิตผลจาก”ใบโคคา” ในโคลอมเบีย ซึ่งใบโคคานี้เป็นวัตถุดิบในการผลิตโคเคน

โดยในการหารือกันทั้งสองระบุว่า จะลดผลิตผลจากต้นโคคาลง 50 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี 2066

“สหรัฐเป็นกังวลอย่างมากกับการเพิ่มขึ้นของการปลูกต้นโคคา และผลิตผลจากต้นโคคาที่เพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ปี 2556 รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นของทั้งสองประเทศ เรารู้ว่าเราต้องลดความต้องการของในประเทศลง และเราต้องทำงานควบคู่กับโคลอมเบียไปด้วยกัน” รมว.ต่างประเทศสหรัฐระบุ

ด้านประธานาธิบดีโคลอมเบียนั้นได้กล่าวขอบคุณสหรัฐในการช่วยเหลือในการปราบปรามยาเสพติด

ซึ่งโคลอมเบียต่อสู้มานานหลายปีเพื่อจัดการกับการผลิตโคเคน โดยสหรัฐฯให้เงินประมาณ 400 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี เพื่อช่วยต่อสู้กับผู้ผลิตและผู้ค้า

ทั้งนี้เมื่อเดือนที่ผ่านมาประธานาธิบดีดูเกระบุว่า ในปี 2561 ได้กำจัดพื้นที่เพาะปลูกพืชผิดกฎหมายไปมากกว่า 800 ตารางกิโลเมตร และในปี 2562 รัฐบาลตั้งเป้าที่จะกำจัดอีก 1,000 ตารางกิโลเมตร

รายงานขององค์กรสหประชาชาติเปิดเผยเมื่อเร็วๆ นี้ ว่า จำนวนพื้นที่เพราะปลูกต้นโคคาในโคลอมเบียเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ โดยเมื่อปลายปี 2560 พื้นที่ปลูกต้นโคคาในโคลอมเบียได้เพิ่มขึ้น 1,710 ตารางกิโลเมตร มากกว่าปี 2559 17 เปอร์เซ็นต์

ทั้งนี้โคลอมเบียเป็นประเทศผู้ผลิตโคเคนรายใหญ่ที่สุดของโลก ขณะที่สหรัฐเป็นประเทศผู้บริโภครายใหญ่ที่สุดของโลก

โคลนถล่มโคลอมเบียเสียชีวิต 17 คน

เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น เปิดเผยรายละเอียดความเสียหายจากเหตุการณ์ดินโคลนถล่มเกิดขึ้นในเมืองโรซาส ของโคลอมเบีย ในช่วงเช้าของวานนี้ (21เม.ย.) ว่า มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 17 คน บาดเจ็บ 5 คน และอีก 13 คน สูญหาย

จากรายงานสำนักงานจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติแห่งชาติโคลอมเบีย ระบุ เหตุดินถล่มทำให้บ้านเรือนพังเสียหายอย่างน้อย 8 หลังถูกฝั่งอยู่ภายใต้กองโคลน นอกจากนี้ เศษดินหินยังปิดกั้นทางหลวงสายแพน-อเมริกัน และบริเวณชุมชนโรซาส ที่อยู่ห่างจากกรุงโบโกต้า เมืองหลวงของประเทศไปราว 630 กิโลเมตร

ปัจจุบัน เจ้าหน้าที่กู้ภัยยังคงเดินหน้าค้นหาเหยื่อผู้เคราะห์ร้าย โดยนำเครื่องจักรกลหนักมาเคลียร์เศษดินและซากหักพังออกไป

ในขณะที่ประธานาธิบดีอีวาน ดูเก้ ของโคลัมเบียได้ทวิตให้กำลังใจกับครอบครัวของผู้เคราะห์ร้าย สำหรับผู้บาดเจ็บ ปัจจุบันถูกพาเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเรียบร้อยแล้ว

Image result for โคลนถล่มโคลอมเบียเสียชีวิต 17 คน

โคลอมเบียเร่งตรวจสอบสาเหตุเครื่องบินเล็กตก

เจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานการบินพลเรือนโคลอมเบีย รายงานว่า เกิดเหตุเครื่องบินเล็กของบริษัทเอกชนลำหนึ่ง ซึ่งบรรทุกผู้โดยสารรวม 9 คน โดยหนึ่งในผู้โดยสาร เป็นเจ้าหน้าที่รัฐบาลประจำท้องถิ่น ตกใส่บ้านเรือนของประชาชนใกล้กับเมืองโปปายัน ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ เมื่อช่วงบ่ายวันอาทิตย์ที่ผ่านมาตามเวลาท้องถิ่น ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 7 คน มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 3 คน โดยหนึ่งในผู้บาดเจ็บเป็นเด็กเล็ก ที่กำลังวิ่งเล่นอยู่บนพื้นดิน

ทั้งนี้ทางเจ้าหน้าที่กู้ภัย เร่งควบคุมเหตุน้ำมันรั่วที่ไหลออกมาจากตัวเครื่องบิน เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น โดยตามรายงานของเจ้าหน้าที่ระบุว่า เครื่องบินลำดังกล่าวเพิ่งออกบินจากสนามบินได้เพียงไม่กี่นาที ก่อนประสบเหตุ ล่าสุดทางสำนักงานการบินพลเรือนโคลอมเบีย ได้เร่งดำเนินการสอบสวนหาสาเหตุแล้ว

เครื่องบินเล็กตกในโคลอมเบีย รอดชีวิตปาฏิหาริย์ 2 ราย

วันนี้ ( 16 ก.ย. 62 )นายกเทศมนตรีเมืองโปปายัน และสำนักงานการบินพลเรือนแห่งชาติของโคลอมเบียแจ้งว่า เกิดอุบัติเหตุเครื่องบินเล็กตกใกล้เมือง โปปายัน ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศเมื่อวานนี้ ทำให้ผู้โดยสาร ที่มีทั้งหมด 9 คน เสียชีวิต 7 คน และอีก 2 คน ได้รับบาดเจ็บ เจ้าหน้าที่กู้ภัยรีบนำส่งโรงพยาบาล และอยู่ในความดูแลของแพทย์ขณะนี้

เครื่องบินลำดังกล่าวเป็นของบริษัทรายเล็กในท้องถิ่นประสบอุบัติเหตุตก หลังทะยานขึ้นจากสนามบินของเมือง ได้ไม่กี่นาที โดยเมืองโปปายันรายรอบด้วยเทือกเขา และมีประชากรอาศัยราว 270,000 คน มีการเผยแพร่วิดีโอจุดที่เกิดเหตุ ซึ่งพบเศษชิ้นส่วนของเครื่องบินตกกระจายอยู่บนหลังคาบ้านเรือนประชาชนหลายหลัง ส่วนสาเหตุของอุบัติเหตุครั้งนี้ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งชาติระบุว่า ยังอยู่ระหว่างการสอบสวน

Image result for เครื่องบินเล็กตกในโคลอมเบีย รอดชีวิตปาฏิหาริย์ 2 ราย

โคลอมเบียติดอันดับวังวนฆาตกรต่อเนื่องที่โหดเหี้ยมที่สุด

ที่โคลอมเบีย เปโดร โลเปซ มอนซัลเว ถูกจับได้ที่ตลาดแห่งหนึ่งในประเทศเอกวาดอร์ ขณะพยายามลักพาตัวสาวน้อย กระทั่งต่อมายอมรับสารภาพว่าข่มขืนฆ่ารัดคอเด็กอายุ 12 ปี ไม่น้อยกว่า 310 ราย ในย่านสลัมที่โคลอมเบีย เอกวาดอร์และเปรู จนได้ฉายา “สัตว์ประหลาดแห่งเทือกเขาแอนดีส” (ชีวิตลูกโสเภณีที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศตั้งแต่อายุ 8 ขวบ แม้แต่ในคุกในฐานะน้องใหม่จนพ้นโทษถึงรู้ตัวว่าชอบเสพเด็กผู้หญิง)

ฆาตกรต่อเนื่องชาวโคลอมเบียอีกคน หลุยส์ อัลเฟรโด จาราวิโต หรือ “ปีศาจแห่งเจโนวา” ซึ่งถูกตัดสินจำคุก 835 ปี เมื่อปี พ.ศ.2543 จากการตระเวนฆ่า เด็กผู้ชายอายุ 8–16 ปี ราวๆ 189–192 ศพ (ตัวเลขที่แน่ชัดอาจถึง 400) ตลอดช่วง 5 ปี เหยื่อส่วนใหญ่เป็นเด็กเร่ร่อน กำพร้า หนีออกจากบ้าน เพราะ หลุยส์เชื่อว่าไม่มีใครสนใจหรือตามหาถ้าเด็กหาย หลุยส์ใช้วิธีปลอมตัวเป็นบทบาทคนนั้นคนนี้ เพื่อเลี่ยงตกเป็นที่ต้องสงสัย เช่น จิตอาสา เซลส์แมน พระ คนพิการ คนแก่ คนค้ายา ชาวนา หลอกให้ขนมหรือเงิน วิธีที่แสนเหี้ยมของหลุยส์จะมัดเหยื่อก่อนแล้วข่มขืนฆ่า บางรายถูกเฉือนอวัยวะเพศแล้วจับยัดเข้าปากเหยื่อ หลายรายก็ถูกตัดคอ มีรอยกัดเต็มตัวเหยื่อ และแต่ละจุดเกิดเหตุพบขวดเหล้ากับสารหล่อลื่นตกข้างๆ (วัยเด็กของหลุยส์มีแต่ความโหดร้ายจากพ่อขี้เหล้า และเคยถูก “ตุ๋ย” แต่เด็กด้วย จนหนีออกจากบ้านเมื่ออายุ 16 ปี)

“เอกวาดอร์” จับมือ “โคลอมเบีย-เปรู” เสนอตัวจัดบอลโลก 2030

เอกวาดอร์ เตรียมหารือกับโคลอมเบีย และเปรูเพื่อเสนอตัวเป็นเจ้าภาพร่วมจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก ปี 2030 เลนิน โมเรโน่ ประธานาธิบดีของเอกวาดอร์ ยืนยันผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัวว่า เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา เขาได้เสนอเรื่องการเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2030 ไปให้ นายอีวาน ดูเค ประธานาธิบดีของโคลอมเบีย และ นายมาร์ติน วิซการ์ร่า ประธานาธิบดีของเปรู พิจารณา

โดยตอนนี้อยู่ในช่วงที่รัฐบาลของทั้ง 2 ประเทศตัดสินใจ และถ้าหากทั้งคู่เห็นด้วย เอกวาดอร์ ก็จะเดินหน้าเสนอตัวเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2030ในทันที อย่างไรก็ตามทั้ง 3 ประเทศต้องขับเคี่ยวแย่งสิทธิ์กับอีกหลายชาติ ทั้งอาร์เจนติน่า, อุรุกวัย, ปารากวัย และชิลี 4 ชาติเพื่อนร่วมทวีปอเมริกาใต้ ที่เสนอตัวเป็นเจ้าภาพร่วมมาแล้วก่อนหน้านี้

นอกจากนี้ยังมี โมร็อกโก, ตูนิเซีย และแอลจีเรีย 3 ชาติจากทวีปแอฟริกา ที่พลาดการเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกในปี 2026 รวมไปถึง 4 ชาติยุโรปตะวันออกที่จับมือกัน ได้แก่ โรมาเนีย,กรีซ,บัลแกเรีย และเซอร์เบีย สำหรับฟุตบอลโลกครั้งต่อไป จะมีขึ้นในปี 2022 ที่ประเทศกาตาร์ ส่วนในปี 2026 เป็น แคนาดา เม็กซิโก และสหรัฐอเมริกา ที่จับมือกันเป็นเจ้าภาพร่วม

Image result for เอกวาดอร์” จับมือ “โคลอมเบีย-เปรู”

‘ไทย-โคลอมเบีย’ จับมือขยายตลาดละติน

โคลอมเบียเป็นปรเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 4 ในภูมิภาคละตินอเมริกา ซึ่งประเทศบราซิลมีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุด รองลงมาเป็นเม็กซิโก อาร์เจนตินาสำหรับในปีนี้เป็นปีแห่งการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ไทย-โคลอมเบียครบรอบ 40 ปี โดยกระทรวงการต่างประเทศมีความมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกันต่อไปในอนาคต

ดำรง ใคร่ครวญ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์พิเศษว่า ปัจจุบัน ไทย-โคลอมเบียมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น และทั้ง 2 ประเทศเห็นตรงกันว่า จะผลักดันความร่วมมือด้านการค้าการลงทุนให้เพิ่มมากขึ้น

ในช่วงที่ผ่านมา โคลอมเบียตกอยู่ในสถานการณ์ปัญหาการเมืองภายในประเทศอยู่หลายสิบปี กระทั่งในปี 2554 รัฐบาลโคลอมเบียสามารถตั้งโต๊ะเจรจากับพรรคฝ่ายค้านได้ จนสามารถนำพาประเทศกลับคืนสู่สันติภาพได้สำเร็จ

“ด้วยสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมือง ทำให้โคลอมเบียสาละวนอยู่กับการจัดการปัญหาภายในประเทศ จึงยังไม่ค่อยมีปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอกมากนัก และเมื่อทุกอย่างกลับคืนสู่ความสงบเรียบร้อย ทำให้โคลอมเบียซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ได้ฉายแสงให้เห็นโอกาสการพัฒนาและความร่วมมือทางการค้ากับต่างชาติ” รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ระบุ

ดำรง กล่าวอีกว่า โคลอมเบียมีนโยบายจบุกเบิกความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศในภูมิภาคเอเชีย จึงได้กลับมาเปิดสถานเอกอัครราชทูตในประเทศไทยเมื่อปี 2556

ขณะที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลิมา ประเทศเปรู ให้การดูแลอาณาบริเวณครอบคลุมไปยังโคลอมเบีย ถ้าในอนาคตไทยจะพิจารณาเปิดสถานทูตแห่งใหม่ในภูมิภาคละตินอเมริกา เชื่อว่าโคลอมเบียจะเป็นประเทศที่ถูกพิจารณาในลำดับแรก

“ณ เวลานี้ โคลอมเบียให้ความสำคัญกับความร่วมมือกับประเทศในเอเชีย อาจยังไม่เจาะจงเป็นรายประเทศ เพราะต้องยอมรับว่า หากมองในมุมโคลอมเบียมายังเอเชีย ก็ย่อมให้ความสำคัญกับจีนเป็นชาติแรก รองลงมาเป็นญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และประเทศในอาเซียน ซึ่งประเทศไทยอยู่ในภูมิภาคอาเซียน จึงถือได้ว่าไทยได้อยู่ในจอเรดาร์ที่โคลอมเบียต้องการจะร่วมมือทางเศรษฐกิจด้วย” รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ระบุ

ปัจจุบัน โคลอมเบียเป็นประเทศคู่ค้าอันดับ7 ของไทยในละตินอเมริกา ขณะนี้ในมิติความร่วมมือทางเศรษฐกิจยังไม่สูงมาก เนื่องจากการค้าระหว่างกันยังน้อย อยู่ที่ประมาณ 200 ล้านดอลลาร์ ส่วนการลงทุนยังไม่เกิดขึ้นมาก ขณะที่มีนักท่องเที่ยวโคลอมเบียเดินทางมายังประเทศไทย อยู่ที่ประมาณ 1.4 หมื่นคน 

“ส่วนตัวเชื่อว่า แนวโน้มการพัฒนาของโคลอมเบียสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะอัตราการเติบโตของจีดีพีอยู่ที่ประมาณ 4% ซึ่งใกล้เคียงกับประเทศไทย นั่นหมายถึงมีประเทศที่ขนาดเศรษฐกิจใกล้เคียงกับไทยอยู่ในละตินอเมริกาด้วย จึงโอกาสทางเศรษฐกิจสำหรับนักธุรกิจไทยเข้าไปบุกเบิกตลาดใหม่ และการแข่งขันยังไม่สูง” ดำรงกล่าว

รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ที่ผ่านมา มีบริษัทของไทยบางแห่งเข้าไปบุกเบิกในตลาดโคลอมเบีย ซึ่งได้ขายสินค้าเกษตรกรรม และเปิดร้านอาหารไทยในโคลอมเบีย ทั้งนี้ โคลอมเบียยังเป็นตลาดซื้อยางพารารายใหญ่จากไทยในละตินอเมริกา

ขณะเดียวกัน โคลอมเบียมีนโยบายส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ในการผลิตสินค้าประยุกต์เชิงวัฒนธรรมเช่นเดียวกับโอท็อปของไทย ซึ่งส่วนนี้สามารถนำไปสู่ความร่วมมือระหว่างไทย-โคลอมเบีย และต่อยอดทางธุรกิจในอนาคต 

รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ ไทยต้องการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการผลิตกาแฟจากโคลอมเบีย เพราะที่นั่นจัดได้ว่าเป็นแหล่งผลิตกาแฟสไตล์บูติคแห่งเดียวในโลก ที่สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจกาแฟต่อไปได้

มาดูโรสั่งเปิดชายแดนติด “โคลอมเบีย” อีกครั้ง

ประธานาธิบดี นิโกลัส มาดูโร ของเวเนซูเอลาเมื่อวานนี้ (7) สั่งเปิดชายแดนติดโคลอมเบียในรัฐตาชีราทางตะวันตกใหม่อีกครั้ง ใกล้กับที่รวมรวบความช่วยเหลือนานาชาติที่ถูกปฏิเสธจากการากัส

ประเทศแถบอเมริกาใต้แห่งนี้กำลังเผชิญภาวะขาดแคลนอาหาร ยา และสิ่งของจำเป็นอื่นๆ ท่ามกลางการแย่งชิงอำนาจระหว่างมาดูโรและผู้นำฝ่ายค้าน ฮวน กวยโด ที่ได้รับยอมรับในฐานะรักษาการณ์ประธานาธิบดีจากกว่า 50 ประเทศรวมถึงสหรัฐฯ

ในประกาศเปิดชายแดนบนทวิตเตอร์ มาดูโร กล่าวว่า “เราเป็นผู้รักสันติที่ปกป้องเอกราชและอำนาจการตัดสินใจของเราอย่างแข็งขัน”

อย่างไรก็ตาม มาดูโรไม่ได้ระบุว่าสะพานข้ามชายแดนที่ปิดตั้งเดือนสิงหาคมปี 2015 หลังทหารเวเนซูเอลาถูกกลุ่มลักลอบค้าของเถื่อนทำร้าย จะยกเลิกการปิดกั้นหรือไม่

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ มาดูโรสั่งปิดชายแดนทางบกทั้งหมดที่ติดบราซิลและโคลอมเบีย รวมทั้งการเชื่อมต่อทะเลและอากาศกับเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีสในแคริบเบียน

กวยโดต้องการนำอาหารและยาเข้าสู่ประเทศนี้ แต่กองทัพที่มาดูโรหนุนหลังปิดกั้นสะพานดังกล่าวและขัดขวางไม่ให้ขบวนรถขนส่งเข้ามา

มาดูโร กล่าวว่า เวเนซูเอลาเป็นเหยื่อของสงครามเศรษฐกิจที่ก่อโดยสหรัฐฯ และเชื่อว่า ความช่วยเหลือเหล่านี้เป็นหมอกบังตาเพื่อตระเตรียมการรุกรานจากต่างชาติ

เมื่อเดือนพฤษภาคม รัฐบาลเวเนซูเอลาได้เปิดชายแดนทางบกติดบราซิลและเส้นทางทะเลสู่อารูบา แต่ไม่ได้เปิดสู่เกาะอื่นๆ เช่น โบแนเรอและกือราเซา

ความสัมพันธ์ระหว่างเวเนซูเอลาและโคลอมเบียที่มีชายแดนทางบกติดกันยาว 2,220 กิโลเมตร ตัดขาดนับตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ หลังจากประธานาธิบดี อีวาน ดู๊ค ของโคลอมเบียประกาศสนับสนุนกวยโด

ชาวเวเนซูเอลาจำนวนข้ามชายแดนนี้อย่างผิดกฎหมายทุกวันเพื่อรับสิ่งของช่วยเหลือ เนื่องจากภาวะขาดสิ่งของจำเป็นขั้นพื้นฐานอย่างร้ายแรง

“แซมบ้า” หวิดเครื่องไหม้ “เนย์มาร์” ยิงเจ๊าโคลอมเบีย 2-2

เนย์มาร์ ซูเปอร์สตาร์ลูกหนัง บราซิล โชว์ฟอร์มเด่น 1 ประตู กับ 1 แอสซิสต์ เกมกระชับมิตรทีมชาติ เสมอ โคลอมเบีย 2-2 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา วันเสาร์ที่ 7 กันยายน ตามเวลาไทย

ฟุตบอลกระชับมิตรทีมขาติ “บราซิล โกลบอล ทัวร์” ณ สนาม ฮาร์ด ร็อค สเตเดียม เมืองไมอามี มลรัฐฟลอริดา บราซิล ส่ง โรแบร์โต เฟอร์มิโน ยืนศูนย์หน้าตัวเป้า ประสานงาน เนย์มาร์ , ฟิลิปเป คูตินโญ และ ริชาร์ลิสัน ล่าตาข่าย โคลอมเบีย ที่มี หลุยส์ มูเรียล , ดูวาน ซาปาตา และ โรเจอร์ มาร์ติเนซ เป็ยความหวังแดนหน้า

เริ่มเกม 19 นาที บราซิล ขึ้นนำ 1-0 เนย์มาร์ เปิดเตะมุมกราบขวาให้ คาเซมิโร โหม่งเสียบมุมเสาไกล ทว่านาที 25 โคลอมเบีย ได้จุดโทษ หลุยส์ มูเรียล เจอ อเล็กซ์ ซานโดร ยกเท้าสูงยันหน้าอก แล้วรับหน้าที่สังหารเอง ตีเสมอ 1-1

สกอร์ไหลเป็น 2-1 นาที 34 หลุยส์ มูเรียล เติมมาฝั่งขวา รับบอลจาก ดูวาน ซาปาตา แล้วยิงเสียบมุมเสาไกล อย่างไรก็ตาม แชมป์โลก 5 สมัย ทวงคืนนาที 58 ดานี อัลเวส แบ็กขวากัปตันทีม ใส่พานให้ เนย์มาร์ แปจ่อๆ เสมอกัน 2-2 ก่อนจบเกมด้วยสกอร์นี้

รายชื่อ 11 ตัวจริง
บราซิล : เอแดร์สัน , ติอาโก ซิลวา , มาร์ควินญอส , อเล็กซ์ ซานโดร , ดานี อัลเวส , คาเซมิโร , ฟิลิปเป คูตินโญ , อาร์ธูร์ , โรแบร์โต เฟอร์มิโน , เนย์มาร์ , ริชาร์ลิสัน

โคลอมเบีย : ดาบิด ออสปินา , เยอร์รี มินา , เดวินสัน ซานเชซ , วิลเลียม เตซิโญ , สเตฟาน เมดินา , วิลมาร์ บาร์ริออส , มาเตอุส อูริเบ , ฮวน ควาดราโด , ดูวาน ซาปาตา , โรเจอร์ มาร์ติเนซ , หลุยส์ มูเรียล