“ปู ไปรยา” เปิดใจ ถึงภารกิจช่วยผู้ลี้ภัยที่โคลอมเบีย

“ปู ไปรยา” ทูตสันทวไมตรี UNHCR เผยความรู้สึก หลังลงพื้นที่ประเทศโคลอมเบีย เพื่อช่วยเหลือผู้อพยพและลี้ภัยจากวิกฤติในประเทศเวเนซุเอลา พ้อหดหู่กับสิ่งที่เกิดขึ้น พร้อมลั่นขอยืนหยัดเคียงข้างผู้ลี้ภัยทั่วโลกต่อไป

วิกฤตการณ์ในประเทศเวเนซุเอลาบังคับให้ประชาชนกว่า 4 ล้านคนต้องหนีเอาชีวิตรอดจากความรุนแรง ปัญหาทางเศรษฐกิจ และการเมืองทำให้ระบบการให้ความคุ้มครองในประเทศไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ประชาชนเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อ ความยากจน และความขาดแคลนสาธารณูปโภคที่เป็นปัจจัยในการดำรงชีพ เช่น อาหารและยารักษาโรค ชาวเวเนซุเอลาเดินทางออกจากประเทศในสถานะผู้ลี้ภัยและผู้อพยพตั้งแต่ พ.ศ. 2557 และมีการหลั่งไหลของชาวเวเนซุเอลาจำนวนมากในปี พ.ศ.2560 – 2561 มากกว่า 5,000 คนต่อวัน เพื่อแสวงหาความปลอดภัย ซึ่งเป็นการอพยพและลี้ภัยครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ลาตินอเมริกา ร้ายแรงเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากวิกฤตซีเรีย และต้องการความช่วยเหลือที่เร่งด่วนที่สุด

สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ได้เชิญ “ปู ไปรยา ลุนด์เบิร์ก” ในฐานะทูตสันถวไมตรีของ UNHCR ประเทศไทย ลงพื้นที่ระหว่างวันที่ 23-27 กันยายน 2562 ณ ประเทศโคลอมเบีย ซึ่งรองรับผู้ลี้ภัยและผู้อพยพชาวเวเนซุเอลาไว้มากที่สุดในโลก เพื่อดูการทำงานของ UNHCR ในพื้นที่ในการมอบความคุ้มครองและความช่วยเหลือแก่ครอบครัวชาวเวเนซุเอลาที่กำลังสิ้นหวัง และเพื่อเก็บภาพและข้อมูลในการทำสารคดีสั้นเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ในประเทศเวเนซุเอลา

โดยการเดินทางเยี่ยมผู้ลี้ภัยครั้งนี้เป็นภารกิจในต่างประเทศครั้งที่ 3 ของสาวปู หลังจากการลงพื้นที่เยี่ยมผู้ลี้ภัยซีเรียในประเทศจอร์แดน และชาวโรฮิงญาในประเทศบังคลาเทศในปีที่ผ่านมา ซึ่งปูเผยความรู้สึกว่า…

“ทุกๆ ครั้งที่ปูไปรู้สึกว่าสถานการณ์แต่ละที่มันยากและซับซ้อนมากในการให้ความช่วยเหลือ และในครั้งนี้ก็ไม่ง่ายขึ้นเลย ครั้งนี้เป็นจุดเปลี่ยนของชีวิตปูที่ได้เห็นวิกฤตการณ์ที่ยากสุด ซับซ้อนที่สุด มีทั้งความไม่มั่นคงในประเทศเอง มีทั้งการลี้ภัยและการอพยพที่ต้องการความช่วยเหลือที่ต่างกันไป ในพื้นที่ที่ปูไปเยี่ยมครั้งนี้ไม่ใช่ในค่ายผู้ลี้ภัยนะคะ แต่เป็นศูนย์อพยพในสถานการณ์ฉุกเฉินจริงๆ ซึ่งวิกฤตครั้งนี้ต้องการความร่วมมือจากทุกฝ่าย สถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ไม่ต่างจากสถานการณ์แห่งความเป็นความตาย พวกเขาต้องหนีออกมาแสวงหาความปลอดภัยและมาถึงชายแดนด้วยความหวาดกลัว เหนื่อยล้า และต้องการความช่วยเหลือฉุกเฉิน ปูชื่นชมการทำงานของ UNHCR ที่ทำงานอย่างรอบด้านเพื่อให้ความช่วยเหลือทุกคนอย่างเร่งด่วน และชื่นชมความเข้มแข็งและแข็งแกร่งของผู้ลี้ภัยและผู้อพยพทุกคน”

“ปูได้เห็นกับตาตัวเองที่สะพานข้ามแม่น้ำตาชีรา Saimon Bolivar International ชายแดนโคลอมเบีย-เวเนซุเอลาที่เป็นเส้นทางหลักในการลี้ภัยของชาวเวเนซุเอลาเพื่อข้ามมาที่โคลอมเบีย ได้เห็นคนเป็นพันๆ คนข้ามสะพานหนีตายจากความโหดร้าย เห็นคนท้อง คนพิการ เด็กเล็ก ผู้ป่วยที่ต้องออกจากบ้านตัวเอง นั่นแสดงให้เห็นว่าพวกเขาอยู่ไม่ได้แล้วจริงๆ ไม่มีแม้แต่น้ำ ไฟฟ้า ยารักษาโรค หรืออาหารในการดำรงชีวิต เด็กหลายคนต้องป่วยและเสียชีวิตเพราะไม่มีนมและต้องรองน้ำที่มีสารปนเปื้อนเพื่อดื่มประทังชีวิต การขาดแคลนกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในโรงพยาบาล ทำให้อัตราการเสียชีวิตของหญิงตั้งครรภ์เพิ่มขึ้น 65% และการเสียชีวิตของเด็กแรกเกิดเพิ่มขึ้น 53% สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้ปูและ UNHCR เศร้าใจเป็นอย่างมากและต้องเร่งช่วยเหลือพวกเขาอย่างเร่งด่วน ที่ศูนย์ช่วยเหลือผู้ลี้ภัยและผู้อพยพของ UNHCR บริเวณชายแดน เจ้าหน้าที่ทำงานตลอดเวลาเพราะทุกคนที่เข้ามาต่างมีภาวะฉุกเฉิน ปูเจอมีทั้งเด็กที่มีความพิการ ร่างกายผิดปกติ เด็กและผู้ใหญ่มากมายป่วยเป็นโรคขาดสารอาหาร ปูได้คุยกับคุณแม่ที่ลูกพิการ ตอนที่ปูกอดให้กำลังใจพวกเขา ร่างกายเขาเหลือแต่กระดูก”

“ปูได้เจอกับแอนกี้ คุณแม่ลูก 2 วัย 24 ปีที่ป่วยเป็นมะเร็งระยะที่ 4 เธอต้องลี้ภัยกับคุณแม่วัย 50 ปีและลูกเล็กอีก 2 คน เพราะที่เวเนซุเอลาไม่มียารักษาโรคให้เธออีกแล้ว เธอหนีมาที่โคลอมเบียเพียงแค่เพื่อมีชีวิตอยู่ต่ออีกสักหน่อยกับแม่และลูกของเธอ ตลอดเวลาที่ปูคุยกับเธอ เธอถือผ้าเช็ดหน้าตลอดเวลาเพื่อปกปิดความป่วยของเธอไม่ให้ใครเห็น”

“ปูได้พบกับแอนเดรียนา สามี และลูกของพวกเขา 3 คน จากเวเนซุเอลาที่เป็นกลุ่มเปราะบางที่สุด UNHCR พบพวกเขานอนข้างถนน จึงช่วยเหลือให้การรักษาและความคุ้มครอง แอนเดรียนาเจอกับความโหดร้ายในเวเนซุเอลาจนต้องอพยพมาที่โคลอมเบีย เธอไม่มีอะไรติดตัวมาเลย ต้องยอมให้ลูกและตนเองนอนข้างถนนเพื่อเอาชีวิตรอด เธออยู่อย่างหวาดกลัวทุกคืนเพราะมีกลุ่มติดอาวุธขี่มอเตอร์ไซค์วนเวียนมาถามเธอว่าจะขายอวัยวะของลูกเธอไหม เมื่อได้รับการช่วยเหลือจาก UNHCR เธอบอกว่าคืนนี้จะเป็นคืนแรกที่เธอจะปลอดภัยที่สุด”

Image result for “ปู ไปรยา” เปิดใจ ถึงภารกิจช่วยผู้ลี้ภัยที่โคลอมเบีย

“ปูเดินทางไปที่ Brisas del Norte (บริซาส เดล นอร์เต้) เป็นพื้นที่ชั่วคราวที่เป็นที่พักพิงให้กับผู้ลี้ภัยชาวเวเนซุเอลา ผู้พลัดถิ่นในประเทศ และผู้ลี้ภัยชาวโคลอมเบียที่กลับสู่ถิ่นฐานกว่า 250 ครอบครัว ซึ่งพวกเขาต้องผ่านการเป็นผู้พลัดถิ่นมาตลอดชีวิต ไฮโร อิบารา ต้องลี้ภัยจากโคลอมเบียไปเวเนซุเอลาตั้งแต่อายุ 10 ขวบ เพราะความรุนแรง พ่อเขาถูกฆ่า และลุงถูกลักพาตัวจนทุกวันนี้ยังหาตัวไม่พบ เมื่อความรุนแรงเกิดขึ้นในประเทศที่เขาหนีไปอยู่ เขาตัดสินใจพาลูกที่ป่วยกลับมาที่โคลอมเบียอีกครั้งในปี พ.ศ. 2557 โดยภรรยาและลูกอีกคนยังรออยู่ที่เวเนซุเอลาและจนวันนี้พวกเขาก็ยังไม่ได้อยู่ด้วยกัน”

“ไฮโรทำงานเป็นนักบัญชี มีชีวิตที่ดีอยู่ในเวเนซุเอลา แต่เมื่อต้องกลับมาที่โคลอมเบียอีกครั้งเขาต้องเริ่มจากติดลบ ต้องอาศัยอยู่ในเพิงที่รกร้าง ดูแลลูกที่ป่วยขยับไม่ได้ เขายังจำได้ว่าลูกทรมานแค่ไหนที่ต้องอยู่สภาพนั้น เราอาจจะมองว่าไฮโดรอยู่ในที่พักแบบนี้ได้อย่างไร แต่สำหรับเขาที่นี่คือวัง เพราะตอนที่เขากลับมา เขามีที่อยู่เป็นเพียงผ้าพลาสติกเท่านั้น แต่ไฮโรเข้มแข็งมาก เขาสู้แม้ไม่มีความหวังว่าชีวิตจะดีกว่านี้ได้อย่างไร เขาเข้าเรียนการทำงานฝีมือเพื่อเลี้ยงชีพถึงแม้จะเป็นเรื่องที่เขาไม่ถนัด แต่เขาสามารถใช้มันเลี้ยงดูครอบครัวได้ UNHCR ช่วยเหลือพวกเขาอยู่ในพื้นที่นี้ให้ได้รับการช่วยเหลือขั้นพื้นฐาน ได้มีน้ำ มีไฟฟ้า สร้างโรงเรียนสอนฟุตบอลให้เด็ก 300 คน เยียวยาและป้องกันการรุนแรงทางเพศ ผู้ลี้ภัยและผู้อพยพได้รับการเยียวยาจิตใจ การได้อยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลและเข้าใจ และตอนนี้เขาได้เจอภรรยาและลูกปีละ 2 ครั้งเท่านั้น ผ่านการโบกมือหากันที่ตรงชายแดน”

“ปูได้เห็นผู้คนตั้งแต่เขาเดินข้ามชายแดนมาที่โคลอมเบีย ต้องมานอนอยู่ข้างถนนเพราะไม่มีที่อยู่ ไม่มีเอกสารติดตัว ระหว่างทางพวกเขาต้องเจอความโหดร้ายมากมายทั้งโดนข่มขู่ ปล้น ลักพาตัว หลอกไปขายอวัยวะ หรือ บางคนตื่นมาไม่เห็นลูกตัวเองอีกแล้ว ปูได้พบมารีและอิสเมล ลูกวัย 3 ขวบที่พิการ มารีสูญเสียสามีและต้องลี้ภัยเพราะอิสเมลป่วยหนัก เพื่อให้ลูกคนเล็กมีชีวิตรอด มารีต้องทิ้งลูกสาวและพ่อแม่ของเธอไว้ที่เวเนซุเอลา โดยไม่รู้ว่าจะได้กลับไปอีกเมื่อไหร่ มาเรียมีค่าใช้จ่ายสูงมากในการหาซื้อยาให้อิสเมลในเวเนซุเอลา เธอลี้ภัยมาโคลอมเบียและหาเลี้ยงชีพด้วยการขายขนมเพื่อแลกกับค่าเช่าบ้านให้เธอและลูก แต่ก็ทำต่อไม่ได้เพราะอิสเมลที่ป่วยหนักต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด เธอหวังว่าอิสเมลจะได้รับการรักษาที่ดีขึ้นในโคลอมเบีย UNHCR ตามหากลุ่มคนที่เปราะบางที่สุดเพื่อให้ได้ความช่วยเหลือที่เร่งด่วน ทั้งการออกเอกสารระบุตัวตน มอบความช่วยเหลือด้านการแพทย์ ที่พักพิงชั่วคราว ปัจจัย 4 การเยียวยาจิตใจ และการอยู่ร่วมกันกับคนโคลอมเบียอย่างเกื้อกูลเพื่อเขาจะได้อยู่ปลอดภัย”

Image result for “ปู ไปรยา” เปิดใจ ถึงภารกิจช่วยผู้ลี้ภัยที่โคลอมเบีย

“ปูเชื่อว่าไม่มีมนุษย์คนไหนเกิดมาแล้วอยากเป็นผู้ลี้ภัย ต้องมาขออาศัยในประเทศอื่น และมีชีวิตอย่างยากลำบาก พวกเขาไม่รู้จะหันไปหาความช่วยเหลือได้จากไหน เพราะฉะนั้นการลงพื้นที่แต่ละครั้งมอบความทรงจำและพลังให้ปูต้องทำงานหนักและมุ่งมั่นในการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะทูตสันถวไมตรีของ UNHCR เพื่อยืนหยัดเคียงข้างผู้ลี้ภัยทั่วโลกต่อไป”

ทั้งนี้ ด้วยจำนวนผู้ลี้ภัยและผู้อพยพชาวเวเนซุเอลาที่ยังคงเพิ่มสูงขึ้น ทรัพยากรเริ่มลดน้อยลงและจำนวนครอบครัวที่ต้องการความช่วยเหลือนั้นมีมากขึ้น พวกเขาจำเป็นต้องได้รับการคุ้มครอง รวมถึงที่พักอาศัย อาหาร และยารักษาโรคในทันที ทำให้ UNHCR ไม่อาจทำงานที่สำคัญนี้ได้เพียงลำพัง เราต้องการงบประมาณกว่า 158.2 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือมากกว่า 4,900 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือพวกเขา และตอนนี้ยังขาดงบประมาณอีกถึง 1,300 ล้านบาทในการให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน สามารถบริจาคเพื่อช่วยชีวิตครอบครัวชาวเวเนซุเอลาที่กำลังสิ้นหวัง ที่ เว็บไซต์ https://www.unhcr.or.th/donate/venezuela, SMS พิมพ์ 99 ส่งมาที่ 4141099 เพื่อบริจาคครั้งละ 99 บาท หรือ โทร. 02-206 2144 (วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 9.00 – 18.00 น.)

 

ลี้ภัย 1.4 ล้านคนหนีเข้ามาที่ประเทศโคลอมเบีย

วิกฤตการเมืองเวเนซุเอลาไม่ได้เพิ่งเกิด เรื่องนี้เป็นมหากาพย์ต่อเนื่องยาวนานนับตั้งแต่ปี 2000 มีคนลี้ภัยออกนอกประเทศกว่า 4.3 ล้านคน และ 1.4 ล้านคนหนีเข้ามาที่ประเทศโคลอมเบียที่ชายแดนติดต่อกัน เกิดวิกฤตและปัญหาต่างๆ จนทำให้เศรษฐกิจประเทศล้มละลาย เกิดอัตราเงินเฟ้อที่สูงมาก เงินกลายเป็นสิ่งที่ไม่มีความหมาย เกิดอาชญากรรมมากขึ้น ปัญหาสาธารณูปโภคทำให้ประชาชนไม่สามารถดำรงชีวิตในประเทศนี้ต่อไปได้

เคน นครินทร์ ได้รับเชิญจากหน่วยงาน UNHCR ไปดูวิกฤตผู้ลี้ภัยเวเนเวซุเอลา และกลับมาวิเคราะห์ต้นตอและสาเหตุเพื่อเป็นข้อเตือนใจให้หลายๆ องค์กรนำไปประยุกต์ใช้หรือปรับปรุงได้ทันเวลา ในรายการ The Secret Sauce: Executive Espresso

Image result for หนีเข้ามาที่ประเทศโคลอมเบีย

3 สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดวิกฤตในเวเนซุเอลา

1. ไม่กระจายความเสี่ยง

เวเนซุเอลาในยุคก่อนเป็นประเทศที่ร่ำรวยมาก แต่รายได้ประเทศ 95% อยู่ที่มูลค่าการส่งออกน้ำมัน ช่วงประมาณปี 1970 เป็นประเทศที่มี GDP สูงกว่าสเปน กรีซ อิสราเอล และยังเคยเป็นที่พักพิงของชาวโคลอมเบีย ในสมัยนั้นน้ำมันมีมูลค่าสูงมาก และเวเนซุเอลาเป็นผู้นำในการส่งออกน้ำมันระดับโลกตั้งแต่ปี 2001-2013 ราคาน้ำมันสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ประเทศมีรายได้สูงมาก แต่มีสัญญาณวิกฤตเกิดขึ้น เมื่อสหรัฐอเมริกาจากเคยเป็นผู้นำเข้าน้ำมันอันดับหนึ่งของโลกได้ค้นพบเทคโนโลยีในการขุดน้ำมัน ซึ่งสามารถมีกำลังการผลิตจำนวนมาก ทำให้สหรัฐอเมริกาไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันจากประเทศอื่นๆ อีกต่อไป และส่งผลให้ราคาน้ำมันลดลงอย่างรวดเร็ว นอกจากสหรัฐอเมริกาแล้วยังมีประเทศอื่นๆ ที่มีกำลังการผลิตน้ำมันมากขึ้นเช่นกัน ตัวอย่างเช่น แคนาดา จากกำลังการผลิต 2.5 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2009 กลายเป็น 3.3 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2013 ภาพรวมการแข่งขันธุรกิจน้ำมันค่อนข้างสูง และเป็นสัญญาณในการเปลี่ยนแปลงธุรกิจเพื่อความอยู่รอด ดูตัวอย่างจาก OPEC ซึ่งเป็นผู้นำการส่งออกน้ำมัน ตอนนี้ธุรกิจหลักของบริษัทมีหลากหลายมากขึ้นที่ไม่ใช่แค่น้ำมัน ทางบริษัทมาเน้นเรื่องการบริการ ธุรกิจสายการบิน และอื่นๆ เพื่อกระจายความเสี่ยงธุรกิจ

2. ไม่ส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรม

รัฐบาลเวเนซุเอลาทำการยึดกิจการจากเอกชนให้รัฐบาลมาบริหารงานแทน หมายถึงรัฐบาลบริหารงานเองโดยไม่มีผู้แข่งขัน หรือเรียกได้ว่าตลาดผูกขาด ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง เนื่องจากไม่มีผู้แข่งขัน ส่งผลให้ไม่มีการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ไม่เกิดการพัฒนา

3. ไม่สนับสนุนให้ประชาชนพึ่งพาตัวเอง

อย่างที่หลักปรัชญากล่าวไว้ว่า “ให้เบ็ดดีกว่าให้ปลา” พลังแห่งความยั่งยืน เรื่องของประชานิยม ประชากรในประเทศสามารถใช้พลังงานไฟฟ้าหรือน้ำมันในราคาถูกมากกว่าปกติหลายสิบเท่า ทำให้ประชาชนใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง นอกจากนั้นยังอุ้มราคาสินค้า ซึ่งก็คือการควบคุมและกำหนดราคาสินค้าให้ถูกกว่าความเป็นจริง ส่งผลให้ประชาชนไม่กระตือรือร้นในการทำอาชีพ ภาคธุรกิจไม่มีกำไร จึงต้องปิดตัวลง และยังไม่สนับสนุนให้ประชาชนทำธุรกิจเกษตร โดยมีการนำเข้าอาหารจากต่างประเทศแทน ซึ่งเวเนซุเอลาเป็นประเทศใกล้เส้นศูนย์สูตร มีลักษณะคล้ายประเทศไทย โดยสามารถทำการเกษตรได้ดี แต่รัฐบาลไม่สนับสนุนสิ่งนี้ ซึ่งเป็นปัจจัย 4 ในการดำรงชีวิตของผู้คน และรัฐบาลยังควบคุมอัตราการแลกเปลี่ยนเงินเพื่อป้องกันไม่ให้เงินไหลออกไปนอกประเทศ ทำให้ตลาดค่าเงินเวเนซุเอลาพังเพราะขาดแคลนเงินสกุลต่างชาติ ทำให้ไม่มีการลงทุนจากชาวต่างชาติ ส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อขั้นรุนแรง

นี่เป็นบทเรียนสำคัญที่ทุกคนสามารถเรียนรู้และนำมาปรับใช้ไม่ว่าจะกับประเทศหรือว่ากับองค์กร อย่างที่ ฟิลิป คอตเลอร์ ได้กล่าวว่า “ผู้นำเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้องค์กรอยู่รอดได้”

 

 

“เอกวาดอร์” จับมือ “โคลอมเบีย-เปรู” เสนอตัวจัดบอลโลก 2030

เอกวาดอร์ เตรียมหารือกับโคลอมเบีย และเปรูเพื่อเสนอตัวเป็นเจ้าภาพร่วมจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก ปี 2030

เลนิน โมเรโน่ ประธานาธิบดีของเอกวาดอร์ ยืนยันผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัวว่า เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา เขาได้เสนอเรื่องการเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2030 ไปให้ นายอีวาน ดูเค ประธานาธิบดีของโคลอมเบีย และ นายมาร์ติน วิซการ์ร่า ประธานาธิบดีของเปรู พิจารณา

โดยตอนนี้อยู่ในช่วงที่รัฐบาลของทั้ง 2 ประเทศตัดสินใจ และถ้าหากทั้งคู่เห็นด้วย เอกวาดอร์ ก็จะเดินหน้าเสนอตัวเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2030ในทันที

อย่างไรก็ตามทั้ง 3 ประเทศต้องขับเคี่ยวแย่งสิทธิ์กับอีกหลายชาติ ทั้งอาร์เจนติน่า, อุรุกวัย, ปารากวัย และชิลี 4 ชาติเพื่อนร่วมทวีปอเมริกาใต้ ที่เสนอตัวเป็นเจ้าภาพร่วมมาแล้วก่อนหน้านี้

นอกจากนี้ยังมี โมร็อกโก, ตูนิเซีย และแอลจีเรีย 3 ชาติจากทวีปแอฟริกา ที่พลาดการเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกในปี 2026 รวมไปถึง 4 ชาติยุโรปตะวันออกที่จับมือกัน ได้แก่ โรมาเนีย,กรีซ,บัลแกเรีย และเซอร์เบีย

สำหรับฟุตบอลโลกครั้งต่อไป จะมีขึ้นในปี 2022 ที่ประเทศกาตาร์ ส่วนในปี 2026 เป็น แคนาดา เม็กซิโก และสหรัฐอเมริกา ที่จับมือกันเป็นเจ้าภาพร่วม

Image result for “เอกวาดอร์” จับมือ “โคลอมเบีย-เปรู” เสนอตัวจัดบอลโลก 2030

ไทย-โคลอมเบีย’ จับมือขยายตลาดละติน

โคลอมเบียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 4 ในภูมิภาคละตินอเมริกา ซึ่งประเทศบราซิลมีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุด รองลงมาเป็นเม็กซิโก อาร์เจนตินา

ในปี 2562 เป็นปีแห่งการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ไทย-โคลอมเบียครบรอบ 40 ปี โดยกระทรวงการต่างประเทศมีความมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกันในอนาคต

ดำรง ใคร่ครวญ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์พิเศษว่า ปัจจุบัน ไทย-โคลอมเบียมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น และทั้ง 2 ประเทศเห็นตรงกันว่า จะผลักดันความร่วมมือด้านการค้าการลงทุนให้เพิ่มมากขึ้น

ในช่วงที่ผ่านมา โคลอมเบียตกอยู่ในสถานการณ์ปัญหาการเมืองภายในประเทศอยู่หลายสิบปี กระทั่งในปี 2554 รัฐบาลโคลอมเบียสามารถตั้งโต๊ะเจรจากับพรรคฝ่ายค้านสำเร็จ สามารถนำพาประเทศกลับสู่สันติภาพได้รวดเร็ว

“ด้วยสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมือง ทำให้โคลอมเบียสาละวนอยู่กับการจัดการปัญหาภายในประเทศ จึงยังไม่ค่อยมีปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอกมากนัก และเมื่อทุกอย่างกลับคืนสู่ความสงบเรียบร้อย ทำให้โคลอมเบียซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ฉายแสงให้เห็นโอกาสการพัฒนาและความร่วมมือทางการค้ากับต่างชาติ” รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ระบุ

ดำรง กล่าวอีกว่า โคลอมเบียมีนโยบายบุกเบิกความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศในภูมิภาคเอเชีย จึงได้กลับมาเปิดสถานเอกอัครราชทูตในประเทศไทยเมื่อปี 2556

ขณะที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลิมา ประเทศเปรู ให้การดูแลอาณาบริเวณครอบคลุมไปยังโคลอมเบีย ถ้าในอนาคตไทยจะพิจารณาเปิดสถานทูตแห่งใหม่ในภูมิภาคละตินอเมริกา เชื่อว่าโคลอมเบียจะเป็นประเทศที่ถูกพิจารณาในลำดับแรก

“ณ เวลานี้ โคลอมเบียให้ความสำคัญกับความร่วมมือกับประเทศในเอเชีย อาจยังไม่เจาะจงเป็นรายประเทศ เพราะต้องยอมรับว่า หากมองในมุมโคลอมเบียมายังเอเชีย ก็ย่อมให้ความสำคัญกับจีนเป็นชาติแรก รองลงมาเป็นญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และประเทศในอาเซียน ซึ่งประเทศไทยอยู่ในภูมิภาคอาเซียน จึงถือได้ว่าไทยอยู่ในจอเรดาร์ที่โคลอมเบียต้องการจะร่วมมือทางเศรษฐกิจด้วย” รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ระบุ

ปัจจุบัน โคลอมเบียเป็นประเทศคู่ค้าอันดับ7 ของไทยในละตินอเมริกา ขณะนี้ในมิติความร่วมมือทางเศรษฐกิจยังไม่สูงมาก เนื่องจากการค้าระหว่างกันยังน้อย อยู่ที่ประมาณ 200 ล้านดอลลาร์ ส่วนการลงทุนยังไม่เกิดขึ้นมาก ขณะที่มีนักท่องเที่ยวโคลอมเบียเดินทางมายังประเทศไทย อยู่ที่ประมาณ 1.4 หมื่นคน 

“ส่วนตัวเชื่อว่า แนวโน้มระดับการพัฒนาประเทศของโคลอมเบียจะสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะอัตราการเติบโตของจีดีพีน่าจะอยู่ที่ประมาณ 4% ซึ่งใกล้เคียงกับประเทศไทย นั่นหมายถึงมีประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใกล้เคียงกับไทยอยู่ในละตินอเมริกาด้วย จึงเป็นโอกาสทางการค้าสำหรับนักธุรกิจไทยเข้าไปทำตลาดใหม่ เพราะการแข่งขันยังไม่สูง” ดำรงกล่าว

รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ที่ผ่านมา มีบริษัทของไทยบางแห่งเข้าไปบุกเบิกในตลาดโคลอมเบีย ส่วนใหญ่ขายสินค้าผลิตภัณฑ์การเกษตร และเปิดร้านอาหารไทยที่นั้น ทั้งนี้ โคลอมเบียยังเป็นตลาดซื้อยางพารารายใหญ่จากไทยในละตินอเมริกา

ขณะเดียวกัน โคลอมเบียมีนโยบายส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ในการผลิตสินค้าประยุกต์เชิงวัฒนธรรมเช่นเดียวกับโอท็อปของไทย ซึ่งในส่วนนี้สามารถนำไปสู่ความร่วมมือระหว่างไทย-โคลอมเบีย และต่อยอดทางธุรกิจในอนาคต 

นอกจากนี้ ไทยต้องการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการผลิตกาแฟจากโคลอมเบีย เพราะที่นั่นจัดได้ว่าเป็นแหล่งผลิตกาแฟสไตล์บูติคแห่งเดียวในโลก ที่สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจกาแฟไทยต่อไป

เจ้าหน้าที่ตำรวจเผาทำลายโคเคนและกัญชาโดยเฉพาะประเทศโคลอมเบีย

เจ้าหน้าที่ตำรวจปานามา ระดมกำลังใช้มีดพร้าขนาดใหญ่ เปิดกระสอบที่ใช้บรรจุยาเสพติดอัดแท่ง ประเภทโคเคนและกัญชา ซึ่งมีน้ำหนักรวม 26.1 ตัน และสับออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ก่อนจะราดน้ำมันเพื่อจุดไฟเผาทำลาย โดยการเผาทำลายครั้งนี้ นับเป็นการเผาทำลายยาเสพติดครั้งใหญ่ที่สุดในรอบปีของปานามา โดยมีขึ้นที่บริเวณปากแม่น้ำบายาโน (Bayano) ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของกรุงปานามาซิตี้ โดยทางเจ้าหน้าที่ตำรวจรายงานว่า ยาเสพติดที่ถูกเผาทำลายในครั้งนี้ เป็นของกลางที่ตรวจยึดมาได้ จากการกวาดล้างยาเสพติดครั้งใหญ่ ในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งส่วนใหญ่เดินทางมาจากประเทศในทวีปอเมริกาใต้ โดยเฉพาะประเทศโคลอมเบีย และมีจุดหมายปลายทางที่ประเทศสหรัฐอเมริกา

ทั้งนี้ นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ปานามาสามารถตรวจยึดยาเสพติดได้มากถึง 57 ตัน โดยยังคงน้อยกว่าปีที่แล้ว ที่สามารถตรวจยึดได้มากถึง 75 ตัน

“ปู” ไปรยา ลงพื้นที่ประเทศโคลอมเบียเพื่อช่วยเหลือผู้อพยพและลี้ภัย

“ปู” ไปรยา ลุนด์เบิร์ก ในฐานะทูตสันถวไมตรีของ UNHCR ประเทศไทย ลงพื้นที่ระหว่างวันที่ 23-27 กันยายน 2562 ณ ประเทศโคลอมเบีย เพื่อเก็บภาพและข้อมูลในการทำสารคดีสั้นเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ในประเทศเวเนซุเอลา โดย สาวปู เผยความรู้สึกว่า

“ทุกๆ ครั้งที่ปูไปรู้สึกว่าสถานการณ์แต่ละที่มันยากและซับซ้อนมากในการให้ความช่วยเหลือ และในครั้งนี้ก็ไม่ง่ายขึ้นเลย ครั้งนี้เป็นจุดเปลี่ยนของชีวิตปูที่ได้เห็นวิกฤตการณ์ที่ยากสุด ซับซ้อนที่สุด มีทั้งความไม่มั่นคงในประเทศเอง มีทั้งการลี้ภัยและการอพยพที่ต้องการความช่วยเหลือที่ต่างกันไป ในพื้นที่ที่ปูไปเยี่ยมครั้งนี้ไม่ใช่ในค่ายผู้ลี้ภัยนะคะ แต่เป็นศูนย์อพยพในสถานการณ์ฉุกเฉินจริงๆ ซึ่งวิกฤตครั้งนี้ต้องการความร่วมมือจากทุกฝ่าย สถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ไม่ต่างจากสถานการณ์แห่งความเป็นความตาย พวกเขาต้องหนีออกมาแสวงหาความปลอดภัยและมาถึงชายแดนด้วยความหวาดกลัว เหนื่อยล้า และต้องการความช่วยเหลือฉุกเฉิน ปูชื่นชมการทำงานของ UNHCR ที่ทำงานอย่างรอบด้านเพื่อให้ความช่วยเหลือทุกคนอย่างเร่งด่วน และชื่นชมความเข้มแข็งและแข็งแกร่งของผู้ลี้ภัยและผู้อพยพทุกคน ปูได้เห็นกับตาตัวเองที่สะพานข้ามแม่น้ำตาชีรา Saimon Bolivar International ชายแดนโคลอมเบีย-เวเนซุเอลาที่เป็นเส้นทางหลักในการลี้ภัยของชาวเวเนซุเอลาเพื่อข้ามมาที่โคลอมเบีย ได้เห็นคนเป็นพันๆ คนข้ามสะพานหนีตายจากความโหดร้าย เห็นคนท้อง คนพิการ เด็กเล็ก ผู้ป่วยที่ต้องออกจากบ้านตัวเอง นั่นแสดงให้เห็นว่าพวกเขาอยู่ไม่ได้แล้วจริงๆ ไม่มีแม้แต่น้ำ ไฟฟ้า ยารักษาโรค หรืออาหารในการดำรงชีวิต เด็กหลายคนต้องป่วยและเสียชีวิตเพราะไม่มีนมและต้องรองน้ำที่มีสารปนเปื้อนเพื่อดื่มประทังชีวิต การขาดแคลนกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในโรงพยาบาล ทำให้อัตราการเสียชีวิตของหญิงตั้งครรภ์เพิ่มขึ้น 65% และการเสียชีวิตของเด็กแรกเกิดเพิ่มขึ้น 53% สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้ปูและ UNHCR เศร้าใจเป็นอย่างมากและต้องเร่งช่วยเหลือพวกเขาอย่างเร่งด่วนที่ศูนย์ช่วยเหลือผู้ลี้ภัยและผู้อพยพของ UNHCR บริเวณชายแดน เจ้าหน้าที่ทำงานตลอดเวลาเพราะทุกคนที่เข้ามาต่างมีภาวะฉุกเฉิน ปูเจอมีทั้งเด็กที่มีความพิการ ร่างกายผิดปกติ เด็กและผู้ใหญ่มากมายป่วยเป็นโรคขาดสารอาหาร ปูได้คุยกับคุณแม่ที่ลูกพิการ ตอนที่ปูกอดให้กำลังใจพวกเขา ร่างกายเขาเหลือแต่กระดูก ปูได้เจอกับแอนกี้ คุณแม่ลูก 2 วัย 24 ปีที่ป่วยเป็นมะเร็งระยะที่ 4 เธอต้องลี้ภัยกับคุณแม่วัย 50 ปีและลูกเล็กอีก 2 คน เพราะที่เวเนซุเอลาไม่มียารักษาโรคให้เธออีกแล้ว เธอหนีมาที่โคลอมเบียเพียงแค่เพื่อมีชีวิตอยู่ต่ออีกสักหน่อยกับแม่และลูกของเธอ ตลอดเวลาที่ปูคุยกับเธอ เธอถือผ้าเช็ดหน้าตลอดเวลาเพื่อปกปิดความป่วยของเธอไม่ให้ใครเห็น ปูได้พบกับแอนเดรียนา สามี และลูกของพวกเขา 3 คน จากเวเนซุเอลาที่เป็นกลุ่มเปราะบางที่สุด UNHCR พบพวกเขานอนข้างถนน จึงช่วยเหลือให้การรักษาและความคุ้มครอง แอนเดรียนาเจอกับความโหดร้ายในเวเนซุเอลาจนต้องอพยพมาที่โคลอมเบีย เธอไม่มีอะไรติดตัวมาเลย ต้องยอมให้ลูกและตนเองนอนข้างถนนเพื่อเอาชีวิตรอด เธออยู่อย่างหวาดกลัวทุกคืนเพราะมีกลุ่มติดอาวุธขี่มอเตอร์ไซค์วนเวียนมาถามเธอว่าจะขายอวัยวะของลูกเธอไหม เมื่อได้รับการช่วยเหลือจาก UNHCR เธอบอกว่าคืนนี้จะเป็นคืนแรกที่เธอจะปลอดภัยที่สุด ปูเดินทางไปที่ Brisas del Norte (บริซาส เดล นอร์เต้) เป็นพื้นที่ชั่วคราวที่เป็นที่พักพิงให้กับผู้ลี้ภัยชาวเวเนซุเอลา ผู้พลัดถิ่นในประเทศ และผู้ลี้ภัยชาวโคลอมเบียที่กลับสู่ถิ่นฐานกว่า 250 ครอบครัว ซึ่งพวกเขาต้องผ่านการเป็นผู้พลัดถิ่นมาตลอดชีวิต ไฮโร อิบารา ต้องลี้ภัยจากโคลอมเบียไปเวเนซุเอลาตั้งแต่อายุ 10 ขวบ เพราะความรุนแรง พ่อเขาถูกฆ่า และลุงถูกลักพาตัวจนทุกวันนี้ยังหาตัวไม่พบ เมื่อความรุนแรงเกิดขึ้นในประเทศที่เขาหนีไปอยู่ เขาตัดสินใจพาลูกที่ป่วยกลับมาที่โคลอมเบียอีกครั้งในปี พ.. 2557 โดยภรรยาและลูกอีกคนยังรออยู่ที่เวเนซุเอลาและจนวันนี้พวกเขาก็ยังไม่ได้อยู่ด้วยกัน ไฮโรทำงานเป็นนักบัญชี มีชีวิตที่ดีอยู่ในเวเนซุเอลา แต่เมื่อต้องกลับมาที่โคลอมเบียอีกครั้งเขาต้องเริ่มจากติดลบ ต้องอาศัยอยู่ในเพิงที่รกร้าง ดูแลลูกที่ป่วยขยับไม่ได้ เขายังจำได้ว่าลูกทรมานแค่ไหนที่ต้องอยู่สภาพนั้น เราอาจจะมองว่าไฮโดรอยู่ในที่พักแบบนี้ได้อย่างไร แต่สำหรับเขาที่นี่คือวัง เพราะตอนที่เขากลับมา เขามีที่อยู่เป็นเพียงผ้าพลาสติกเท่านั้น แต่ไฮโรเข้มแข็งมาก เขาสู้แม้ไม่มีความหวังว่าชีวิตจะดีกว่านี้ได้อย่างไร เขาเข้าเรียนการทำงานฝีมือเพื่อเลี้ยงชีพถึงแม้จะเป็นเรื่องที่เขาไม่ถนัด แต่เขาสามารถใช้มันเลี้ยงดูครอบครัวได้ UNHCR ช่วยเหลือพวกเขาอยู่ในพื้นที่นี้ให้ได้รับการช่วยเหลือขั้นพื้นฐาน ได้มีน้ำ มีไฟฟ้า สร้างโรงเรียนสอนฟุตบอลให้เด็ก 300 คน เยียวยาและป้องกันการรุนแรงทางเพศ ผู้ลี้ภัยและผู้อพยพได้รับการเยียวยาจิตใจ การได้อยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลและเข้าใจและตอนนี้เขาได้เจอภรรยาและลูกปีละ 2 ครั้งเท่านั้น ผ่านการโบกมือหากันที่ตรงชายแดน ปูได้เห็นผู้คนตั้งแต่เขาเดินข้ามชายแดนมาที่โคลอมเบีย ต้องมานอนอยู่ข้างถนนเพราะไม่มีที่อยู่ ไม่มีเอกสารติดตัว ระหว่างทางพวกเขาต้องเจอความโหดร้ายมากมายทั้งโดนข่มขู่ ปล้น ลักพาตัว หลอกไปขายอวัยวะ หรือ บางคนตื่นมาไม่เห็นลูกตัวเองอีกแล้ว ปูได้พบมารีและอิสเมล ลูกวัย 3 ขวบที่พิการ มารีสูญเสียสามีและต้องลี้ภัยเพราะอิสเมลป่วยหนัก เพื่อให้ลูกคนเล็กมีชีวิตรอด มารีต้องทิ้งลูกสาวและพ่อแม่ของเธอไว้ที่เวเนซุเอลา โดยไม่รู้ว่าจะได้กลับไปอีกเมื่อไหร่ มาเรียมีค่าใช้จ่ายสูงมากในการหาซื้อยาให้อิสเมลในเวเนซุเอลา เธอลี้ภัยมาโคลอมเบียและหาเลี้ยงชีพด้วยการขายขนมเพื่อแลกกับค่าเช่าบ้านให้เธอและลูก แต่ก็ทำต่อไม่ได้เพราะอิสเมลที่ป่วยหนักต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด เธอหวังว่าอิสเมลจะได้รับการรักษาที่ดีขึ้นในโคลอมเบีย UNHCR ตามหากลุ่มคนที่เปราะบางที่สุดเพื่อให้ได้ความช่วยเหลือที่เร่งด่วน ทั้งการออกเอกสารระบุตัวตน มอบความช่วยเหลือด้านการแพทย์ ที่พักพิงชั่วคราว ปัจจัย 4 การเยียวยาจิตใจ และการอยู่ร่วมกันกับคนโคลอมเบียอย่างเกื้อกูลเพื่อเขาจะได้อยู่ปลอดภัย ด้วยจำนวนผู้ลี้ภัยและผู้อพยพชาวเวเนซุเอลาที่ยังคงเพิ่มสูงขึ้น ทรัพยากรเริ่มลดน้อยลงและจำนวนครอบครัวที่ต้องการความช่วยเหลือนั้นมีมากขึ้น พวกเขาจำเป็นต้องได้รับการคุ้มครอง รวมถึงที่พักอาศัย อาหาร และยารักษาโรคในทันที ทำให้ UNHCR ไม่อาจทำงานที่สำคัญนี้ได้เพียงลำพัง เราต้องการงบประมาณกว่า 158.2 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือมากกว่า 4,900 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือพวกเขา และตอนนี้ยังขาดงบประมาณอีกถึง 1,300 ล้านบาทในการให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน

ชายแดนเวเนซุเอลา-โคลอมเบีย พบผู้หญิงขายเส้นผมเพื่อประทังชีวิต

สะพาน Simon Bolivar International Bridge นี้มีความยาวเพียง 300 เมตร แต่ความหวังที่แฝงอยู่ในดวงตาชาวเวเนซุเอลานั้นทอดยาวไกลราวไม่มีที่สิ้นสุด

สะพานแห่งนี้คือเส้นทางหลักในการลี้ภัยของชาวเวเนซุเอลาเพื่อข้ามมาที่เมือง Villa del Rosario ประเทศโคลอมเบีย เบื้องล่างคือแม่น้ำตาชีรา บนหลังของพวกเขาขนกระเป๋าเสื้อผ้า บนไหล่มีลูกน้อย ในหัวใจแบกความหวังสร้างชีวิตใหม่ ประเมินกันว่ามีชาวเวเนซุเอลาเดินเท้าข้ามสะพานแห่งนี้ประมาณ 25,000 คนต่อวัน เพื่อหนีจากวิกฤตในประเทศบ้านเกิดตัวเอง

บนสะพานผู้สื่อข่าว พบเห็นรั้วที่มีลักษณะแข็งแรง เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองอธิบายว่ามันคือรั้วกันกระสุน เนื่องจากเคยเกิดการปะทะขึ้นบริเวณพรมแดนระหว่างกองกำลังติดอาวุธ โดยหากมองลงไปด้านล่างสะพานจะเห็นจุดเข้าเมืองที่ผิดกฎหมาย ซึ่งเสี่ยงต่อการถูกลักพาตัวหรือค้ามนุษย์อย่างมาก

UNHCR และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พยายามตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลือพื้นฐานกับผู้ลี้ภัย นอกจากนี้ยังได้ติดตั้งตู้คอนเทนเนอร์สำหรับให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับบุคคลที่กำลังเปราะบาง โดยมีคนที่ต้องการความช่วยเหลือเข้ามาใช้ประมาณ 2,000-3,000 คนต่อวัน

นอกเหนือจากผู้ลี้ภัยแล้วก็ยังมีชาวบ้านที่เดินเข้ามาเพื่อซื้อหาอาหาร น้ำสะอาด ยารักษาโรค หรือของใช้อุปโภคบริโภคที่ไม่สามารถหาได้ในเวเนซุเอลา ได้พูดคุยกับคนเดินถนนหลายคน บางคนอุ้มลูกเดินเท้าจากบ้านตั้งแต่ตี 2 เพื่อฉีดวัคซีน 1 เข็มแล้วกลับบ้าน บางคนเข้ามาเพื่อขายลูกอมยังชีพในวันธรรมดา แล้วขนเงินกลับไปให้ครอบครัวในวันหยุด ทุกคนพูดตรงกันว่าพวกเขาอยู่ในช่วงยากลำบากที่สุดในชีวิต

หากเดินออกจากสะพานมาไม่นาน จะพบพื้นที่ขายของขนาดใหญ่ที่วุ่นวายมาก มีทั้งจุดเรียกรถเข้าเมือง รถเข็นขายอาหารและน้ำดื่ม แผงลอยขายบุหรี่ โทรศัพท์มือถือ หรือของใช้อื่นๆ แต่ที่สะดุดตาและสะกิดหูมากที่สุดคือ คนตะโกนเป็นภาษาสเปนว่า “รับซื้อเส้นผม!”

สอบถามจึงได้คำตอบว่าพวกเขารับซื้อเส้นผมผู้หญิงชาวเวเนซุเอลาไปทำวิก ผู้สื่อข่าวพบผู้หญิงผมยาวคนหนึ่งกำลังถูกตัดผมอยู่ แต่เมื่อจะเข้าไปขอสัมภาษณ์และถ่ายรูปก็โดนโบกมือไล่

ภายหลังจึงทราบว่าผู้หญิงเวเนซุเอลารักสวยรักงามมาก เส้นผมจึงเปรียบเสมือนของมีค่าที่สุดอย่างหนึ่งในชีวิต การที่ต้องยอมสูญเสียเส้นผมเพื่อแลกกับเงินเล็กๆ น้อยๆ ในการประทังชีวิตจึงเป็นสัญลักษณ์ของความยากจนข้นแค้น และพวกเธอไม่อยากให้ใครมาบันทึกภาพความเจ็บปวดนั้น

ความล่มสลายทางเศรษฐกิจในเวเนซุเอลาสร้างความลำบากให้กับประชาชนในขั้นเลวร้าย ตั้งแต่ปี 2015 มีชาวเวเนซุเอลาต้องลี้ภัยกว่า 4.3 ล้านคน เฉลี่ย 5,000 คนต่อวัน โดยจำนวน 1.4 ล้านคนหนีเข้ามาในโคลอมเบีย พวกเขาเหล่านี้ขาดแคลนอาหาร น้ำสะอาด ยารักษาโรค ไร้ซึ่งความปลอดภัย ถูกคุกคามทางเพศ ค้ามนุษย์ ลักพาตัว หรือกระทั่งฆ่า

UNHCR ระบุว่า วิกฤตเวเนซุเอลาถือเป็นวิกฤตด้านผู้ลี้ภัยของโลกที่ร้ายแรงที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตซีเรีย และรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของลาตินอเมริกา

แลกเงินที่ชายแดนเวเนซุเอลา-โคลอมเบีย

กองธนบัตรโบลิวาร์ หรือที่เรียกอย่างเป็นทางการว่า Venezuelan Bolivar Fuerte (VER) ซึ่งเป็นสกุลเงินของประเทศเวเนซุเอลา วางอยู่บนโต๊ะเป็นตั้งๆ จำนวนหลายปึก เสียงตะโกนภาษาสเปนจากพ่อค้าร่างใหญ่เรียกให้เราเข้าไปดูสินค้าของเขา กะเกณฑ์ด้วยสายตาเงินกองพะเนินนั้นน่าจะมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 30 ล้านโบลิวาร์

ผู้สื่อข่าว ลงพื้นที่บริเวณชายแดน Paraguachon ในเมือง Maicao ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของโคลอมเบียติดกับเวเนซุเอลา ชายแดนนี้มีความพิเศษตรงที่ไม่มีจุดตรวจเอกสารใดๆ ทำให้ชาวเวเนซุเอลาที่ต้องการมาทำงานหรือเริ่มต้นชีวิตใหม่เพื่อหลุดพ้นจากวิกฤตในประเทศตัวเองหลั่งไหลมาเป็นจำนวนมาก

แม้อากาศจะร้อนจัดเกือบทะลุ 40 องศาเซลเซียส แต่ผู้คนจำนวนมากต่างออกมาเดินเต็มถนนจนแทบจะเหยียบเท้ากัน ส่วนใหญ่จะขนของมาค้าขาย โดยสินค้าที่พบเห็นมากที่สุดคือน้ำมัน เนื่องจากเวเนซุเอลาเป็นประเทศที่ผลิตน้ำมันได้มากและราคาถูก เด็กๆ อายุไม่เกิน 5-6 ขวบเดินเท้าเปล่าถือกรวยเติมน้ำมันตะโกนหาลูกค้า นอกเหนือจากนั้นก็จะเป็นรถเข็นขายสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป

จุดที่ดึงดูดความน่าสนใจมากที่สุดคือจุดแลกเงิน โดยตั้งเป็นโต๊ะง่ายๆ มีเงินปึกใหญ่วางกองเป็นตั้งเสมือนเป็นป้ายร้าน ผู้สื่อข่าว THE STANDARD ถามว่าเงินทั้งกองนั้นเทียบเป็นมูลค่าประมาณเท่าไร พวกเขาตอบว่า 100 ดอลลาร์ หรือประมาณ 3,000 บาท แต่เงินกองโตซึ่งคาดด้วยสายตาน่าจะประมาณ 30 ล้านโบลิวาร์นี้ พวกเขาบอกว่าเพียงพอสำหรับการกินอยู่ขั้นพื้นฐานในเวเนซุเอลาได้เพียง 1 สัปดาห์เท่านั้น เนื่องจากข้าวของราคาแพงมากจากปัญหาเงินเฟ้อขั้นรุนแรง (Hyperinflation)

ผู้สื่อข่าว THE STANDARD ลองแลกเงิน 1,000 เปโซโคลอมเบีย (ประมาณ 9 บาท) ได้เงินเวเนซุเอลาคืนมาประมาณ 6,500 โบลิวาร์ แต่คาดว่าน่าจะโดนพ่อค้าหลอก เพราะเมื่อกดตัวเลขในเว็บไซต์อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา พบว่าควรจะได้เงินจำนวน 73,826 โบลิวาร์

แล้วเงินจำนวนนี้ซื้ออะไรได้บ้างในเวเนซุเอลา?

Gustavo  Pino ศิลปินชาวเวเนซุเอลาผู้ลี้ภัยวัย 48 ปี บอกกับ THE STANDARD ว่า เงินจำนวนนั้น “แม้แต่เศษคุกกี้ 1 ชิ้นก็ยังซื้อไม่ได้” แต่ในโคลอมเบียอาจกินอาหารเช้าราคาถูกได้ 1 มื้อ

ค่าเงินของเวเนซุเอลาไม่มีมูลค่าจนศิลปินหลายคนนำธนบัตรโบลิวาร์มาทำเป็นกระเป๋าถือหรือของตกแต่งบ้านออกวางจำหน่าย

สำนักข่าวต่างประเทศเคยรายงานว่า เงินเดือนขั้นต่ำของชาวเวเนซุเอลาอยู่ที่ประมาณ 5.5 ดอลลาร์ หรือ 165 บาท แทบจะซื้ออะไรเลี้ยงชีพไม่ได้เลย

นักเศรษฐศาสตร์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เคยเตือนว่า อัตราเงินเฟ้อในเวเนซุเอลาอาจพุ่งแตะระดับ 1,000,000% ในปีนี้

ความล่มสลายทางเศรษฐกิจในเวเนซุเอลาภายใต้การบริหารของประธานาธิบดีนิโคลัส มาดูโร สร้างความลำบากให้กับประชาชนในขั้นเลวร้าย

ตั้งแต่ปี 2015 มีชาวเวเนซุเอลาต้องลี้ภัยกว่า 4.3 ล้านคน โดยจำนวน 1.4 ล้านคนหนีเข้ามาในโคลอมเบีย เฉลี่ย 5,000 คนต่อวัน พวกเขาเหล่านี้ขาดแคลนอาหาร น้ำสะอาด ยารักษาโรค ไร้ซึ่งความปลอดภัย ถูกคุกคามทางเพศ ค้ามนุษย์ ลักพาตัว หรือกระทั่งฆ่า

UNHCR ระบุว่า วิกฤตเวเนซุเอลาถือเป็นวิกฤตด้านผู้ลี้ภัยของโลกที่ร้ายแรงที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตซีเรีย และรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของลาตินอเมริกา

ความน่าสนใจของวิกฤตครั้งนี้คือ ผู้ลี้ภัยประมาณ 60% เป็นคนทำงานปกติ มีอาชีพการงานเหมือนคนทั่วไป หลายคนเป็นพนักงานบริษัท พนักงานหน่วยงานภาครัฐ หรือกระทั่งเป็นเจ้าของกิจการ แต่ชีวิตกลับพลิกผันกลายเป็นคนตกงานในพริบตา

Gustavo Pino ศิลปินชาวเวเนซุเอลากล่าวกับ THE STANDARD ว่า เขาอยากตั้งรกรากที่โคลอมเบีย สอนศิลปะและขายผลงานเพื่อเก็บเงินพาครอบครัวย้ายตามมาที่นี่ เมื่อถามว่าอยากกลับไปใช้ชีวิตที่บ้านเกิดไหม เขาตอบว่า แม้ว่าเขาจะฝันอยากเห็นเวเนซุเอลากลับมาเป็นเหมือนเดิม แต่ตนไม่อยากกลับไปอีกแล้ว เพราะที่นั่นหาเงินยาก ไม่มีงานให้ทำ และต่อให้หาได้ก็ไม่มีทางเพียงพอกับชีวิต

“ผมไม่ได้พูดเล่น เงินโบลิวาร์มันหมดมูลค่าไปแล้วครับ” Gustavo Pino กล่าว

 

โคลอมเบียใช้กลยุทธ์แจกยาให้เสพ แก้ปัญหายาเสพติดระบาด ลดอาชญากรรม 

ประเทศโคลอมเบีย แก้ปัญหายาเสพติดในวิธีแปลกใหม่ โดยอนุญาตให้ประชาชนสามารถครอบครองยาเสพติดครอบครองยาเสพติดเช่นกัญชาและโคเคนเอาไว้เสพได้ แต่ห้ามมีไว้เพื่อจำหน่าย ซึ่งหลังจากนโยบายดังกล่าวเมืองโบโกตาซึ่งเป็นเมืองหลวงของโคลอมเบีย สงครามในประเทศลดลงอย่างเห็นได้ชัด

นอกจากนี้บางประเทศในยุโรปเช่น เดนมาร์ก นอร์เวย์ ใช้โครงการแจกยาเสพติด แจกยาเสพติดโดยรัฐบาลเป็นผู้เริ่มทำขึ้นด้วย ต้องมีการลงทะเบียนให้ผู้ที่อยากครอบครองยา แล้วค่อยๆลดจำนวนลง ซึ่งสามารถลดอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในสังคมได้ด้วย

Image result for โคลอมเบียใช้กลยุทธ์แจกยาให้เสพ

สหรัฐกังวลโคลอมเบียมีพื้นที่ปลูกต้นโคคา วัตถุดิบผลิตโคเคนสูงขึ้น

นอกจากที่นายไมค์ พอมเพโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ ได้พบหารือกับประธานาธิบดีอิบัน ดูเก ผู้นำโคลอมเบีย ในประเด็นการแก้ไขปัญหาวิกฤตในเวเนซุเอลานั้น อีกหนึ่งประเด็นที่มีการหารือกันคือเรื่องของการปลูกต้นโคคาในโคลอมเบีย ที่เป็นวัตถุดิบในการผลิตโคเคน

โดยสำนักข่าวบีบีซีรายงานว่า นายพอมเพโอ ระบุว่า มีความกังวลอย่างยิ่งสำหรับการเพิ่มขึ้นของผลิตผลจาก”ใบโคคา” ในโคลอมเบีย ซึ่งใบโคคานี้เป็นวัตถุดิบในการผลิตโคเคน

โดยในการหารือกันทั้งสองระบุว่า จะลดผลิตผลจากต้นโคคาลง 50 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี 2066

“สหรัฐเป็นกังวลอย่างมากกับการเพิ่มขึ้นของการปลูกต้นโคคา และผลิตผลจากต้นโคคาที่เพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ปี 2556 รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นของทั้งสองประเทศ เรารู้ว่าเราต้องลดความต้องการของในประเทศลง และเราต้องทำงานควบคู่กับโคลอมเบียไปด้วยกัน” รมว.ต่างประเทศสหรัฐระบุ

ด้านประธานาธิบดีโคลอมเบียนั้นได้กล่าวขอบคุณสหรัฐในการช่วยเหลือในการปราบปรามยาเสพติด

ซึ่งโคลอมเบียต่อสู้มานานหลายปีเพื่อจัดการกับการผลิตโคเคน โดยสหรัฐฯให้เงินประมาณ 400 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี เพื่อช่วยต่อสู้กับผู้ผลิตและผู้ค้า

ทั้งนี้เมื่อเดือนที่ผ่านมาประธานาธิบดีดูเกระบุว่า ในปี 2561 ได้กำจัดพื้นที่เพาะปลูกพืชผิดกฎหมายไปมากกว่า 800 ตารางกิโลเมตร และในปี 2562 รัฐบาลตั้งเป้าที่จะกำจัดอีก 1,000 ตารางกิโลเมตร

รายงานขององค์กรสหประชาชาติเปิดเผยเมื่อเร็วๆ นี้ ว่า จำนวนพื้นที่เพราะปลูกต้นโคคาในโคลอมเบียเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ โดยเมื่อปลายปี 2560 พื้นที่ปลูกต้นโคคาในโคลอมเบียได้เพิ่มขึ้น 1,710 ตารางกิโลเมตร มากกว่าปี 2559 17 เปอร์เซ็นต์

ทั้งนี้โคลอมเบียเป็นประเทศผู้ผลิตโคเคนรายใหญ่ที่สุดของโลก ขณะที่สหรัฐเป็นประเทศผู้บริโภครายใหญ่ที่สุดของโลก