ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติของโคลอมเบียลาออกจากตำแหน่งแล้วในวันพุธ (17 ก.พ.) หนึ่งวันหลังจากจเรตำรวจเผยว่าเขาจะถูกสอบสวนฐานต้องสงสัยเกี่ยวข้องจัดตั้งแก๊งโสเภณีชายภายในกองกำลัง ซึ่งมีไว้สำหรับปรนนิบัติพัดวีสมาชิกรัฐสภาและเจ้าหน้าที่ระดับสูง
พลตำรวจเอก โรดอลโฟ ปาโลมิโน ยังจะถูกสืบสวนตามข้อกล่าวหาร่ำรวยผิดปกติและดักฟังโทรศัพท์ของผู้สื่อข่าวอย่างผิดกฎหมาย หลังจากก่อนหน้านี้เคยถูกกล่าวหาจากเหล่านายตำรวจว่านำพวกเขาเสนอขายบริการทางเพศ ข้อกล่าวหาที่เขาปฏิเสธ
ปาโลมิโนระบุในถ้อยแถลงว่า เขาจะยื่นใบลาออกต่อประธานาธิบดี ฮวน มานูเอล ซานโตส “ที่รับทราบถึงความบริสุทธิ์ของผมในคำกล่าวอ้างต่างๆ นานาที่ผมถูกกล่าวหา” พร้อมระบุว่าข้อกล่าวหาเหล่านั้นไร้สาระโดยสิ้นเชิงและมีเป้าหมายทำลายชื่อเสียงของกองกำลังตำรวจ
จเรตำรวจ อเลฮานโดร ออร์โดเนซ ซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบการประพฤติผิดของเจ้าหน้าที่รัฐ แถลงเปิดการสืบสวนเมื่อวันอังคาร (16 ก.พ.) ขณะที่ว่ากันว่าขบวนการโสเภณีตำรวจชายนี้เกิดขึ้นระหว่างปี 2004 ถึง 2008
พลตำรวจเอก ปาโลมิโน รับราชการมานานกว่า 38 ปี และขึ้นดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองกำลังตำรวจเมื่อ 2 ปีครึ่งที่ผ่านมา
ในการแถลงร่วมกับครอบครัว พลตำรวจเอก ปาโลมิโนยืนยันถึงความบริสุทธิ์ของตนเอง โดยบอกว่า “ผมไม่เคยทำผิดใดๆ ในข้อกล่าวหาที่มีต่อตัวผม และผมเชื่อมั่นว่าการสืบสวนจะช่วยกอบกู้ชื่อเสียงของผมคืนมา”
นอกจากนี้แล้วเขายังได้มอบเอกสารแก่คณะสืบสวนที่พิสูจน์ว่าเงินและทรัพย์สินของเขามาจากไหน พร้อมระบุว่าข้อกล่าวหาต่างๆ ที่มีต่อตัวเขานั้นเป็นความพยาบาททางการเมืองที่ออกแบบมาเพื่อขับพ้นจากตำแหน่ง
การสืบสวนคราวนี้เริ่มต้นจากคำกล่าวหาของร้อยตำรวจเอกรายหนึ่งซึ่งลาออกแล้ว ที่อ้างว่าถูกล่วงละเมิดโดยเจ้าหน้าที่ระดับสูงระหว่างที่เขายังเป็นนักเรียนนายร้อย โดยในคำร้องเรียนร้อยตำรวจเอกรายนี้บอกว่าในตอนนั้นเขาถูกหว่านล้อมและข่มขู่ให้มีเพศสัมพันธ์กับพวกเจ้าหน้าที่ระดับสูง
ส่วนจเรตำรวจเผยว่า จากการรวบรวมพยานหลักฐานโดยสำนักงานของเขา มีวุฒิสมาชิกอีกคนที่ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการค้าประเวณีนี้เช่นกัน พร้อมระบุว่าเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นภายใต้การช่วยเหลือและสมคบคิดของตำรวจหลายนาย ในนั้นรวมถึงพลตำรวจเอก โรดอลโฟ ปาโลมิโน ผู้บัญชาการตำรวจ
ในส่วนของข้อกล่าวหาดักฟังขึ้นก็เกี่ยวข้องกับคดีนี้เช่นกัน โดยตำรวจหลายนายถูกกล่าวหาดักฟังโทรศัพท์ของพวกผู้สื่อข่าวที่กำลังตรวจสอบเรื่องอื้อฉาวดังกล่าว
Category: News
โคลอมเบียเลือกตั้งนายกเทศมนตรีหญิงเข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นครั้งแรก
ชาวโคลอมเบียเลือกตั้งนายกเทศมนตรีหญิงเข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นครั้งแรกในกรุงโบโกตาหลังการลงนามข้อตกลงสันติภาพในปี 2559 คลอเดีย โลเปซ เป็นนายกเทศมนตรีหญิงคนแรกและเป็นคนรักเพศเดียวกันคนแรกที่ได้เข้ามาดำรงตำแหน่ง เธอมีภาพลักษณ์เป็นฝ่ายซ้ายที่ฉะกับนักการเมืองหัวอนุรักษ์อย่างตรงไปตรงมาและมีจุดยืนต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันมายาวนาน แต่ก็มีเสียงที่บอกว่าเธอหุนหันพลันแล่นเกินไป
29 ต.ค. 2562 คลอเดีย โลเปซ หญิงอายุ 49 ปี คือผู้ชนะการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีกรุงโบโกตา เมืองหลวงประเทศโคลอมเบียซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 27 ต.ค. ที่ผ่านมา คลอเดียสังกัดพรรคกรีนอะไลอันซ์ เคยดำรงตำแหน่งเป็น ส.ว. และเคยเป็นผู้แทนลงเลือกตั้งรองประธานาธิบดีในปี 2561 นอกจากนี้ยังเป็นนายกเทศมนตรีหญิงคนแรกและเป็นคนรักเพศเดียวกันคนแรกที่ได้รับตำแหน่งที่ถือว่าสำคัญเป็นอันดับที่สองรองลงมาจากประธานาธิบดี
อาร์ลีน ทิคเนอร์ ศาตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโรซาริโอกล่าวว่า ชัยชนะของโลเปซถือเป็นประวัติศาสตร์ในหลายระดับ ทั้งเรื่องที่เธอเป็นผู้หญิงคนแรกและคนรักเพศเดียวกันคนแรกที่ชนะการเลือกตังนายกเทศมนตรีในโคลอมเบีย และเรื่องที่เธอเป็นคนที่ต่อสู้กับการทุจริตคอร์รัปชันมายาวนานทำให้ชัยชนะของเธอน่าจะเป็นเสียงที่สร้างความฮึกเหิมให้กับเจ้าหน้าที่ทางการคนอื่นๆ ที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาในโคลอมเบียร่วมมือกับเธอ
การเลือกตั้งเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาถือเป็นการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ที่มีการลงนามข้อตกลงสันติภาพร่วมกันระหว่างกลุ่มกบฏ FARC กับรัฐบาล ซึ่งถือเป็นการปิดฉากความขัดแย้งที่มีมายาวนาน 52 ปี
โลเปซชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 35 เป็นนักการเมืองที่มีภาพลักษณ์เป็นคนโผงผางและหุนหันพลันแล่น เธอเป็นคนที่แสดงการต่อต้านนักการเมืองฝ่ายขวาจัดอย่างหนักแน่นทำให้เธอได้คะแนนนิยมจากประชาชนฝ่ายซ้ายและสายกลาง อย่างไรก็ตามความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปที่มีต่อการดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีของเธอนั้นมีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
ไฮเด คาลดาส เจ้าของร้านค้าอายุ 69 ปีบอกว่าโลเปซไม่น่าจะใช่ทางเลือกที่ดีเพราะเธอมีความหุนหันพลันแล่นมีความคิดกลับไปกลับมาไม่แน่นอน ขณะที่ครูอายุ 44 ปี ปิอา กีโรกา ผู้ลงคะแนนให้โลเปซบอกว่าเธอเป็นคนที่จะสามารถจัดการเมืองได้ดีและมีการทุจริตน้อย
ทั้งนี้ก็มีกลุ่มคนที่ชื่นชมโลเปซในฐานะที่เธอเป็นนักการเมืองหญิงรักหญิงคนแรกที่เปิดเผยในเรื่องนี้ เธอและคู่รักของเธอคือแองเจลิกา โลซาโน ต่างก็เป็นนักการเมืองพรรคเดียวกันที่มีส่วนช่วยสนับสนุนรณรงค์ประเด็น LGBT ทั้งคู่ โจฮานา รินกง ครูอายุ 29 ปี บอกว่าในฐานะที่เธอเป็นหญิงเลสเบี้ยนคนหนึ่ง เธอรู้สึกว่าความหลากหลายทางเพศของโลเปซเป็นสิ่งที่ดีต่อโบโกตาและโคลอมเบีย
ประชาชนบางส่วนมองว่าถึงแม้วโลเปซจะเป็นคนที่ “มีเรื่องอื้อฉาวเล็กๆ น้อยๆ” และ “มีปฏิกิริยาโต้ตอบแรงไปหน่อย” แต่ก็มีคนชื่อชอบที่เธอเป็นคนตรงไปตรงมาทำให้รู้สึกว่า “สิ่งที่คุณเห็นคือสิ่งที่คุณจะได้รับ”
โลเปซเคยวิพากษ์อดีตประธานาธิบดีสายอนุรักษ์นิยม อัลวาโร อูริเบ ในสภาว่าเป็น “ปลิงที่วิ่งหนีลงท่อระบายน้ำ”
อูริเบแสดงการยอมรับชัยชนะของโลเปซผ่านทางทวิตเตอร์ว่า “พวกเราพ่ายแพ้ ผมยอมรับความพ่ายแพ้นี้ด้วยความถ่อมตน การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยไม่มีวันจบสิ้น”
โลเปซเคยต้องหนีออกจากโคลอมเบียชั่วคราวในปี 2556 หลังจากถูกขู่ฆ่าจากการที่เธอทำการศึกษาวิจัยเรื่องบทบาทของกองกำลังผสมทหารตำรวจในการเมืองโคลอมเบีย เธอเป็นคนที่พยายามต่อต้านการทุจริตคอรัปชันในโคลอมเบียมาเป็นเวลายาวนานและในเดือน ส.ค. 2561 เธอก็พยายามผ่านร่างกฎหมายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ
เซอร์จิโอ กุซมาน นักวิเคราะห์การเมืองกล่าวว่าโลเปซเป็นคนที่พูดในเชิงต่อต้านการทุจริตอย่างหนักแน่นมากและประเด็นนี้จะกลายมาเป็นหัวใจหลักของการบริหารของเธอ นอกจากนี้การที่เธอชนะการเลือกตั้งยังถือเป็นข่าวดีสำหรับขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองทางเลือกที่สามารถแสดงให้เห็นจุดยืนทางอุดมการณ์ที่หนักแน่นกว่าพรรคการเมืองแบบดั้งเดิม
COLUMBIA-ประเทศในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้ที่พลิกผันแบบก้าวกระโดดจากปัญหายาเสพติดเป็นความรุ่งโรจน์
ประเทศโคลอมเบียหรือสาธารณรัฐโคลอมเบียเป็นประเทศในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้ มีอาณาเขตทางทิศเหนือติดทะเลแคริบเบียนทิศตะวันออกติดต่อกับเวเนซุเอลาและบราซิล ทางทิศใต้ติดต่อกับเปรูและเอกวาดอร์ ทิศตะวันตกติดต่อกับปานามาและมหาสมุทรแปซิฟิก มีเนื้อที่ทั้งหมด 1,138,910 ตารางกิโลเมตร
กรุงโบโกตาเป็นเมืองหลวง มีประชากรทั้งหมดประมาณ 46.41 ล้านคน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ ใช้ภาษาสเปนเป็นภาษาราชการ ประเทศโคลอมเบียตั้งอยู่ในแถบภูมิอากาศ อากาศร้อนชื้นในบริเวณแถบชายฝั่งและที่ราบทางด้านตะวันออก บริเวณเทือกเขามีอากาศเย็น
ประเทศโคลอมเบียมีชื่อของประเทศมาจากชื่อของนักสำรวจคริสโตเฟอร์ โคลัมบัสในภาษาอังกฤษ โดยชื่อเรียกว่า “กริสโตบัล โกลอง” ในภาษาสเปนและ “กริสโตโฟโร โกลอมโบ” ในภาษาอิตาลี ถูกนำมาใช้โดยนักปฏิวัติ “ฟรังซิสโก เด มีรันดา” ซึ่งเขาใช้อ้างอิงถึง “โลกใหม่” โดยเฉพาะดินแดนและอาณานิคมอเมริกันทั้งหมดที่อยู่ภายใต้การปกครองของสเปนและโปรตุเกส ชื่อนี้ได้มาเป็นชื่อของสาธารณรัฐโคลอมเบียในปี พ.ศ. 2362 ซึ่งประกอบด้วยดินแดนของประเทศโคลอมเบีย เวเนซุเอลา เอกวาดอร์และปานามาในปัจจุบัน
สถานภาพสาธารณรัฐโคลอมเบียสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2373 เมื่อเวเนซุเอลาและเอกวาดอร์ขอแยกตัวออกไป ส่วนจังหวัดกุนดีนามาร์กา กลายเป็นประเทศใหม่ในชื่อ สาธารณรัฐนิวกรานาดา
ต่อมาในปี พ.ศ. 2406 นิวกรานาดาเปลี่ยนชื่อทางการของตนเป็น “สหรัฐโคลอมเบีย” ก่อนที่จะมาเปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐโคลอมเบียตั้งแตปี พ.ศ. 2429
ปัจจุบันสถานะทางการเมืองของประเทศโคลอมเบียมีความมั่นคงมากขึ้น เนื่องจากผู้นำของประเทศดำเนินการปกครองแบบประชาธิปไตยอย่างจริงจัง พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้ก้าวหน้าอย่างมาก นอกจากนี้ยังได้แก้ไขปัญหาทางด้านอาชญากรรมและปัญหายาเสพติด ในเรื่องของยาเสพติดได้ปราบปรามได้อย่างเด็ดขาด ได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา ประเทศโคลอมเบียเป็นประเทศที่มีการผลิตโคเคนและเฮโรอีนมากเป็นอันดับต้นของโลก ยาเสพติดประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ได้ถูกส่งไปยังสหรัฐอเมริกาและเป็นแหล่งฟอกเงินของกระบวนการค้ายาเสพติด
หลังจากการแก้ปัญหาภายในประเทศ ทำให้โคลอมเบียมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เศรษฐกิจมีอัตราการเจริญเติบโตสูงสุดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้ประเทศก้าวหน้าไปค่อนข้างรวดเร็ว
นโยบายเศรษฐกิจหลักได้แก่
การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การสนับสนุนการค้าเสรีและการลดอุปสรรคทางการค้า ให้การสนับสนุนภาคเกษตรกรรมและธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เน้นการส่งเสริมความเท่าเทียมด้านเศรษฐกิจให้แก่ประชาชนและเพิ่มประสิทธิภาพของการบริการสาธารณะและส่งเสริมให้เป็นแหล่งการศึกษาและความรู้ด้านวิทยาศาสตร์
จากผลงานของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งที่สร้างเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ปราบปรามผู้ก่อการร้ายและปราบปรามยาเสพติดอย่างจริงจัง และการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ส่งผลให้ประเทศโคลอมเบียในปัจจุบันมีความเจริญมากกว่าประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ยังดำเนินนโยบายการต่างประเทศด้วยการเปิดตลาดการค้ากับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก
ตลาดที่ดีที่สุดในเมืองMedellínประเทศโคลอมเบีย
ตลาดที่ดีที่สุดในเมืองMedellínประเทศโคลอมเบีย Medellínเป็นเมืองที่ได้รับความนิยมมากที่สุดแห่งหนึ่งในอเมริกาใต้พร้อมกับนักเดินทางวันนี้ด้วยเหตุผลหลายประการ แต่หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่ดีที่สุดในเมืองต้องเป็นตลาดที่หลากหลายที่มีให้เลือกมากมาย จากตลาดอาหารกลางแจ้งไปยังตลาดนัดและตลาดหัตถกรรมระดับหรูที่นี่เป็นตลาดที่ดีที่สุดในการค้นหาในเมืองแห่งฤดูใบไม้ผลินิรันดร์
ตลาดนัด Envigado
ตลาดหมัดรายเดือนในจัตุรัสหลักของย่าน Envigado อันงดงามตลาดนี้เป็นสถานที่ที่เหมาะสำหรับการเยี่ยมชมหากคุณเป็นเจ้าของของที่ระลึกจากโคลอมเบียดั้งเดิมเพื่อพากลับบ้านจากการเดินทางของคุณ คุณสามารถหาอะไรก็ได้จากเสื้อปอนโชทอแบบดั้งเดิมและเปลญวนกับหมวกทั่วไปและกระเป๋าจากพื้นที่ Antioquia นอกจากนี้ยังมีช่างฝีมือเครื่องหนังและผ้าขนสัตว์ที่เล็งเห็นถึงการค้าของพวกเขารวมถึงอาหารตามถนนและเครื่องดื่มทั่วไปที่จะเพลิดเพลินไปกับ
คุณสามารถเลือกซื้อกระเป๋า ‘carriel’ แบบดั้งเดิมได้ที่ตลาดนัด Envigado Flea Market | คริสเบลล์ / © Culture Trip
ซานเฟอร์นันโดพลาซ่า
นี่เป็นตลาดนัดขนาดเล็กและเป็นระยะทางที่ไม่ต่อเนื่องใกล้กับ Avenida Poblado สถานที่ตั้งของตลาดซานเฟอร์นันโดพลาซ่าใกล้กับย่านที่ทันสมัยที่สุดของMedellínหมายความว่ามีสินค้าขายดีทั้งสะโพกและสินค้าที่ขายดีเช่นโลชั่นอินทรีย์และครีมกันแดดเครื่องนุ่งห่มและอุปกรณ์เสริมที่ทำด้วยมือและผลิตภัณฑ์ยุคใหม่ คุณยังสามารถเพลิดเพลินกับการนวดหรือทำเล็บเท้าได้หากการช็อปปิ้งและการแบกกระเป๋าทำให้คุณรู้สึกเจ็บ
ค้าปลีก
ตลาดการค้าขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในตัวเมืองMedellín Minorista เป็นหนทางไกลจากร้านบูติกบูติคสะโพกที่นำเสนอในหลายจุดที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ นี่คือตลาดในประเทศที่เต็มไปด้วยความวุ่นวายขายของจากเสื้อผ้ามือสองไปจนถึงผลไม้และผัก มีขายผลไม้มากมายใน Minorista ดังนั้นจึงเป็นสถานที่ที่สมบูรณ์แบบสำหรับการเที่ยวชมผลไม้ DIY จากMedellínการสุ่มตัวอย่างผลไม้แปลก ๆ และแปลกใหม่ที่โคลัมเบียมีความอุดมสมบูรณ์
มีผลไม้อร่อยมากมายให้ตัวอย่างในตลาดของMedellín | © CucombreLibre / Flickr
Mercado del Rio
Mercado del Rio เป็นตลาดการทำอาหารใหม่ล่าสุดของMedellín (เปิดอย่างเป็นทางการในเดือนตุลาคม 2016) เป็นพื้นที่ที่มีคลังสินค้าขนาดใหญ่เหมือนกับร้านอาหารเล็ก ๆ 40 หรือ 50 ร้านอาหารและบาร์และมีเอกลักษณ์เฉพาะในโคลัมเบีย (Bogotáมีตลาดอาหารสำหรับรถบรรทุกเล็ก ๆ แต่ไม่มีอะไรในระดับนี้) มีร้านอาหารจากทั่วทุกมุมโลกไม่เพียง แต่เป็นชาวโคลอมเบียคลาสสิกดังนั้นหากคุณกำลังมองหาความอร่อยแบบอิตาลีเปรูหรือเม็กซิกันก็เป็นสถานที่เหมาะสำหรับการไปทานอาหารเที่ยง
El Hueco
El Huece ซึ่งแปลว่า ‘หลุม’ เป็นที่ตั้งของแหล่งช็อปปิ้งต่อรองราคาถูกที่สุดในMedellínและสามารถหายตัวไปในกระต่ายกระต่ายของคอกม้าและร้านค้าที่ทำขึ้นในตลาดท้องถิ่นที่วุ่นวายนี้ ตั้งอยู่ในย่านดาวน์ทาวน์Medellínใกล้กับ Parque de las Luces และ Botero Plaza และอยู่ห่างจากตลาดน้อยกว่าร้านค้าและร้านค้ามากมาย คุณสามารถหาอะไรก็ได้ (และเราหมายถึงอะไร) ใน El Hueco และมักมีราคาถูกมาก นี้แน่นอนสำหรับนักท่องเที่ยวที่มีงบประมาณ จำกัด
El Hueco ในเมืองMedellín | © Colores Mari / Flickr
El Pulguero
ตลาดนี้เป็นที่ชื่นชอบในท้องถิ่นที่แน่นอน แต่ใช้เวลาเพียงสี่ครั้งต่อปีในช่วงสุดสัปดาห์ที่สามของเดือนมีนาคมมิถุนายนกันยายนและธันวาคม: ขณะที่พวกเขากล่าวว่าการขาดงานทำให้หัวใจงอกขึ้น! El Pulguero จัดขึ้นนอกเมืองในเขต Llanogrande อันเงียบสงบและสวยงามเป็นเวลาสามวัน (หลายครอบครัวในท้องถิ่นมีค่ายพักแรมอยู่ตลอดเวลา) และมีร้านขายสินค้านับร้อยที่จำหน่ายอาหารทุกอย่างตั้งแต่อาหารที่มีคุณภาพจนถึงผลิตภัณฑ์ฝีมือที่สวยงาม คอกม้าขายอะไร แต่ที่ดีที่สุดดังนั้นควรเตรียมพร้อมสำหรับกระเป๋าสตางค์ของคุณที่จะตี
Alejo ซาน
จัดขึ้นในวันเสาร์แรกของทุกเดือนใน Parque Bolivar San Alejo เป็นตลาดสินค้าหัตถกรรมที่สนุกสนานและมีสีสันที่มีบรรยากาศแบบครอบครัวที่เป็นกันเอง San Alejo มีร้านขายของที่ระลึกราคาประหยัดและของที่ระลึกมากมายสำหรับขาย San Alejo เป็นแหล่งท่องเที่ยวและของขวัญสำหรับครอบครัว
‘Juan Valdez’ แบรนด์กาแฟโคลอมเบีย สู้ศึกตลาดโลก
ในโคลอมเบีย ประเทศขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ในดินแดนละตินอเมริกา กาแฟเป็นมากกว่าเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมกาแฟครองสัดส่วนมากกว่า 8 เปอร์เซ็นต์ ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) สร้างแรงงานทั้งทางตรงและทางอ้อมมากกว่า 1 ล้านคน หลายเมืองๆ ที่ปลูกกาแฟมากกว่า 200 ปี กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ดึงดูดเงินตราต่างประเทศจำนวนมหาศาล
กาแฟที่ผลิตในโคลอมเบียมีชื่อเสียงในเรื่องบอดี้ที่ค่อนข้างเบา มีความเปรี้ยวต่ำ รสชาติสมดุลกลมกล่อม เป็นหนึ่งในแหล่งผลิตกาแฟอาราบิก้าคุณภาพสูงแห่งหนึ่งของโลก ทั้งพันธุ์ทิปปิก้า, คาทูร่า และ คัสติโล
ในแง่ของกำลังการผลิตแล้ว โคลอมเบียก็เป็นรองเพียงบราซิลชาติเดียวเท่านั้น โดยการผลิตกาแฟของโคลอมเบียอยู่ที่เฉลี่ยปีละ 11.5 ล้านกระสอบ ขณะที่บราซิลมีตัวเลขอยู่ที่ 22 ล้านกระสอบ เมล็ดกาแฟจากไร่ในโคลอมเบียถูกส่งออกไปยังตลาด สหรัฐอเมริกา, เยอรมัน, ฝรั่งเศส, ญี่ปุ่น และ อิตาลี ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นประเทศผู้บริโภคกาแฟชั้นแนวหน้าด้วยกันทั้งสิ้น
โคลอมเบียกำหนดโซนปลูกกาแฟไว้อย่างชัดเจน พื้นที่ปลูกที่สำคัญๆ เรียกกันว่า Coffee Triangle หรือ Coffee Axis อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ ว่ากันว่าเป็นแหล่งปลูกและผลิตกาแฟที่ดีที่สุดแหล่งหนึ่งของโลก บริเวณนี้ประกอบไปด้วยเมือง Caldas, Quindío, Risaralda และ Tolima
ในปี ค.ศ. 2011 ยูเนสโกได้ประกาศให้บริเงเขาของ Cordillera de los Andes เมืองเล็กๆ ทางตะวันตกของโคลอมเบีย มีสถานะเป็นเขต ‘ภูมิทัศน์วัฒนธรรมกาแฟของโคลัมเบีย’ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในมรดกโลกเช่นกัน ด้วยมีความโดดเด่นของวิถีทางการปลูกกาวณเชิแฟที่เป็นเอกลักษณ์ ไร่กาแฟที่นี่ปลูกกันมาเป็นร้อยปี ในแปลงเล็กๆ ที่ลาดเอียงไปตามเชิงชั้นของเทือกเขาสูง เคียงข้างด้วยบ้านเรือนมากสีสันเปี่ยมกลิ่นอายศิลปะสเปนเจ้าอาณานิคมยุคนั้น
การสืบหาร่องรอยประวัติศาสตร์ของกาแฟโคลอมเบียนั้น ต้องขอบคุณบันทึกเก่าแก่ของนักบวชคาทอลิกชื่อ โฮเซ่ กุมิล่า ที่มีข้อมูลว่า ต้นกาแฟแพร่กระจายเข้าสู่โคลอมเบียครั้งแรกในปี ค.ศ. 1790 ซึ่งเดิมทีนั้นจุดที่ปลูกกาแฟเป็นแห่งแรกๆ อยู่บริเวณตะวันออกของประเทศ ที่เรียกกันว่าเมือง Salazar de las Palmas และเริ่มส่งออกกาแฟในฐานะพืชพาณิชย์ได้เป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1808 ซึ่งในอีก 11 ปีต่อมา โคลอมเบียก็เป็นอิสระ พ้นจากการเป็นอาณานิคมสเปน
แต่เอาเข้าจริงๆ บุคคลที่มีอิทธิพลอย่างยิ่งที่ช่วยให้กาแฟลงหลักปักฐานมั่นคงในประเทศนี้ ก็คือ นักบวชชื่อ ฟรานซิสโก โรเมโร ผู้ที่อุทิศตนให้กับการเพาะปลูกไร่กาแฟในภาคตะวันตกเฉียงเหนือ อย่างไรก็ตาม กาแฟไม่ได้ทำเงินทำทองให้เจ้าของไร่มากมายนัก เน้นบริโภคในประเทศเป็นหลักมากกว่า จนกระทั่งเข้าสู่ครึ่งหลังศตวรรษที่ 19 นั่นแหละ จึงเริ่มมาแรงแซงทางโค้ง
เรื่องนี้ ต้องยกความดีความชอบให้กับการขยายตัวสูงของเศรษฐกิจโลก ที่ทำให้บรรดาแลนด์ลอร์ดเริ่มหันมาทำไร่กาแฟกันในระดับอุตสาหกรรม เพื่อส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ ส่งผลให้ในปี ค.ศ.1910 กาแฟก็กินส่วนแบ่งกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของโคลอมเบีย
เนื่องจากในทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ เป็นแหล่งผลิตกาแฟชั้นนำของโลก ปัญหาที่พบเจอก็คือ มีการแข่งขันกันสูงมากในด้านราคาและคุณภาพ ยากที่กาแฟจากโคลอมเบียจะเจาะเข้าสู่ในตลาดระหว่างประเทศ ที่น่าเจ็บใจอีกเรื่องก็คือ แม้โคลอมเบียมีไร่กาแฟมากมาย ปลูกกาแฟหลายหลากพันธุ์ แต่กลับมีการนำเข้ากาแฟจากประเทศเพื่อนบ้านมาขายให้ผุ้บริโภคเสียนี่
จึงมีความเคลื่อนไหวตั้ง ‘สหพันธ์ผู้ปลูกกาแฟแห่งชาติโคลอมเบีย’ ขึ้นมาในปี ค.ศ. 1927 ดึงนักธุรกิจ นักการตลาด ข้าราชการ ชาวไร่กาแฟ เข้ามาทำงาน รวมหัวช่วยกันคิดแผนพัฒนาการผลิตและการส่งออกกาแฟ เงินทุนดำเนินการนำมาจากการเก็บภาษีกาแฟส่งออก จนนำไปสู่การเปิดตัว ‘แคมเปญการตลาด’ ที่มีความสำคัญยิ่งและเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง นั่นก็คือ Juan Valdez หนึ่งในแบรนด์กาแฟดังของโลกกาแฟ
เมื่อโจทย์ที่ได้รับมามี 3 ข้อใหญ่ 1.คุ้มครองอุตสาหกรรมกาแฟ 2. ศึกษาหาทางแก้ไขปัญหาต่างๆ และ 3. ส่งเสริมด้านการตลาด …สหพันธ์ผู้ปลูกกาแฟห่างชาติ จึงผลักดันงานด้านวิจัยและพัฒนาในการผลิตกาแฟ ผ่านทางให้เงินทุนสนับสนุนมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยต่างๆ ในประเทศ เพื่อสร้างมาตรฐานและคุณภาพกาแฟ ดึงไร่กาแฟขนาดเล็กทั่วประเทศเข้าสู่ระบบ ก่อนที่จะกระจายองค์ความรู้เรื่องกระบวนการผลิตกาแฟตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ ออกสู่มือเกษตรกรผู้เพาะปลูก
แนวคิดการปั้นแบรนด์ Juan Valdez จึงได้เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1958 สหพันธ์ผู้ปลูกกาแฟแห่งชาติทุ่มเงิน 600 ล้านดอลลาร์ จ้าง บริษัท Doyle Dane Bernbach เอเยนซี่โฆษณาชั้นนำของสหรัฐ สร้างสรรค์ตัวละครขึ้นมาให้เป็นที่จดจำ ผ่านคาแรคเตอร์ที่ถอดแบบเป๊ะๆ มาจากวิถีชีวิตชายชาวไร่กาแฟในชุดแต่งกายท้องถิ่น ไหล่พาดผ้าปานโช สวมหมวกชาวไร่ที่เรียกกันว่า Sombrero Aguadeño ไว้หนวดเคราครึ้ม จูงล่อบรรทุกกระสอบกาแฟ มีแบ็คกราวด์เป็นภูเขาอยู่เบื้องหลัง
จุดประสงค์เพื่อเพิ่มมูลค่าทางการตลาด กระตุ้นให้ชาวโคลอมเบียหันมาดื่มกาแฟที่ผลิตในประเทศ ช่วยแยกแยะความแตกต่างของ ‘กาแฟโคลัมเบีย 100%’ ออกจากกาแฟนำเข้าที่เอามาผสมกับกาแฟท้องถิ่น หรือที่เรียกกว่า coffee blend
เครื่องหมายการค้า Juan Valdez พร้อมใบหน้ากร้านแดดแต่อบอุ่นด้วยรอยยิ้ม ยืนเคียงข้างเจ้าล่อนำโชคชื่อ Conchita เปิดตัวทางโทรทัศน์เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1983 ฉายภาพ Valdez ทำงานอย่างเหน็ดเหนื่อยในไร่กาแฟบนเทือกเขาสูง เขาใช้ผ้าปานโชที่พาดไหล่ เช็ดเหงื่อบนใบหน้า ขณะคัดเลือกผลกาแฟสุกใส่ตะกร้าสานข้างเอว คลอด้วยเสียงกีตาร์ละตินกรีดกรายเส้นสายเบาๆ มีเสียงผู้บรรยายอธิบายกระบวนการผลิตที่ยากลำบาก และทุกขั้นตอนล้วนทำจากมือ
จากการโหมโฆษณาทางทีวีและสื่ออื่นๆ ไม่นานนัก…หนุ่มชาวไร่กาแฟก็โด่งดังเป็นที่รู้จักของชาวโคลอมเบียไปทั่วทุกหัวระแหง กลายมาเป็น ‘ไอคอน’ ของประเทศ สร้างภาพเชิงบวกให้ประเทศที่เต็มไปด้วยข่าวเชิงลบอย่างความรุนแรง การสู้รบ และการค้ายาเสพติด
คาแรคเตอร์ Juan Valdez ปักหมุดมุ่งหมายชัดเจนว่า ต้องการบ่งชี้ถึงเมล็ดกาแฟที่ปลูกและเก็บเกี่ยวในโคลอมเบียเท่านั้น และบ่งบอกให้คอกาแฟทั้งหลายรับรู้ถึงกรรมวิธีสร้างคุณภาพให้กับกาแฟในประเทศว่ามีต้นตอหรือต้นทางมาได้อย่างไร ตั้งแต่ดินที่ใช้ปลูก อากาศ สายพันธุ์ เก็บเกี่ยว ตาก คั่ว บด ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลช่วยสร้างกาแฟชั้นเยี่ยม เด่นดีทั้งรสชาติและกลิ่น
มีการต่อยอด ทำแบรนด์ Juan Valdez เป็น โลโก้สีขาวดำ ติดตามร้านกาแฟหรือบนแพคเกจจิ้งกาแฟคั่วของไร่กาแฟที่เป็นสมาชิกสหพันธ์ผู้ปลูกกาแฟแห่งชาติ เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงกาแฟโคลอมเบีย 100% ไม่มีส่วนผสมจากกาแฟนอกประเทศ แล้วส่งไปขายยังตลาดสหรัฐอเมริกา ปรากฏว่า ได้รับความนิยมค่อนข้างสูงทีเดียว
ที่น่าสนใจยิ่งคือ Juan Valdez ไม่ได้เป็นพียงโลโก้ แต่คือคนที่มีตัวตนจริง ๆ …จนถึงปัจจุบัน มีการใช้ผู้แสดงไปแล้ว 3 คนด้วยกัน คนแรกได้แก่ โฮเซ่ เอฟ. ดูวัล นักร้องนักแสดงชาวอเมริกันเชื้อสายคิวบา รับบทหนุ่มชาวไร่กาแฟจนถึงปี ค.ศ. 1969 จากนั้น ฮวน คาร์ลอส ชานเชส นักแสดงชาวโคลอมเบีย รับบทแทนจนเกษียณอายุตัวเองไปในปี 2006 จนมาถึงคิวของชาวไร่กาแฟตัวจริงอย่าง คาร์ลอส คาสตาเนด้า ซึ่งได้รับเลือกจากสหพันธ์ผู้ปลูกกาแฟฯ ให้แสดงบทมาจนถึงปัจจุบัน
เดือนกันยายน ค.ศ. 2007 สหภาพยุโรปได้ขึ้นทะเบียนด้าน ‘การคุ้มครองการตั้งชื่อจากแหล่งกำเนิด’ (PDO) ให้แก่ Juan Valdez กลายเป็นแบรนด์กาแฟระหว่างประเทศเพียงเจ้าเดียวที่ได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการให้ขายกาแฟโคลอมเบีย เบื้องหน้าเบื้องหลังของการได้มาซึ่งสิทธินั้น มีอยู่ว่า ได้เกิดข้อพิพาทกันขึ้นในประเด็นทรัพย์สินทางปัญญา หลังจากสหพันธ์ผู้ปลูกกาแฟแห่งชาติโคลอมเบียยื่นฟ้องแบรนด์กาแฟคอสตาริก้าแห่งหนึ่ง ที่ใช้โฆษณาด้วยการใช้สโลแกน “Juan Valdez drinks Costa Rican coffee” ในเสื้อยืดที่บริษัททำขาย
ในที่สุด ทั้งสองฝ่ายก็ตกลงกันได้ โดยมีเงื่อนไขว่า บริษัทกาแฟคอสตาริก้าเลิกใช้สโลกแกนดังกล่าว แลกกับการถอนฟ้องคดีละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
การขึ้นทะเบียน PDO นั้น ก็เป็นเครื่องหมายรับประกันว่า เป็นกาแฟของแท้ที่มีชื่อและมาจากแหล่งผลิตที่ระบุไว้บนฉลากจริง มีคุณภาพสูงตามมาตรฐานที่ขอขึ้นทะเบียนไว้แต่แรกเริ่ม
ปัจจุบัน สหพันธ์ผู้ปลูกกาแฟแห่งชาติโคลอมเบีย มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงโบโกต้า กลายเป็นหน่วยงานใหญ่ที่มีความ ‘ซับซ้อน’ ไม่แพ้ขนาดองค์กร โครงข่ายการทำงานนั้นมีเกษตรกรชาวไร่กาแฟเป็นเจ้าของและควบคุมการทำงานทั้งหมด มีสมาชิกอยู่ในราว 500,000 คน นอกเหนือจากเรื่องกาแฟแล้ว ยังเข้าไปดูแลช่วยเหลือชุมชนชาวไร่ เช่น คุณภาพชีวิต และโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ
ขณะที่ร้านกาแฟแบรนด์ Juan Valdez ในโคลอมเบีย กระจายอยู่ทั่วประเทศราว 300 แห่ง และอีก 131 แห่งใน 13 ประเทศทั่วโลก ทั้งในสหรัฐ ยุโรป เอเชีย และละตินอเมริกา ครองส่วนแบ่งราว 30 เปอร์เซ็นต์ ของตลาดกาแฟในประเทศ มียอดขายประมาณ 30,000 แก้วต่อวัน
แม้ผลิตกาแฟมากคุณภาพ แต่การแข่งขันก็สูงเช่นเดียวกัน เส้นทางกาแฟในทุกวันนี้ของอดีตอาณานิคมสเปนจึงถือว่าไม่ธรรมดา มีเรื่องราวให้ต้องศึกษาเป็นโมเดลกันเลยทีเดียว แน่นอน…มันสะท้อนถึงความสำเร็จจากการวางแผนการตลาดในอดีตด้วย
เปิดใช้งานอุโมงค์ทางลอดของโคลอมเบีย
ประธานาธิบดี อิบัน ดูเก (Ivan Duque) ของโคลอมเบีย เป็นประธานในพิธีเปิดใช้งานอุโมงค์ทางลอด ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างเมืองเมเดยิน (Medellin) เมืองหลวงของจังหวัดอันติโอเกีย (Antioquia) และหุบเขาซาน นิโคลัส (San Nicolas) ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาโดยอุโมงค์แห่งนี้ มีขนาดความยาว 8.2 กิโลเมตร และนับเป็นอุโมงค์ที่มีความยาวมากที่สุดในทวีปอเมริกาใต้
ใช้งบประมาณก่อสร้าง 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 30,000 ล้านบาท โดยภายในงาน ประธานาธิบดี อิบัน ดูเก ได้นั่งรถยนต์สัญจรผ่านอุโมงค์ดังกล่าวอีกด้วย ขณะเดียวกัน ได้กล่าวว่า อุโมงค์แห่งนี้ ถือเป็นตัวอย่างของอุโมงค์ ที่กำลังได้รับการก่อสร้างในขณะนี้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตขอ งประชาชน ในด้านการคมนาคมของประเทศในอนาคต
สิ่งคาดไม่ถึงเมื่อไปเยือน เมืองเมเดยิน ประเทศโคลอมเบีย
สิ่งคาดไม่ถึงเมื่อไปเยือน เมืองเมเดยิน ประเทศโคลอมเบีย ทัวร์ยาเสพติดทั้งทีก็ต้องมีผู้ที่รู้จริงมาเป็นไกด์ให้เรา แต่คนที่เป็นไกด์ให้กับเรานั้นดันเป็น ป๊อบอาย-ผู้ติดตามใกล้ชิดของเจ้าพ่อยาเสพติดชื่อดังอย่าง พาโปล เอสโคบาร์ แถมยังเป็นมือปืนที่ตามเก็บคนกว่า 250 คนด้วยความจงรักภักดีที่มีต่อเจ้านาย ที่ตอนนี้กลายเป็น YouTuber เดวิดมองว่าเป็นเรื่องที่น่าชื่นชมที่เขาออกจากคุกมาแล้วสำนึกผิด หันมาทำอาชีพที่สุจริต แต่ถึงอย่างไรเรื่องราวในทัวร์ของเขาในบางช่วงก็ดูเหมือนจะเป็นการนำเอาเรื่องจริงอันโหดร้ายในอดีตมาทำเพื่อความบันเทิง อย่างการแสดงบทบาทสมมติเป็นมือปืนในอดีตอีกครั้ง
ยังมีอีกหลายสิ่งที่คาดไม่ถึงอีกหลายอย่างในรายการนี้ที่รอให้ทุกคนไปค้นพบในรายการ Dark Tourist ดูแล้วนอกจากจะให้ความรู้สึกตื่นเต้น ประหลาดใจกับตัวเองว่าโลกเรามันมีแบบนี้ด้วยเหรอ ยังทำให้เราได้มองเห็นความหมายของการเดินทาง สิ่งที่ซ่อนอยู่ในเรื่องราวความดาร์กเหล่านั้น ไม่ว่าจะเรื่องวัฒนธรรม ความเชื่อ ปัญหาสังคม สงคราม ความเป็นมนุษย์ เชื่อว่าหากทุกคนดูจบแล้วน่าจะเข้าใจว่าทำไมเดวิดถึงเลือกที่จะเสี่ยงอันตรายเพื่อไปตามสถานที่ต่างๆเหล่านี้
ภายใต้ความกดดันของชาวโคลอมเบียต่อ เรเน่ ฮิกิต้า
ทุกคนรู้ว่า ปาโบล เอสโคบาร์ ทำตัวเป็น โรบินฮู้ด ด้วยการนำเงินผิดกฎหมายมาเลี้ยงคนจน มันจึงทำให้เขากลายเป็นพระเจ้าแห่ง เมเดยีน บ้านเกิดของเขา แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่สามารถหนีความจริงได้คือเขาเป็นอาชญากรที่เลวร้ายที่สุดคนหนึ่งของโลก
หากเปรียบเทียบชีวิตของเอสโคบาร์เป็นเหรียญ 1 เหรียญ ที่มีด้านดีและด้านเลว เรเน่ ฮิกิต้า ผู้รักษาประตูที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์ของทีมชาติโคลอมเบียก็เปรียบได้กับชายผู้โยนเหรียญนั้นหงายออกมาแต่ด้านดีทุกครั้ง
ภายใต้ความกดดันของชาวโคลอมเบียที่ผิดหวังในตัวของเขา ฮิกิต้า กลับเลือกเชื่อมั่นไม่เปลี่ยนแปลงและยินดีที่จะเป็นผู้รับใช้ เอสโคบาร์ อย่างเต็มใจ แม้ว่าเขาจะไม่ได้ไปเล่นฟุตบอลโลกก็ตาม
ทำไม ฮิกิต้า จึงยึดมั่นในตัว เอสโคบาร์ ขนาดนั้น? ติดตามได้ที่นี่
ผู้รักษาประตูที่ไม่เชื่อในการเล่นแบบเพลย์เซฟ
ในตำแหน่งผู้รักษาประตู คุณไม่มีสิทธิ์พลาด เพราะการผิดพลาดแต่ละครั้งนั้นอาจสร้างความเสียหายให้กับทีมถึงที่สุด แม้โลกฟุตบอลยุคปัจจุบันจะมีผู้รักษาประตูที่ชอบใช้เท้าเล่นบอลและออกบอลระยะสั้นเพื่อเสี่ยงให้โอกาสทีมได้เซ็ตเกมบุก อาทิ เอแดร์ซอน, อลิสซอน หรือแม้แต่ มานูเอล นอยเออร์ ก็ตาม
แต่ในช่วงเวลา 20-30 ปีก่อนหรือยุค ’80s-’90s เราแทบไม่พบเจอผู้รักษาประตูประเภทนี้มาก่อนเลย ยอดฝีมือในยุคนั้นอย่าง ปีเตอร์ ชไมเคิล และ เอ็ดวิน ฟาน เดอ ซาร์ ต่างเป็นประตูยุคโบราณที่เน้นการสั่งการและเน้นที่การป้องกันประตูเป็นหลัก
มีเพียง 1 เดียวเท่านั้นที่แตกต่าง เขาคนนั้นคือ เรเน่ ฮิกิต้า ผู้รักษาประตูที่ไม่เชื่อในการเล่นแบบเพลย์เซฟ ทว่าติดอยู่อย่างเดียวคือเขาบ้าระห่ำเกินไป ในยุคของเขาอาจจะมีประตูที่ใช้เท้าได้ดีอย่าง ฮอร์เก้ คัมโปส ของ เม็กซิโก และ โฮเซ่ หลุยส์ ชิลาเวิร์ต ของ ปารากวัย แต่ทั้ง 2 คนนี้ ไม่ระห่ำถึงขั้นเลี้ยงบอลล็อกหลบผู้เล่นคู่แข่งไปถึงกลางสนามเหมือนกับ ฮิกิต้า แน่นอน
ฮิกิต้า เองก็เป็นหมองูที่ตายเพราะงูสำหรับเรื่องนี้ จากศึกฟุตบอลโลก 1990 ที่เขาติดทีมชาติ โคลอมเบีย และพาทีมเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้ายได้สำเร็จ ในเกมรอบดังกล่าว โคลอมเบีย พบกับ แคเมอรูน และพวกเขามีภาษีดีกว่า ทว่าสุดท้าย ฮิกิต้า ก็มั่นใจเกินไป เขาพยายามจะเลี้ยงบอลผ่าน โรเจอร์ มิลล่า ดาวยิงของทีมหมอผี ซึ่งมันไม่สำเร็จ และการพลาดครั้งนั้นก็จบลงด้วยการเสียประตูและ โคลอมเบีย ก็ตกรอบไป
ตัวของ ฮิกิต้า เองไม่ได้ตื่นตระหนกกับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เขายอมรับผิดแต่จะไม่เปลี่ยนสไตล์ของตัวเองแน่ ซึ่งในอีก 5 ปีต่อมา ฮิกิต้า ก็โชว์ลีลาเซฟประตูด้วยท่า “สกอร์เปี้ยน คิก” หรือการกระโดดไปข้างหน้าและเอาสองขาหลังดีดลูกฟุตบอล แบบเดียวกับการตวัดหางโจมตีศัตรูของแมงป่อง ในเกมกับทีมชาติอังกฤษ ซึ่งท่าดังกล่าวทำให้ทั้งโลกจดจำเขาได้ดียิ่งขึ้นอีก
“เดอะ สกอร์เปี้ยน คิก จะไม่ถูกเลียนแบบแน่ ในอนาคตจะไม่มีผู้รักษาประตูคนไหนกล้าทำอะไรเสี่ยงๆ แบบที่ผมทำ พวกเขาเลือกจะเล่นกับของง่ายๆ และเน้นที่ความปลอดภัยมากกว่า” ฮิกิต้า กล่าว แม้หากดูภาพช้าชัดๆ ก็จะเห็นว่า เจ้าตัวสามารถทำ สกอร์เปี้ยน คิก ได้แบบไม่ต้องกังวลอะไร เพราะนักเตะทีมสิงโตคำรามล้ำหน้าไปก่อนนั้นแล้ว
การเป็นผู้รักษาประตูที่โฉบเฉี่ยวทำให้โลกจดจำ ฮิกิต้า ได้ชัดเจน ชาวโคลอมเบีย ชอบอกชอบใจที่นักเตะในทีมชาติของพวกเขาโด่งดังในระดับโลก พวกเขาภูมิใจในตัว ฮิกิต้า จนกระทั่งวันหนึ่งที่ตัวของนายทวารจอมระห่ำดันพูดต่อหน้าสื่อว่าเขาเป็นคนของ เอสโคบาร์ และมองว่ามิตรภาพของพวกเขาไม่ใช่เรื่องผิดกฎหมาย
เมื่อนั้นกระแสของชาว โคลอมเบีย ก็เปลี่ยนไป… เพราะโคลอมเบียทั้งประเทศไม่ใช่ เมเดยีน มีคนอีกไม่น้อยที่เกลียด เอสโคบาร์ ดังนั้น ฮิกิต้า จึงถูกมองว่าเป็นนักเตะที่ไม่สมควรเป็นความภูมิใจของประเทศอีกต่อไป
นักสู้แห่งเมเดยีน
“เอสโคบาร์ โมเดล” คือสิ่งที่อยู่เหนือความถูกต้อง ทุกคนรู้ดีว่าเขาร่ำรวยจากการค้าขายโคเคนและทำเรื่องผิดกฎหมาย ตำรวจทุกที่โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาต้องการจับตัวเขา … ยกเว้น 1 เมืองใหญ่แห่งโคลอมเบียที่ชื่อว่า “เมเดยีน” นครแห่งสลัมที่มี ปาโบล เอสโคบาร์ เป็นพระเจ้าที่นั่งอยู่ในหัวใจของผู้คนในเมือง
เอสโคบาร์ กลายเป็นขวัญใจด้วยวิธีที่เรียกว่า “เงินต่อเงิน” เขาเอาเงินจากการขาย โคเคน ส่งออกไปตามที่ต่างๆ กลับเข้ามาเพื่อมอบให้กับชาว เมเดยีน ราวกับตัวเองเป็นโรบินฮู้ด เขาบริจาคเงินให้โรงพยาบาลเพื่อผู้ป่วย และสร้างโรงเรียนให้กับเด็กๆ ในพื้นที่ได้มีโอกาสเรียนหนังสือ ดังนั้นต่อให้เขาจะเลวแค่ไหนแต่ในสายตาชาวโลกก็ไม่สามารถเปลี่ยนทัศนคติที่ชาวเมเดยีนมอบให้กับ เอสโคบาร์ ได้
เหตุผลที่ เอสโคบาร์ “คืนกำไรให้สังคม” นั้นมันเป็นเรื่องที่สามารถเข้าใจได้ง่ายๆ เพราะเขาเองเคยผ่านจุดที่ไม่มีจะกินมาก่อน เขาเกิดมาพร้อมกับความจนและเมื่อท้องร้องจนเกินต้านทาน เขาไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากจะเดินทางสายดำเพื่อเลี้ยงตัวให้พอยาไส้ ทว่าเมื่อยิ่งทำยิ่งเข้าท่าสุดท้ายมันก็กลายเป็นตัวตนของเขาไปโดยปริยาย
จากแค่เคยลักขโมย จนถึงลักพาตัว ปาโบล เอสโคบาร์ และ โรแบร์โต้ พี่ชายของเขาช่วยกันสร้างเครือข่ายอาชญากรที่ทรงพลังที่สุดในโคลอมเบีย รู้ตัวอีกที “แก๊งเมเดยีน” คือแก๊งที่ถือส่วนแบ่งการค้าโคเคนมากถึง 80% ในสหรัฐอเมริกา โดยมีรัฐฟลอริดาเป็นจุดกระจายสินค้าสำคัญ ซึ่งประเมินว่ามูลค่าของธุรกิจทั้งหมดนั้นสูงถึง 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เลยทีเดียว
ด้วยอำนาจที่ล้นพ้นและเงินที่ใช้เท่าไหร่ก็ไม่หมด เอสโคบาร์ เริ่มทำตามความฝันของตัวเองเนื่องจากเขาเป็นคนที่ชื่นชอบฟุตบอลมาก ดังนั้นเขาจึงได้สร้างสนามฟุตบอล ณ ใจกลางสลัมของ เมเดยีน ไม่ใช่แค่สนามเดียว แต่เขาสร้างมันไปเรื่อยๆ มีที่ไหนว่างที่นั่นต้องมีสนามฟุตบอล
“เอสโคบาร์ มุ่งเน้นไปที่การคืนกำไรให้สังคม ในละแวกบ้านของเรา ปาโบล เป็นเหมือนแสงสว่างในชีวิตและในโลกของฟุตบอลอย่างแท้จริง” ลุซ มาเรีย น้องสาวของ เอสโคบาร์ กล่าวยืนยัน
จุดเริ่มต้นความสัมพันธ์ของ ฮิกิต้า กับ เอสโคบาร์ เริ่มต้นจากเรื่องเล็กๆ นี้นี่เอง นอกจาก เอสโคบาร์ จะสร้างสนามฟุตบอลแล้ว เขายังให้การสนับสนุนสโมสรฟุตบอลอาชีพด้วย นั่นคือสโมสร แอตเลติโก นาซิอองนาล และ อินดิเพนเดนเต เมเดยีน ซึ่งทั้ง 2 ทีมที่เป็นคู่ปรับประจำเมือง เมเดยีน ถือเป็นทีมระดับหัวแถวของประเทศ ซึ่งก็ไม่แปลกอะไรเพราะเรื่องของเงินทุนนั้น เอสโคบาร์ ไม่เคยอั้นกับเรื่องพวกนี้แม้แต่น้อย
“เงินที่ได้จากการค้ายาเสพติด ถูกนำมาใช้ในฟุตบอล มันทำให้ช่วงนั้นเราสามารถดึงนักเตะต่างชาติฝีเท้าดีเข้ามาสู่ทีมได้” ฟรานซิสโก มาตูราน่า อดีตผู้จัดการทีมของ นาซิอองนาล ในช่วงระหว่างปี 1987-1990 กล่าวเอาไว้ใน สารคดี The Two Escobars
ตัวของ เรเน่ ฮิกิต้า ลืมตาดูโลกในช่วงเวลาที่คาบเกี่ยวกับจุดพีกในชีวิตอาชญากรของ เอสโคบาร์ พอดีและมันประจวบเหมาะมากที่บ้านเกิดของ ฮิกิต้า คือ เมเดยีน … ใช่แล้วทั้งสองคนเป็นคนบ้านเดียวกัน และเอสโคบาร์ใจดีกับชาวเมเดยีนที่ซื่อสัตย์กับเขาเสมอ ซึ่งแน่นอนว่า ฮิกิต้า ก็เป็นหนึ่งในนั้น
“สำหรับ ปาโบล นักเตะไม่ใช่สินค้า แต่ว่าเป็นเพื่อน มันมีค่ามากกว่าเงินทอง เขาต้องการให้นักเตะทุกคนมีความสุข” มาตูราน่า ซึ่งยังเป็นโค้ชทีมชาติโคลอมเบีย ชุดฟุตบอลโลกปี 1994 ด้วย กล่าวถึงความสัมพันธ์ของ เอสโคบาร์ กับนักเตะของเขา
ด้าน ฮิกิต้า เติบโตมากับสนามฟุตบอลที่ เอสโคบาร์ สร้าง และการเป็นนักฟุตบอลที่มีความสามารถจึงทำให้เขาเป็นคนโปรดของ แก๊งเมเดยีน และได้รับการโอ๋การเอาใจเสมอ โดยเฉพาะกับ โรแบร์โต้ เอสโคบาร์ พี่ชายที่เป็นมือขวาของราชาแห่งโคเคน
“ผมเป็นเพื่อนกับ ปาโบล ซึ่งก็รู้จักกันในระดับหนึ่ง เพราะคนที่สนิทกับผมที่สุดคือ ดอน โรแบร์โต้ เอสโคบาร์” ฮิกิต้า กล่าวถึงจุดเริ่มต้นที่ทำให้เขาเข้าไปพัวพันกับแก๊งเมเดยีนแบบเลี่ยงไม่ได้ เพราะเมื่อเข้าไปอยู่จุดนั้นแล้วเขาได้รับสิทธิพิเศษมากมาย ถึงแม้จะรู้ว่าเป็นการรับใช้คนที่ทำผิดกฎหมายแต่ผลประโยชน์มันก็หอมหวานเกินกว่าจะต้านทาน
โลกอาชญากรรมของ ฮิกิต้า
เงินของ เอสโคบาร์ ทำให้เกิดยุคทองของวงการฟุตบอลโคลอมเบีย เพราะกลุ่มคนสีเทาหลายคนพยายามใช้ฟุตบอลเป็นธุรกิจฟอกขาว พวกเขาเหล่านั้นอัดเงินมากมายเพื่อทำให้ทีมของตัวเองแข็งแกร่ง
อย่างไรก็ตามงานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา หลังจากเข้าสู่ยุค ’90s เอสโคบาร์ โดนชาวโคลอมเบียกดดันหนักจากเหตุการณ์ที่เขาสั่งระเบิดเครื่องบินพาณิชย์และทำให้ผู้บริสุทธิ์กว่า 100 คนต้องเสียชีวิตเมื่อปี 1989 ด้วยเหตุผลเกี่ยวกับเรื่องการเมือง กับเป้าหมายเพื่อสังหาร เซซาร์ กาวิเรีย ผู้สมัครประธานาธิบดีโคลอมเบียจากพรรคเสรีนิยม และมีนโยบายกวาดล้างแก๊งยาเสพติดเท่านั้น และที่น่าเศร้าคือ กาวิเรีย เป้าหมายในการฆ่าไม่ได้อยู่บนเครื่องบินในวันนั้น
รัฐบาลโคลอมเบียไม่มีทางเลือกเพราะประชาชนทั้งประเทศและต่างประเทศเร่งเร้าให้พวกเขาจับตัว เอสโคบาร์ มาเอาผิดให้ได้ เพราะช่วงเวลาเดียวกันนั้น เอสโคบาร์ ยังมีส่วนพัวพันกับการสังหาร หลุยส์ คาร์ลอส กาลัน ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีที่มีนโยบายล้างบางยาเสพติดด้วยเช่นกัน จึงทำให้รัฐบาลโคลอมเบีย (ซึ่งตลกร้ายเกิดขึ้นเมื่อผู้นำประเทศในขณะนั้นก็คือ เซซาร์ กาวิเรีย ผู้เคยตกเป็นเป้าสังหาร) กับ เอสโคบาร์ ต้องเปิดโต๊ะเจรจา ซึ่งได้ผลออกมาว่า ราชายาเสพติดจะยอมติดคุก แต่คุกนั้นจะต้องเป็นคุกที่เขาสร้างขึ้นมาเอง
แม้ทุกคนจะรู้ว่าในคุกนั้นเขายังอยู่ดีและสุขสบาย แต่ความคล่องตัวในการสั่งการอะไรต่างๆ ไปยังลูกน้องของ เอสโคบาร์ นั้นไม่เหมือนเดิม ดังนั้นจึงต้องมีคนที่ทำหน้าที่เป็นแขนขาให้กับเขา … ซึ่ง ฮิกิต้า คือหนึ่งในผู้ถูกเลือกและเขาไม่ปฎิเสธคำขอนี้
“เราไม่อาจเปลี่ยนแปลงจุดเริ่มต้นของมิตรภาพได้” ฮิกิต้า ในวัย 53 ปี เล่าถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตเกี่ยวกับเขาในฐานะ 1 คนของแก๊งเมเดยีน
“เอสโคบาร์ ลงจากตำแหน่งในสภา กลับสู่ใต้ดิน และจบลงด้วยการเดินเข้าคุก เขาไม่ใช่นักการเมืองอีกต่อไปและกลายเป็นคนค้ายา 100% แต่มันก็เหมือนเดิมคือไม่มีใครทำอะไรเขาได้อยู่ดี” ฮิกิต้า กล่าว
ฮิกิต้า เข้าใจผิดอยู่บางอย่าง เพราะในเวลานั้นแก๊งยาเสพติดแก๊งอื่นๆ ในโคลอมเบียก็เจริญรอยตามความยิ่งใหญ่ของแก๊งเมเดยีน ที่หัวหน้าแก๊งติดคุก และเป็นแก๊งที่รัฐบาลจ้องเล่นงานเป็นอันดับ 1 และนั่นทำให้หลังจาก เอสโคบาร์ เข้าไปอยู่ในคุกจึงเป็นช่วงเวลาที่เขาโดนลูบคมจากแก๊งคู่ปรับอยู่บ่อยครั้ง
ครั้งหนึ่งลูกสาววัย 11 ปีของ หลุยส์ คาร์ลอส โมลิน่า 1 ในเครือข่ายคนสำคัญของ เอสโคบาร์ โดนจับลักพาตัว ซึ่งเมื่อ เอสโคบาร์ ได้ข่าวเขาจึงมอบหมายให้ ฮิกิต้า เป็นตัวกลางเจรจาเพื่อปล่อยตัวประกันรายนี้ และแน่นอนว่าเขายินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับเกียรติจาก เอสโคบาร์ ครั้งนี้
การเจรจาปล่อยตัวประกันสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ฮิกิต้า ได้ค่าแรงเป็นเงิน 64,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ และเขาถูกเรียกตัวไปพบกับ เอสโคบาร์ ในคุก “ลา กาเตดรัล” อันโด่งดัง ซึ่ง ฮิกิต้า เดินทางเข้าไปในคุกอย่างสง่าผ่าเผย ไม่มีการปิดบังเหมือนกับคนดังในประเทศคนอื่นๆ เลย ซึ่งนั่นเองทำให้เขาโดนโจมตีเป็นอย่างมากในฐานะนักฟุตบอลทีมชาติแต่กลับเป็นสุนัขรับใช้ของพ่อค้ายาเสพติดและอาชญากรระดับโลก
“ก็ผมเป็นนักฟุตบอล ผมไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับการลักพาตัวและกฎหมายเรื่องนี้เลย” ฮิกิต้า เปิดใจเมื่อโดนหลายฝ่ายพยายามจะเอาเขาไปเข้าคุกให้ได้ และแน่นอนว่าคำพูดว่าไม่รู้ ไม่สามารถเอาไปใช้ในชั้นศาลได้ การเกี่ยวข้องกับเรี่องลักพาตัวจึงทำให้ ฮิกิต้า ต้องโทษจำคุกถึง 7 เดือน
เคารพจนวันสุดท้าย
แม้จะถูกยืนยันว่า ฮิกิต้า โดนจับด้วยคดีลักพาตัวและยาเสพติด ทว่าเอาเข้าจริงเมื่อเขาถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจสืบสวน คำถามที่โดนถามมีเพียงแต่เรื่องของ ปาโบล เอสโคบาร์ เท่านั้น เพราะช่วงเวลาดังกล่าวรัฐบาลโคลอมเบียตั้งใจจะจับกุม เอสโคบาร์ ให้ได้แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดและไม่ใช่การจับขังในคุกสุดหรูที่เขาออกแบบเองอีกแล้ว
รัฐบาลโคลอมเบียเอาจริงอย่างที่พูด หลังจากเข้าสู่ปี 1993 พวกเขาไล่ล่า เอสโคบาร์ อย่างจริงจัง และพยายามจะบุกเข้าไปจับในคุกแต่ เอสโคบาร์ ก็หนีเอาตัวรอดไปได้หลายเดือน ซึ่งการเอาจริงเอาจังของรัฐบาลสำเร็จลุล่วงได้เพราะอำนาจของ เอสโคบาร์ ลดน้อยถอยลงไป จนสุดท้ายในเดือนธันวาคมปี 1993 เอสโคบาร์ โดนตำรวจโคลอมเบีย ยิงเสียชีวิตที่ดาดฟ้าของตึกแห่งหนึ่งที่ เมเดยีน บ้านเกิดของเขาเอง
“ผมโดนถามแต่เรื่องของ ปาโบล เรื่องเดียวเลย” ฮิกิต้า กล่าวหลังพ้นโทษ 7 เดือน
“ปาโบล เอสโคบาร์ คอยให้ความช่วยเหลือคนจนตลอด เขาสร้างที่อยู่อาศัย, สร้างสนามฟุตบอล แต่ว่าเขาก็มีส่วนรับผิดชอบกับสงครามความวุ่นวายที่เกิดขึ้นเช่นกัน ผมเคยมีโอกาสขอบคุณเขาเป็นการส่วนตัวกับการที่เขามอบตัว (เข้าไปอยู่ในคุกของตัวเอง) ผมไม่เคยคิดว่าผมทำผิดกฎหมาย” ฮิกิต้า เลือกข้างแล้ว เขาไม่ถอนคำพูดและสายสัมพันธ์กับ เอสโคบาร์ เด็ดขาด แม้จะต้องหมดอนาคตกับทีมชาติโคลอมเบีย เมื่อผลพวงจากการต้องโทษจำคุก คือการหลุดทีมชาติชุดฟุตบอลโลกปี 1994 ก็ตาม
ทุกอย่างบนโลกนั้นเหมือนเหรียญสองด้าน จริงๆ แล้ว ฮิกิต้า เองก็น่าจะรู้ดีอยู่แก่ใจว่าสิ่งที่ เอสโคบาร์ ทำนั้นถูกหรือผิด? แต่เมื่อเขามองจากอีกมุมมันทำให้เขาพบแต่ข้อดีของเอสโคบาร์ ซึ่งมันเกิดจากประสบการณ์ตรงที่เขาได้พบเจอ
หาก ฮิกิต้า จะกล่าวโทษเอสโคบาร์ในวันที่เจ้าพ่อยาเสพติดอำนาจเสื่อมถอยเพื่อล้างภาพลักษณ์ของตัวเขาก็ย่อมได้ แต่สุดท้ายเขาก็ไม่ทำเพราะความรู้สึกที่มีต่อ เอสโคบาร์ ในใจของเขามันชัดเจนเสียจนหักหลังไม่ลง …
“ผมมีเพื่อนอยู่ไม่น้อยที่เป็นพ่อค้ายาเสพติด และผมเปลี่ยนมันไม่ได้ ชีวิตนี้ผมได้พบกับทั้งทหาร นักสู้ และกองโจร และสิ่งที่ผมบอกได้คือผมให้ความเคารพสำหรับพวกเขาทุกคน เหมือนกับที่พวกเขาเคารพในตัวของผม ผมเป็นคนที่สงบและเรียบง่าย ผมพร้อมที่จะเป็นเพื่อนกับพวกเขาทุกคนคน”
พ่อครัวประเทศโคลอมเบียสุดเจ๋ง!ทำไข่ทอดไซส์ใหญ่สุดในโลก
ปกติแล้วอาหารอย่างไข่ทอดจะเป็นของเล็กๆ แต่ไม่ใช่ในกรณีนี้ เพราะมันมีการทำไข่ทอดที่มีน้ำหนักรวมกันถึง 6,860.8 ปอนด์ขึ้นมา
อดีตทูตโคลอมเบียประจำจีนระบุ“การเติบโตของจีนไม่ใช่เรื่องบังเอิญ”
เมื่อเร็วๆ นี้ นาย Óscar Rueda García ที่เพิ่งเกษียรณอายุราชการจากตำแหน่งเอกอัครราชทูตโคลอมเบียประจำจีน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งคนที่ยกย่องชื่นชมแนวคิดและคำกล่าวของเติ้ง เสี่ยวผิง อดีตปธน.จีน ที่ว่า“ไม่ว่าจะเป็นแมวดำหรือแมวขาว หากสามารถจับหนูได้ก็ล้วนเป็นแมวดี” โดยเขาให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวซีอาร์ไอว่า การเติบโตขึ้นของจีนไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ และจะแยกจากระบบสังคมนิยมที่มีเอกลักษณ์ของจีนไม่ได้
ทั้งนี้ นาย Óscar Rueda García ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตโคลอมเบียประจำจีนเป็นเวลา 3 ปี ทำให้มีความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับการพัฒนาของจีนใหม่ ในมุมมองของเขา จีนเป็นประเทศที่โอบกอดโลกด้วยอ้อมแขนที่เปิดกว้าง ทั้งรัฐบาลและประชาชนจีนให้ความสำคัญกับการศึกษา และมีบุคลากรระดับสูงจึงกลายเป็นหลักประกันให้กับการพัฒนาของจีน