‘ไทย-โคลอมเบีย’ จับมือขยายตลาดละติน

โคลอมเบียเป็นปรเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 4 ในภูมิภาคละตินอเมริกา ซึ่งประเทศบราซิลมีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุด รองลงมาเป็นเม็กซิโก อาร์เจนตินาสำหรับในปีนี้เป็นปีแห่งการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ไทย-โคลอมเบียครบรอบ 40 ปี โดยกระทรวงการต่างประเทศมีความมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกันต่อไปในอนาคต

ดำรง ใคร่ครวญ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์พิเศษว่า ปัจจุบัน ไทย-โคลอมเบียมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น และทั้ง 2 ประเทศเห็นตรงกันว่า จะผลักดันความร่วมมือด้านการค้าการลงทุนให้เพิ่มมากขึ้น

ในช่วงที่ผ่านมา โคลอมเบียตกอยู่ในสถานการณ์ปัญหาการเมืองภายในประเทศอยู่หลายสิบปี กระทั่งในปี 2554 รัฐบาลโคลอมเบียสามารถตั้งโต๊ะเจรจากับพรรคฝ่ายค้านได้ จนสามารถนำพาประเทศกลับคืนสู่สันติภาพได้สำเร็จ

“ด้วยสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมือง ทำให้โคลอมเบียสาละวนอยู่กับการจัดการปัญหาภายในประเทศ จึงยังไม่ค่อยมีปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอกมากนัก และเมื่อทุกอย่างกลับคืนสู่ความสงบเรียบร้อย ทำให้โคลอมเบียซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ได้ฉายแสงให้เห็นโอกาสการพัฒนาและความร่วมมือทางการค้ากับต่างชาติ” รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ระบุ

ดำรง กล่าวอีกว่า โคลอมเบียมีนโยบายจบุกเบิกความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศในภูมิภาคเอเชีย จึงได้กลับมาเปิดสถานเอกอัครราชทูตในประเทศไทยเมื่อปี 2556

ขณะที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลิมา ประเทศเปรู ให้การดูแลอาณาบริเวณครอบคลุมไปยังโคลอมเบีย ถ้าในอนาคตไทยจะพิจารณาเปิดสถานทูตแห่งใหม่ในภูมิภาคละตินอเมริกา เชื่อว่าโคลอมเบียจะเป็นประเทศที่ถูกพิจารณาในลำดับแรก

“ณ เวลานี้ โคลอมเบียให้ความสำคัญกับความร่วมมือกับประเทศในเอเชีย อาจยังไม่เจาะจงเป็นรายประเทศ เพราะต้องยอมรับว่า หากมองในมุมโคลอมเบียมายังเอเชีย ก็ย่อมให้ความสำคัญกับจีนเป็นชาติแรก รองลงมาเป็นญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และประเทศในอาเซียน ซึ่งประเทศไทยอยู่ในภูมิภาคอาเซียน จึงถือได้ว่าไทยได้อยู่ในจอเรดาร์ที่โคลอมเบียต้องการจะร่วมมือทางเศรษฐกิจด้วย” รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ระบุ

ปัจจุบัน โคลอมเบียเป็นประเทศคู่ค้าอันดับ7 ของไทยในละตินอเมริกา ขณะนี้ในมิติความร่วมมือทางเศรษฐกิจยังไม่สูงมาก เนื่องจากการค้าระหว่างกันยังน้อย อยู่ที่ประมาณ 200 ล้านดอลลาร์ ส่วนการลงทุนยังไม่เกิดขึ้นมาก ขณะที่มีนักท่องเที่ยวโคลอมเบียเดินทางมายังประเทศไทย อยู่ที่ประมาณ 1.4 หมื่นคน 

“ส่วนตัวเชื่อว่า แนวโน้มการพัฒนาของโคลอมเบียสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะอัตราการเติบโตของจีดีพีอยู่ที่ประมาณ 4% ซึ่งใกล้เคียงกับประเทศไทย นั่นหมายถึงมีประเทศที่ขนาดเศรษฐกิจใกล้เคียงกับไทยอยู่ในละตินอเมริกาด้วย จึงโอกาสทางเศรษฐกิจสำหรับนักธุรกิจไทยเข้าไปบุกเบิกตลาดใหม่ และการแข่งขันยังไม่สูง” ดำรงกล่าว

รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ที่ผ่านมา มีบริษัทของไทยบางแห่งเข้าไปบุกเบิกในตลาดโคลอมเบีย ซึ่งได้ขายสินค้าเกษตรกรรม และเปิดร้านอาหารไทยในโคลอมเบีย ทั้งนี้ โคลอมเบียยังเป็นตลาดซื้อยางพารารายใหญ่จากไทยในละตินอเมริกา

ขณะเดียวกัน โคลอมเบียมีนโยบายส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ในการผลิตสินค้าประยุกต์เชิงวัฒนธรรมเช่นเดียวกับโอท็อปของไทย ซึ่งส่วนนี้สามารถนำไปสู่ความร่วมมือระหว่างไทย-โคลอมเบีย และต่อยอดทางธุรกิจในอนาคต 

รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ ไทยต้องการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการผลิตกาแฟจากโคลอมเบีย เพราะที่นั่นจัดได้ว่าเป็นแหล่งผลิตกาแฟสไตล์บูติคแห่งเดียวในโลก ที่สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจกาแฟต่อไปได้

การท่องเที่ยวและกีฬาของไทยกับโคลอมเบีย

การท่องเที่ยวและกีฬาของไทยกับโคลอมเบีย เป็นส่วนสำคัญอีกอย่างในการขับเคลื่อนทั้ง 2 ประเทศ ทั้งรายได้เข้าออกประเทศและยังเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ที่ดีอีกด้วย

Image result for ไทยและโคลอมเบีย

การท่องเที่ยว

ไทยและโคลอมเบียมีบันทึกความเข้าใจด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระหว่างกัน ซึ่งลงนาม ระหว่างการเยือนโคลอมเบียของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๘

ในปี ๒๕๕๘ มีชาวโคลอมเบียเดินทางเข้าประเทศไทยจำนวน ๙,๙๙๙ คน ขณะที่มีคนไทยเดินทาง ไปโคลอมเบียจำนวน ๔๒๔ คน โดยส่วนใหญ่เป็นการเดินทางเพื่อไปทำธุรกิจ และมีคนไทยพำนัก อยู่ในโคลอมเบีย ๑๐ คน (สถิติจากฝ่ายโคลอมเบีย)

Related image

วัฒนธรรมและกีฬา

มวยไทยเริ่มเป็นที่นิยมแพร่หลายในโคลอมเบีย และมีชาวโคลอมเบียเดินทางมาฝึกหัดมวยไทย ที่ประเทศไทยด้วย ทั้งนี้ ล่าสุดโรงเรียนสอนฝึกหัดมวยไทยโบราณรามเกียรติ์ในโคลอมเบียได้จัดสัมมนา การไหว้ครูมวยไทยภาคทฤษฎีและปฏิบัติให้กับนักเรียนและสมาชิก International Muay Thai Academy ซึ่งมีการสอนเทคนิคพื้นฐานและเคล็ดลับการชกมวยโบราณคาดเชือกด้วย

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐโคลอมเบีย

ไทยกับโคลอมเบียได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2522 แม้ไม่ได้เปิดสถานทูตในโคลัมเบีย แต่ได้ให้เอกอัครราชทูต ณ กรุงบราซิเลีย มีอาณาเขตดูแลโคลอมเบียด้วย

โคลอมเบียเคยเปิดสถานเอกอัครราชทูตในไทยเมื่อปี 2535 แต่ได้ปิดลงตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2542เนื่องจากเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจและได้แต่งตั้งให้เอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์เป็นเอกอัครราชทูตประจำ ประเทศไทยอีกตำแหน่งหนึ่ง

แม้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับโคลอมเบียถือว่ายังมีค่อนข้างน้อยและจำกัด แต่อย่างไรก็ดีนาย CamiloReyes Rodriguez รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศโคลอมเบียได้เดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการ
ระหว่างวันที่ 19-21 พฤษภาคม 2547 ซึ่งนาย Reyes ได้แสดงความสนใจเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหายาเสพติดและการยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน โดยเฉพาะในเรื่องโครงการปลูกพืชทดแทนยาเสพติด และ
โครงการพัฒนาทางเลือกตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

นอกจากนี้โคลอมเบียได้ให้การสนับสนุนประเทศไทยในเวทีความร่วมมือระหว่างเอเชียตะวันออกและลาตินอเมริกา (Forum for East Asia and Latin American Cooperation –FEALAC) โดยได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมใน
โครงการความร่วมมือภายใต้กรอบดังกล่าวของไทย ได้แก่การประชุมเชิงปฏิบัติการด้านยาเสพติด ระหว่างวันที่ 17-28 มกราคม 2548 และโครงการฝึกอบรมด้าน Poverty Reduction ระหว่างวันที่ 4-29 กรกฎาคม 2548