ยอดเขามองเซอร์รัต

ยอดเขามองเซอร์รัต (Monserrate)เป็นยอดเขาที่มีความสูงอย่างมากกว่า 3,152 เมตรตั้งอยู่ใจกรุงโบโกต้า นับว่าเป็นหนึ่งในเเลนด์มาร์คที่สำคัญของโคลอมเบีย เพราะนักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการของเคเบิ้ลคาร์ขึ้นไปชมความสวยงามของเมืองหลวงได้เเบบ 360 องศาเเละเป็นจุดที่มีนักท่องเที่ยวให้ความสนใจไปชมความสวยงามของพระอาทิตย์ขึ้นเเละตกเป็นอย่างมาก ถือว่าเป็นอีกจุดที่ไม่ควรพลาดมาเที่ยวชมกัน

ภูเขา Cerro de Monserrate ตั้งตระหง่านเหนือเมืองโบโกตาเหนือเส้นขอบฟ้าของเมืองหลวงของโคลัมเบีย คริสตจักรสูงขึ้นไปบนภูเขาเป็นหนึ่งในเมืองที่มีสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในขณะที่การในมุมมองจากยอดเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ต้องทำ นี่คือแนวทางขั้นสูงสุดของเรา

ประวัติศาสตร์
Monserrate ได้รับการพิจารณาให้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญมาตั้งแต่ก่อนการมาถึงของสเปน: คนพื้นเมือง Muisca ในท้องถิ่นเรียกว่าภูเขาquijicha cacaหรือ ‘เท้าของยาย’ และถือว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับประเพณีทางศาสนาของพวกเขาเนื่องจากข้อเท็จจริงที่ว่าดวงอาทิตย์ขึ้น ด้านหลังภูเขาโดยตรงระหว่างอายันในเดือนมิถุนายน สิ่งนี้สามารถมองเห็นได้จาก Plaza Bolivar ที่ทันสมัยและมีความคิดว่าทำไมโบสถ์แห่งแรกของเมืองถูกสร้างขึ้นที่นี่

ในยุคอาณานิคมกลุ่มศาสนาที่รู้จักกันเป็นภราดรภาพของ Vera Cruz ขออนุญาตที่จะสร้างสถานที่พักผ่อนทางศาสนาเล็ก ๆ อยู่ด้านบนของภูเขาซึ่งพวกเขาตั้งชื่อตาม Morena เวอร์จินมอนต์เซอร์รัตใกล้กับบาร์เซโลนา เมื่อเวลาผ่านไปรูปปั้นนักบุญซึ่งเป็นสถานที่สำคัญทางศาสนาของ Monserrate ถูกแทนที่ด้วยความสำคัญโดย El SeñorCaído (‘The Fallen Lord’) ซึ่งเป็นร่างของพระเยซูที่ถูกลบออกจากกางเขน ศาลของ El SeñorCaídoยังคงเป็นเหตุผลหลักสำหรับผู้ศรัทธาที่จะเยี่ยมชมคริสตจักรของ Monserrate วันนี้

ทุกวันนี้ภูเขาและโบสถ์กลายเป็นจุดหมายปลายทางที่สำคัญสำหรับนักท่องเที่ยวและผู้แสวงบุญบางคนถึงกับคลานคุกเข่า! – และการขึ้นไปสู่จุดสูงสุดนั้นง่ายกว่าที่เคย: ในปี 1929 มีการเปิดเส้นทางรถไฟแบบกระเช้าไฟฟ้าและอีกไม่กี่ทศวรรษต่อมาในปี 1955 เมืองเปิดตัวเส้นทางเคเบิลคาร์

ธงชาติโคลอมเบีย

ธงชาติโคลอมเบียได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1863 ลักษณะเป็นธงสามสีสามแถบแนวนอนสีเหลือง สีน้ำเงิน และสีแดง แถบสีเหลืองนั้นกว้างเป็นสองเท่าของแถบสีน้ำเงินและแถบสีแดง

colombia

ตามที่มีการให้นิยามไว้ในปัจจุบัน แต่ละสีล้วนมีความหมายดังต่อไปนี้

  1. สีเหลือง: ทองคำที่พบในแผ่นดินโคลอมเบีย
  2. สีน้ำเงิน: หมายถึง ท้องทะเลตามชายฝั่งโคลอมเบีย
  3. สีแดง: หมายถึง เลือดที่หลั่งไหลในสมรภูมิแห่งการเรียกร้องเอกราชของเหล่าวีรชน

นอกจากนี้ยังมีการให้นิยามสีธงไว้อีกหลายแบบ เช่น นิยามหนึ่งกล่าวว่า สีเหลืองคือดวงตะวันและแผ่นดินของประชาชน สีน้ำเงินคือสายน้ำที่หล่อเลี้ยงชีวิตชาวโคลอมเบีย สีแดงคือโลหิตของผู้ต่อสู้เพื่ออิสรภาพของชาติ เป็นต้น
สำหรับขนาดของธงนั้นมิได้มีการกำหนดขนาดที่แน่นอนไว้ แต่โดยธรรมเนียมปฏิบัตืนิยมใช้สัดส่วนธงกว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน

ประวัติ

ตามประวัติศาสตร์ระบุว่า ฟรันซิสโก เด มิรันดา (Francisco de Miranda) เป็นผู้ให้กำเนิดธงสีเหลือง-น้ำเงิน-ของประเทศสหภาพมหาโคลอมเบีย ซึ่งต่อมาประเทศเอกวาดอร์ โคลอมเบีย และเวเนซุเอลา ต่างได้นำเอามาดัดแปลงเป็นแบบธงชาติของตนเองสืบมาจนถึงปัจจุบัน

โคลอมเบีย

มีหลักฐานบ่งบอกถึงแรงบันดาลใจในการออกแบบธงของมิรันดาอย่างน้อยที่สุด 2 แห่ง ในจดหมายที่เขามีไปยังเคาท์ ซีโมน โรมาโนวิช โวรอนซอฟฟ์ (Count Simon Romanovich Woronzoff) ในปี ค.ศ. 1792 มิรันดาได้กล่าวไว้ว่าสีทั้งสามสีในธงมาจากทฤษฎีของสีแม่บท ซึ่งเขาได้รับแนวคิดนี้มาจากโยฮันน์ โวล์ฟกัง ฟอน เกอเธอ นักเขียนและนักปราชญ์ชาวเยอรมัน โดยเขาได้บอกเล่าถึงการสนทนาของตนเองกับเกอเธอระหว่างงานเลี้ยงที่เมืองไวมาร์ (ปัจจุบันอยู่ในประเทศเยอรมนี) ในช่วงฤดูหนาวของปี ค.ศ. 1785 ด้วยความจับใจถึงการบรรยายของมิรันดาถึงเรื่องราวความกล้าของเขาในสงครามการปฏิวัติอเมริกา และการเดินทางไปทั่วทวีปอเมริกาและยุโรป เกอเธอจึงเอ่ยกับมิรันดาว่า “โชคชะตาของท่านคือการสร้างสถานที่ซึ่งแม่สีทั้งหลายจะไม่ถูกบิดเบือนในแผ่นดินของท่านเอง” (“Your destiny is to create in your land a place where primary colours are not distorted.”) จากนั้นเกอเธอจึงได้อธิบายเพิ่มเติมแก่มิรันดา ดังความที่เขาได้เล่าไว้ในจดหมายดังนี้

“ เริ่มแรกเขาได้อธิบายถึงวิธีการที่ม่านตาแปรสภาพแสงให้กลายเป็นแม่สีสามสี…จากนั้นเขาจึงพิสูจน์ให้ข้าพเจ้าทราบว่า เพราะเหตุใดสีเหลืองจึงเป็นสีที่อบอุ่น สง่างาม และใกล้เคียงกับสีขาวมากที่สุด เพราะเหตุใดสีฟ้า (สีน้ำเงิน) จึงให้ความรู้สึกที่ผสมผสานระหว่างความตื่นเต้นและความสงบ และก่อระยะห่างที่ทำให้เงาปรากฏเด่นชัด และเพราะเหตุใดสีแดงจึงเป็นการยกระดับขึ้นมาจากสีเหลืองกับสีน้ำเงิน การสังเคราะห์สี และการที่แสงจางหายไปในเงามืด
มันไม่ใช่เป็นเพราะว่าโลกคือผู้สร้างสีเหลือง สีฟ้า และสีแดงต่างๆ ขึ้นมา แต่เป็นเพราะว่าด้วยวิธีการเช่นนี้ ที่ทั้งสามสีก่อเกิดการผสมผสามกันอย่างไร้ขีดจำกัดต่างหาก เราผู้เป็นมนุษย์จึงได้แลเห็นมัน … ประเทศหนึ่งประเทศ (เกอเธอสรุป) ย่อมเริ่มขึ้นจากชื่อหนึ่งชื่อและธงหนึ่งธง และมันจะกลายเป็นทั้งสองสิ่งนั้น ดังเช่นบุคคลผู้เติมเต็มชะตาชีวิตของตนเองได้”

หลังจากที่มิรันดาได้ออกแบบธงตามแนวคิดที่ได้รับจากการสนทนาครั้งนั้น เขาก็ระลึกขึ้นได้ด้วยความยินดีว่าเคยได้ไปชมภาพวาดปูนเปียก (fresco) ของลาซซาโร ทาวาโรเน ที่ปาลาซโซ เบลิมบัว ในเมืองเจนัว ประเทศอิตาลี ซึ่งรูปดังกล่าวนั้นเป็นรูปของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส คลี่ธงสีพื้นๆ ผืนหนึ่งที่เมืองเวรากัว (Veragua) ในระหว่างการเดินทางครั้งที่สี่ของตนเอง

แรงบันดาลใจอีกอย่างหนึ่งในการออกแบบธงของมิรันดาอาจพบได้ในจดหมายเหตุการทหารประจำวันของเขา ซึ่งระบุไว้ว่าธงสีเหลือง-น้ำเงิน-แดง มีที่มาจากธงสีเดีนวกันของกองกำลังเบือเกอร์วอช (“Bürgerwache”) ของเมืองฮัมบูร์ก ซึ่งเขาได้พบเห็นในระหว่างการเดินทางในประเทศเยอรมนี

ในปี ค.ศ. 1801 ในแผนการสร้างกองทัพเพื่อปลดปล่อยดินแดนอเมริกาจากสเปน ซึ่งมิรันดาได้นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีของฝ่ายสหราชอาณาจักรให้ช่วยทำการรบแต่ไม่สำเร็จ เขาได้ขอร้องให้มีการจัดหาสิ่งของเป็น “ธงสิบผืน ซึ่งจะต้องมีสีแดง เหลือง และน้ำเงิน สำหรับพื้นที่สามแห่ง” ทว่าอย่างไรก็ตาม ธงชาติกรันโคลอมเบียผืนแรกก็ยังไม่ปรากฏขึ้น จนกระทั่งได้มีการชักขึ้นเป็นครั้งแรกในวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1806 ที่เมืองจัคเมล ประเทศเฮติ ระหว่างการเดินทางสู่เวเนซุเอลาอันปราศจากโชคของมิรันดา

ตราแผ่นดินของโคลอมเบีย

ตราแผ่นดินของโคลอมเบีย เริ่มใช้เมื่อวันที่9 พฤษภาคม พ.ศ. 2377 มีส่วนประกอบดังนี้

ตราแผ่นดินของโคลอมเบีย

  1. ยอด เป็นรูป นกแร้ง คาบช่อโอลีฟ และริ้บบิ้น
  2. โล่
    ช่องที่ 1 พื้นหลังสีน้ำเงิน กรวยเงิน ผลทับทิมเม็ดสีแดง และ กรวยผลไม้
    ช่องที่ 2 พื้นหลังสีขาว หมวกปรีเกรียนสีแดงบนดาบลันช์
    ช่องที่ 3 พื้นหลังสีน้ำเงิน แผ่นดินปานามาสีเขียว อยู่ระหว่างเรือเซเบิลสีสีขาว
  3. ประคองข้าง เป็นรูป ธงชาติโคลอมเบีย

มีคำขวัญในริ้บบิ้นสีเหลือง เขียนว่า เสรีภาพและความเป็นระเบียบ

โบโกตา (Bogota)

กรุงโบโกตาเป็นเมืองหลวงของโคลอมเบียและเป็นหนึ่งในเมืองใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ เมืองหลวงซึ่งตั้งอยู่บนเทือกเขาแอนดีสที่ระดับความสูง 2,640 เมตรนี้

โบโกตา (Bogota)

มีสิ่งดึงดูดใจนักท่องเที่ยวอยู่มากมาย ทั้งหอดูดาว พิพิธภัณฑ์ทองคำ สวนพฤกษศาสตร์ การแสดงด้านศิลปะและวัฒนธรรม และแสงสียามค่ำคืน ใครที่ต้องการสัมผัสย่านประวัติศาสตร์อันเก่าเก่าขอแนะนำให้ไปเยือน แคนเดอลาเรีย (La Candelaria) ที่เต็มไปด้วยคาเฟ่ โบสถ์ และพิพิธภัณฑ์ต่างๆ กรุงโบโกตาได้ชื่อว่าเป็น “กรุงเอเธนส์แห่งอเมริกาใต้” เนื่องจากเป็นที่ตั้งของสถานศึกษาจำนวนมากเพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นจากการย้ายถิ่นฐานของประชากรมาอาศัยในเขตเมืองที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องนั่นเอง

โบโกตา (Bogota)
โบโกตา (Bogota)
โบโกตา (Bogota)

ป่าแอมะซอนมีสิทธิเท่าบุคคล

โคลอมเบียให้ป่าแอมะซอนมีสิทธิเทียบเท่าบุคคลศาลโคลอมเบียตัดสินให้ป่าแอมะซอนมีสิทธิเทียบเท่าบุคคลตามกฎหมาย เพื่อให้รัฐบาลเร่งหามาตรการหยุดยั้งการทำลายป่าให้ได้ภายใน 4 เดือน

โคลอมเบียให้ป่าแอมะซอนมีสิทธิเทียบเท่าบุคคล

ศาลสูงสุดของโคลอมเบียตัดสินให้รัฐบาลขึ้นสถานะผืนป่าแอมะซอนให้เป็น ‘บุคคลที่ต้องได้รับสิทธิขั้นพื้นฐาน’ ซึ่งหมายความว่าป่าฝนแอมะซอนได้รับสิทธิตามกฎหมายเทียบกับมนุษย์คนหนึ่ง ทำให้โคลอมเบียถือเป็นประเทศแรกในลาตินอเมริกาที่ตัดสินให้แหล่งธรรมชาติมีสถานะเป็นบุคคลเพื่อให้มีการคุ้มครองแหล่งธรรมชาติที่เข้มงวดขึ้น

ศาลสูงสุดของโคลอมเบียระบุว่า แม้จะมีความร่วมมือระหว่างประเทศและมีกฏเกณฑ์จำนวนมาก แต่เห็นได้ชัดเจนว่ารัฐบาลโคลอมเบียยังไม่สามารถจัดการกับปัญหาการทำลายป่าแอมะซอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการไม่มีสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพ ทำให้บุคคลและสิ่งมีชีวิตไม่สามารถมีชีวิตรอดไปได้ ยังไม่นับรวมถึงสิทธิในการไม่สามารถปกป้องคนรุ่นใหม่และคนรุ่นหลังต่อไป

นอกจากนี้ ศาลได้สั่งให้รัฐบาลทั้งระดับประเทศและท้องถิ่น รวมถึงกระทรวงสิ่งแวดล้อมและการเกษตร ร่วมหารือและเสนอแผนปราบปรามการทำลายป่าแอมะซอนภายในเวลา 4 เดือน

โคลอมเบียให้ป่าแอมะซอนมีสิทธิเทียบเท่าบุคคล

จากข้อมูลพบว่าป่าแอมะซอนในโคลอมเบียมีขนาดเทียบเท่ากับประเทศเยอรมนีและอังกฤษรวมกัน แต่ในช่วงปี 2015-2016 อัตราการตัดไม้ทำลายป่าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 44 ซึ่งการทำลายป่าก็มีจุดประสงค์ที่หลากหลายกันไป ตั้งแต่การถางป่าเพื่อเลี้ยงสัตว์ ทำเกษตร ปลูกต้นโคคา (วัตถุดิบสำหรับผลิตโคเคน) การทำเหมือง และการตัดไม้อย่างผิดกฎหมาย

คำตัดสินนี้มีขึ้นหลังจากที่คนรุ่นใหม่ 25 คนอายุตั้งแต่ 7-26 ปีรวมตัวกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลเมื่อเดือนมกราคม เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลปกป้องสิทธิในการมีสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งความล้มเหลวของรัฐบาลในการหยุดยั้งการทำลายป่าแอมะซอนส่งผลกระทบอย่างมากต่ออนาคตของพวกเขา และละเมิดสิทธิตามรัฐธรรมนูญในการเข้าถึงสิ่งแวดล้อม อาหารและน้ำที่ดีต่อสุขภาพ

หลังการอ่านคำพิพากษา หนึ่งในโจทก์ยื่นฟ้องในครั้งนี้ระบุว่า คำตัดสินนี้มีความสำคัญต่อการปกป้องสิทธิของคนรุ่นต่อไป และถือเป็นคำตัดสินประวัติศาสตร์ที่จะช่วยอนุรักษ์ป่าและต่อสู้กับสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงด้วย

ประเทศโคลอมเบีย

โคลอมเบีย (สเปน: Colombia โกลมเบีย) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐโคลอมเบีย (สเปน: República de Colombia) เป็นประเทศในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้ มีอาณาเขตทางทิศตะวันออกติดต่อกับเวเนซุเอลาและบราซิล ทางทิศใต้ติดต่อกับเอกวาดอร์และเปรู ทางทิศเหนือจรดทะเลแคริบเบียน ส่วนทางทิศตะวันตกติดต่อกับปานามาและมหาสมุทรแปซิฟิก

ชื่อประเทศ

คำว่า “โคลอมเบีย” มาจากชื่อของนักสำรวจคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (กริสโตบัล โกลอน ในภาษาสเปน และ กริสโตโฟโร โกลอมโบ ในภาษาอิตาลี) ถูกนำมาใช้โดยนักปฏิวัติฟรันซิสโก เด มีรันดาซึ่งเขาใช้อ้างอิงถึง “โลกใหม่” โดยเฉพาะดินแดนและอาณานิคมอเมริกันทั้งหมดที่อยู่ภายใต้การปกครองของสเปนและโปรตุเกส ชื่อนี้ได้มาเป็นชื่อของสาธารณรัฐโคลอมเบียในปี พ.ศ. 2362 ซึ่งประกอบด้วยดินแดนของประเทศโคลอมเบีย เวเนซุเอลา เอกวาดอร์ และปานามาในปัจจุบัน

สถานภาพสาธารณรัฐแห่งนี้สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2373 เมื่อเวเนซุเอลาและเอกวาดอร์ขอแยกตัวออกไป ส่วนจังหวัดกุนดีนามาร์กา (Cundinamarca) ก็กลายเป็นประเทศใหม่ในชื่อ สาธารณรัฐนิวกรานาดา (República de la Nueva Granada) ต่อมา พ.ศ. 2406 นิวกรานาดาเปลี่ยนชื่อทางการของตนเป็น สหรัฐโคลอมเบีย (Estados Unidos de Colombia) และในปี พ.ศ. 2429 ก็ได้เปลี่ยนเป็นชื่อที่ใช้ในปัจจุบันคือสาธารณรัฐโคลอมเบีย