โคลอมเบียให้ป่าแอมะซอนมีสิทธิเทียบเท่าบุคคล

โคลอมเบียให้ป่าแอมะซอนมีสิทธิเทียบเท่าบุคคล

ศาลโคลอมเบียตัดสินให้ป่าแอมะซอนมีสิทธิเทียบเท่าบุคคลตามกฎหมาย เพื่อให้รัฐบาลเร่งหามาตรการหยุดยั้งการทำลายป่าให้ได้ภายใน 4 เดือน
ศาลสูงสุดของโคลอมเบียตัดสินให้รัฐบาลขึ้นสถานะผืนป่าแอมะซอนให้เป็น ‘บุคคลที่ต้องได้รับสิทธิขั้นพื้นฐาน’ ซึ่งหมายความว่าป่าฝนแอมะซอนได้รับสิทธิตามกฎหมายเทียบกับมนุษย์คนหนึ่ง ทำให้โคลอมเบียถือเป็นประเทศแรกในลาตินอเมริกาที่ตัดสินให้แหล่งธรรมชาติมีสถานะเป็นบุคคลเพื่อให้มีการคุ้มครองแหล่งธรรมชาติที่เข้มงวดขึ้น

ศาลสูงสุดของโคลอมเบียระบุว่า แม้จะมีความร่วมมือระหว่างประเทศและมีกฏเกณฑ์จำนวนมาก แต่เห็นได้ชัดเจนว่ารัฐบาลโคลอมเบียยังไม่สามารถจัดการกับปัญหาการทำลายป่าแอมะซอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการไม่มีสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพ ทำให้บุคคลและสิ่งมีชีวิตไม่สามารถมีชีวิตรอดไปได้ ยังไม่นับรวมถึงสิทธิในการไม่สามารถปกป้องคนรุ่นใหม่และคนรุ่นหลังต่อไป

นอกจากนี้ ศาลได้สั่งให้รัฐบาลทั้งระดับประเทศและท้องถิ่น รวมถึงกระทรวงสิ่งแวดล้อมและการเกษตร ร่วมหารือและเสนอแผนปราบปรามการทำลายป่าแอมะซอนภายในเวลา 4 เดือน

โคลอมเบียให้ป่าแอมะซอนมีสิทธิเทียบเท่าบุคคล

จากข้อมูลพบว่าป่าแอมะซอนในโคลอมเบียมีขนาดเทียบเท่ากับประเทศเยอรมนีและอังกฤษรวมกัน แต่ในช่วงปี 2015-2016 อัตราการตัดไม้ทำลายป่าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 44 ซึ่งการทำลายป่าก็มีจุดประสงค์ที่หลากหลายกันไป ตั้งแต่การถางป่าเพื่อเลี้ยงสัตว์ ทำเกษตร ปลูกต้นโคคา (วัตถุดิบสำหรับผลิตโคเคน) การทำเหมือง และการตัดไม้อย่างผิดกฎหมาย

คำตัดสินนี้มีขึ้นหลังจากที่คนรุ่นใหม่ 25 คนอายุตั้งแต่ 7-26 ปีรวมตัวกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลเมื่อเดือนมกราคม เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลปกป้องสิทธิในการมีสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งความล้มเหลวของรัฐบาลในการหยุดยั้งการทำลายป่าแอมะซอนส่งผลกระทบอย่างมากต่ออนาคตของพวกเขา และละเมิดสิทธิตามรัฐธรรมนูญในการเข้าถึงสิ่งแวดล้อม อาหารและน้ำที่ดีต่อสุขภาพ

หลังการอ่านคำพิพากษา หนึ่งในโจทก์ยื่นฟ้องในครั้งนี้ระบุว่า คำตัดสินนี้มีความสำคัญต่อการปกป้องสิทธิของคนรุ่นต่อไป และถือเป็นคำตัดสินประวัติศาสตร์ที่จะช่วยอนุรักษ์ป่าและต่อสู้กับสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงด้วย

สาธารณรัฐโคลอมเบีย

โคลอมเบีย (Colombia) (ออกเสียง: [ko’lombja]) หรือชื่อทางการ สาธารณรัฐโคลอมเบีย (Republic of Colombia) เป็นประเทศในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้ มีอาณาเขตทางทิศตะวันออกติดต่อกับเวเนซุเอลาและบราซิล ทางทิศใต้ติดต่อกับเอกวาดอร์และเปรู ทางทิศเหนือจรดทะเลแคริบเบียน ส่วนทางทิศตะวันตกติดต่อกับปานามาและมหาสมุทรแปซิฟิก

สงครามกลางเมืองในโคลอมเบีย ซึ่งเป็นสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อยาวนานที่สุดของโลก ได้ดำเนินมาโดยไม่มีผู้ใดห้ามปรามถึง 35ปีแล้ว แต่ละปีมีผู้เสียชีวิตนับพันๆ คน กำลังคนราว 15,000 นายจากฝ่ายกองโจรกลุ่มต่างๆ ห้ากลุ่มสามารถควบคุมพื้นที่ในชนบทไว้ได้ถึง 60% ฝ่ายตรงข้ามกับพวกกบฏก็คือกองกำลังรักษาความมั่นคงของโคลอมเบีย และกลุ่มทหารฝ่ายขวาที่ไม่ได้สังกัดหน่วยใดหน่วยหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งรู้จักกันในว่าองค์กรกึ่งทหาร

ถึงตอนนี้อำนาจเศรษฐกิจและการเมืองของโคลอมเบียยังคงอยู่ในมือของชนชั้นสูงซึ่งเป็นผู้บริหารมาโดยตลอด แต่ความขัดแย้งในประเทศนี้มีมากกว่าเรื่องการเมือง แต่สิ่งที่เป็นหัวใจหลักของประเด็นความขัดแย้งได้แก่การควบคุมเส้นทางขนย้ายยาเสพย์ติดและการคอรัปชั่นต่างหาก

Image result for สาธารณรัฐโคลอมเบีย

โคลอมเบียประกาศเคอร์ฟิวควบคุมสถานการณ์ประท้วง

โคลอมเบียประกาศเคอร์ฟิวควบคุมสถานการณ์ประท้วง

นายกเทศมนตรีกรุงโบโกต้า ประเทศโคลอมเบียประกาศเคอร์ฟิว หลังผู้ชุมนุมหลายพันคนออกมาประท้วงรัฐบาลให้หยุดการคอรับชั่นและกดขี่กลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย การชุมนุมเริ่มทวีความรุนแรงเมื่อผู้ประท้วงออกมาปิดกั้นถนนและเริ่มมีการปล้นสะดมร้านค้า ตลอดจนบุกเผาสิ่งของและทำลายทรัพย์สินรัฐบาล เหตุประท้วงในโคลอมเบียทวีความรุนแรง หลังจากมีผู้ประท้วงเสียชีวิตไป 3 รายเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา

ผู้ประท้วงโคลอมเบียท้าทายเคอร์ฟิว ปะทะตำรวจปราบจลาจล

ตำรวจปราบจลาจลปะทะกับกลุ่มผู้ประท้วงชาวโคลอมเบียที่ไม่พอใจการดำเนินนโยบายของรัฐบาล และท้าทายคำสั่งประกาศเคอร์ฟิวในกรุงโบโกตา

เมื่อวันที่ 23 พ.ย.2562 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เกิดการปะทะกันระหว่างตำรวจปราบจลาจลกับกลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลโคลอมเบีย โดยตำรวจได้ฉีดน้ำแรงดันสูงและยิงแก๊สน้ำตาเข้าใส่กลุ่มผู้ประท้วงเป็นระยะ หลังจากผู้ประท้วงหลายร้อยคนนัดรวมตัวกันใจกลางกรุงโบโกตา

สาเหตุของการชุมนุมประท้วงครั้งนี้ มีชนวนมาจากความไม่พอใจรัฐบาลโคลอมเบียที่ไม่ยอมแก้ไขปัญหาการทุจริตของนักการเมือง และนิ่งเฉยต่อการลอบสังหารนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชน

ด้านนายอีวาน ดูเก ประธานาธิบดีโคลอมเบีย ออกคำสั่งประกาศเคอร์ฟิวห้ามประชาชนออกนอกเคหสถานในเวลากลางคืนทั่วกรุงโบโกตา หลังมีการประท้วงครั้งใหญ่เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ซึ่งคาดว่ามีประชาชนกว่า 250,000 คน ร่วมเดินขบวนเพื่อแสดงความไม่พอใจต่อการแก้ปัญหาของรัฐบาล นำไปสู่การสลายการชุมนุมจนทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 3 คน

เมล็ดกาแฟโคลอมเบีย สุพรีโม

กาแฟโคลอมเบียสุพรีโม่ เต็มไปด้วยกาแฟถูกปลูกโดยผู้ผลิตที่เป็นผู้ถือรายย่อยหลายรายในเขตนาริโน่ของประเทศโคลอมเบียระหว่าง 1,500 – 1,800 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล จึงทำให้ถ้วยกาแฟมีความอบอุ่นและคุ้นเคยกับโน้ตของช็อกโกแลตและเมล็กกาแฟที่คั่วและร่างกายที่กลมกล่อม

มีความหวานที่เข้มข้นมากโทนกลิ่นที่รุนแรงกับราสชาติเนยวานิลลาและชัดถ้อยชัดคำแนะนำของช็อคโกแลต, น้ำผึ้งและดอกไม้ ในถ้วยหวานและความเป็นกรดที่ค่อนข้างเข้มจึงทำให้มีความซับซ้อนของรสชาติพื้นฐานเป็นกาแฟที่มีความคล้ายช็อคโกแลตที่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงของวานิลลา, ดอกไม้และน้ำผึ้ง กาแฟสุพรีโม เป็นเมล็ดกาแฟเกรดสูงสุดของกาแฟโคลัมเบียตามหลักขนาดของเมล็ด

นอกจากช็อกโกแลตนมและเชอรี่แล้วกาแฟชนิดนี้ยังมีเครื่องเทศที่มีส่วนผสมของพืชและควันรวมถึงอัลมอนด์ถ้วยคลาสสิกและแอ็ปเปิ้ลแอนดี้ย่า Granny รสนิยมเหล่านี้เปลี่ยนไปในขณะที่ถ้วยเย็นและค่อนข้างตรงไปตรงที่พวกเขาไม่ได้มักจะมารวมกันเป็นสมดุลทั้ง เมื่อพวกเขาทำบางครั้งถ้วยไปจากที่น่าสนใจเพื่อที่งดงาม พฤติกรรมที่มีส่วนร่วมนี้ในอาหารว่างแบบเบา ๆ ถูกทำให้เชื่องขึ้นบ้างเมื่อกาแฟถูกนำไปคั่วแบบปานกลางซึ่งจุดนี้ถ้วยจะกลายเป็นแบบปกติมากขึ้น ที่คั่วกลางก็ยังทำให้เป็นกาแฟเอสเปรสโซ ที่ ดีมากที่ทุกรสชาติได้มากขึ้น

Related image

 

บาทหลวงมิชชันนารีชาวโคลอมเบีย แปลเพลงรับเสด็จ “โป๊ปฟรังซิส”

บาทหลวงชาวโคลอมเบีย นำบทเพลง “ให้รักเป็นสะพาน“ แปลเนื้อร้องจากภาษาไทยเป็นภาษาสเปน เพื่อหวังว่า “โป๊ปฟรังซิส” จะได้ทรงรับฟังและทราบถึงความตั้งใจจริงของชาวไทยในการเฝ้ารับเสด็จพระองค์

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส องค์พระประมุขแห่งศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เตรียมเสด็จเยือนราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 20-23 พฤศจิกายนนี้ โดยคณะทำงานได้เร่งเตรียมการทุกด้านเป็นอย่างดี หนึ่งในนั้นคือด้านของบทเพลง ซึ่งได้มีการแต่งเนื้อร้องและทำนองเพลง “ให้รักเป็นสะพาน” สะท้อนพระดำริในการใช้ความรักเชื่อมโยงชาวโลกให้มีความกลมเกลียวเป็นหนึ่งเดียวกัน

เพลง “ให้รักเป็นสะพาน” ซึ่งขับร้องโดยศิลปินมากหน้าหลายตา ได้รับกระแสตอบรับเป็นอย่างดี หลังจากถูกเผยแพร่ในโลกออนไลน์ก่อนหน้านี้ และได้ช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับบาทหลวงชาวต่างชาตินำเนื้อร้องภาษาไทยมาแปลและปรับแต่งเป็นเนื้อร้องภาษาสเปน

บาทหลวงมิชชันนารีชาวโคลอมเบีย แปลเพลงรับเสด็จ “โป๊ปฟรังซิส” ทางการ สู่ภาษาที่พระสันตะปาปาเข้าใจ

บาทหลวงอันเดรส เฟลิเป้ ฮารามิลโล (Andres Felipe Jaramillo) ชาวโคลอมเบียเป็นสมาชิกมิชชันนารี หรือ คณะธรรมทูต “ยารูมาล” (YARUMAL) ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ออกเดินทางจากบ้านเกิดไปยังแคนาดา ก่อนจะต่อมายังเมืองไทย และปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดแม่พระแห่งลูร์ด จังหวัดลำปาง

บาทหลวงอันเดรสมาจากประเทศโคลอมเบียซึ่งใช้ภาษาสเปน เช่นเดียวกับ “โป๊ปฟรังซิส” ที่ทรงประสูติที่ประเทศอาร์เจนติน่า หลังจากพำนักอยู่ไทยมานาน 6 ปี “คุณพ่ออันเดรส” สามารถสื่อสารภาษาไทยได้อย่างยอดเยี่ยม และยังมีความสามารถในด้านดนตรี จึงได้นำเนื้อร้อง “ให้รักเป็นสะพาน” มาเรียบเรียงใหม่เป็นภาษาสเปน โดยพยายามรักษาความหมายเดิมไว้ให้ได้มากที่สุด นอกจากนี้ได้มีการแทรกคำสอนและคำศัพท์เฉพาะของ  “โป๊ปฟรังซิส” เข้าไปเพิ่มเติม

บาทหลวงอันเดรส ตั้งความหวังว่า บทเพลง “ให้รักเป็นสะพาน” ในเวอร์ชั่นภาษาสเปนนี้จะถูกส่งต่อไปถึง “โป๊ปฟรังซิส” ให้องค์สันตะบิดรแห่งชาวคริสต์นิกายโรมัน คาทอลิก ได้ทรงรับรู้ถึงความตั้งใจจริงของคริสตชนชาวไทย และพี่น้องคนไทยทุกคน ในการเฝ้ารอการมาถึงของพระองค์ระหว่างวันที่ 20-23 พ.ย. นี้

โดยทางคณะเตรียมงานรับเสด็จและสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย จะได้พยายามอย่างเต็มที่ในการนำบทเพลง “ให้รักเป็นสะพาน” เวอร์ชั่นภาษาสเปน ส่งต่อไปถึงสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสให้จงได้

บาทหลวงมิชชันนารีชาวโคลอมเบีย แปลเพลงรับเสด็จ “โป๊ปฟรังซิส” ทางการ สู่ภาษาที่พระสันตะปาปาเข้าใจ

 

2 พี่น้องโคลอมเบีย พบกันครั้งแรกในรอบ 34 ปี

นางสาวเจนิเฟอร์ เด ลา โรซา และนางสาวอังเคลา เรนดอน คู่พี่น้องที่พลัดพรากกันจากเหตุภูเขาไฟปะทุ เมื่อเดือน พ.ย. 2528 เจอเห็นหน้ากันเป็นครั้งแรกในรอบ 34 ปี ด้วยการโผเข้าไปกอดกัน เพราะดีใจสุดๆ

ภัยพิบัติครั้งนั้น ถือเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของประเทศโคลอมเบีย เพราะมีผู้เสียชีวิตไปถึง 25,000 คน ซึ่งส่วนมากอาศัยอยู่ที่เมืองอาร์เมโร จ.โตลิมา ใกล้เทือกเขาแอนดีส ซึ่งเป็นที่ตั้งของภูเขาไฟเนบาโด เดล รุยซ์

ขณะนั้น นางสาวเจนิเฟอร์ และนางสาวอังเคลา เสียพ่อแม่ไป เพราะถูกเถ้าภูเขาไฟร้อนทับถมจนเสียชีวิต ขณะนั้น นางสาวเจนิเฟอร์ ที่มีอายุเพียง 1 สัปดาห์ ถูกรับเลี้ยงจากคู่รักในประเทศสเปน ที่ไม่มีลูกเป็นของตัวเอง ขณะที่นางสาวอังเคลาได้ไปอยู่กับครอบครัวชาวโคลอมเบีย ทำให้ทั้งคู่ต้องแยกกันคนละทวีป

เมื่อโตขึ้น นางสาวเจนิเฟอร์ ที่อยู่ที่ประเทศสเปน จึงออกตามหาครอบครัวตามสายเลือด ที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่เมื่อเวลาผ่านไปหลายปี ก็ยังไม่พบเบาะแสใดๆ

อย่างไรก็ตาม เมื่อช่วงที่ผ่านมาของเดือนนี้ สถาบันด้านพันธุวิทยาแห่งหนึ่งในกรุงโบโกตา ของโคลอมเบีย ประกาศว่าพบหลักฐานบางอย่างที่ยืนยันว่า มีผู้หญิงคนหนึ่งที่น่าจะเป็นพี่น้องของเธอ อาศัยอยู่ในประเทศโคลอมเบีย

หลังจากนั้น นางสาวเจนิเฟอร์จึงรีบเดินทางมายังโคลอมเบีย เพื่อมาพบกับพี่สาวของตน ในงานที่อค์กรชื่อ อาร์มันโด อาร์เมโร จัดขึ้น

การพบกันครั้งนี้ไม่ได้สร้างความดีใจให้กับพี่น้องคู่ดังกล่าวเท่านั้น แต่ยังเป็นความหวังให้กับคนจำนวนมากที่สูญเสียหรือพลัดพรากจากสมาชิกในครอบครัว จากเหตุการณ์ครั้งนั้นอีกด้วย

ที่มาของสีธงประเทศโคลอมเบีย

หนึ่งในคำอธิบายแรกเกี่ยวกับการตีความที่ให้กับสีของธงโคลอมเบียได้รับในปี 1819 โดยสภาคองเกรส Angostura คนแรกที่อธิบายความหมายของธงคือ Francisco Antonio Zea.ในช่วงเหตุการณ์เช่นนี้สิ่งที่จะเป็นที่รู้จักในภายหลังในชื่อ Gran Colombia จะต้องถูกสร้างขึ้น Zea เน้นว่าแถบสีเหลืองหมายถึง “คนที่ต้องการและรักสหพันธ์”

ในส่วนของมันแถบสีฟ้าคือการพาดพิงของทะเลที่แยกอาณาเขตออกจากแอกของสเปนและสีแดงเป็นคำสาบานที่บ่งบอกว่าชอบสงครามมากกว่าที่จะตกอยู่ภายใต้การปกครองของสเปนอีกครั้ง

ในน้ำเสียงเดียวกันนี้มีความเชื่อกันว่าสีเหมือนกันบนธงชาติสเปน แต่มีสีน้ำเงินตรงกลางที่แสดงออกถึงความหมายเดียวกับที่เสนอโดย Zea

Image result for สีธงประเทศโคลอมเบีย

สีสันของธงโคลอมเบีย

ตามกฎหมายของ 2468 มันเป็นที่ยอมรับกันว่าวันแห่งธงจะมีการเฉลิมฉลองในวันที่ 7 สิงหาคมของทุก ๆ ปีเพื่อเป็นการฉลองชัยชนะของ SimónBolívar ที่รบ Boyacá ซึ่งเกิดขึ้นใน 2362

ธงโดยภาระผูกพันจะต้องแสดงในที่ตั้งอย่างเป็นทางการทั้งหมดของโคลอมเบียในช่วงวันที่ระลึกของประวัติศาสตร์ของประเทศ.

ธงโคลอมเบียถูกล้อมรอบด้วยสี่เหลี่ยมแบ่งตามแนวนอนด้วยสีเหลืองน้ำเงินและแดงในอัตราส่วน 2: 1: 1

สีเหลืองตรงบริเวณครึ่งบนของสี่เหลี่ยมผืนผ้าแล้วตามด้วยสีน้ำเงินและสีแดงแต่ละส่วนมีพื้นที่เหลืออยู่หนึ่งในสี่.

แม้ว่าจะไม่มีกฎระเบียบที่แน่นอนเกี่ยวกับขนาดของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่สัดส่วนที่ความสูงคือสองในสามของความยาวได้รับการจัดการเสมอ.

ซึ่งหมายความว่าหากธงมีความยาวหนึ่งเมตรความสูงจะเท่ากับ 66 เซนติเมตร

Related image

ความหมายธงชาติโคลอมเบีย

ธงโคลอมเบีย มันเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ประจำชาติของสาธารณรัฐโคลัมเบียพร้อมกับเพลงชาติและโล่ สิ่งนี้ถูกใช้โดยอินสแตนซ์ต่าง ๆ ของรัฐบาลแห่งชาติและสามารถนำเสนอตัวแปรตามการใช้งานที่กำหนด ความหมายธงชาติโคลอมเบีย ตามที่มีการให้นิยามไว้ในปัจจุบัน แต่ละสีล้วนมีความหมายดังต่อไปนี้

  • สีเหลือง ทองคำที่พบในแผ่นดินโคลอมเบีย
  • สีน้ำเงิน หมายถึง ท้องทะเลตามชายฝั่งโคลอมเบีย
  • สีแดง หมายถึง เลือดที่หลั่งไหลในสมรภูมิแห่งการเรียกร้องเอกราชของเหล่าวีรชน

นอกจากนี้ยังมีการให้นิยามสีธงไว้อีกหลายแบบ เช่น นิยามหนึ่งกล่าวว่าสีเหลืองคือดวงตะวันและแผ่นดินของประชาชน สีน้ำเงินคือสายน้ำที่หล่อเลี้ยงชีวิตชาวโคลอมเบียสีแดงคือโลหิตของผู้ต่อสู้เพื่ออิสรภาพของชาติ

Image result for ธงชาติโคลอมเบีย