ไฟไหม้บ้านในโคลอมเบีย เสียชีวิต 7 ราย

ไฟไหม้บ้าน 3 หลัง ในโคลอมเบีย มีผู้เสียชีวิต 7 ราย และบาดเจ็บ 4 ราย เจ้าหน้าที่เร่งสอบสวนหาสาเหตุ เจ้าหน้าที่โคลอมเบีย เร่งสอบสวนหาสาเหตุไฟไหม้บ้าน 3 หลัง ในเมืองกูกูตา ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเช้าวานนี้ ตามเวลาท้องถิ่น ทำให้มีผู้เสียชีวิต 7 ราย ในจำนวนนี้ 5 ราย เป็นสมาชิกครอบครัวเดียวกัน และมีผู้บาดเจ็บอีก 4 ราย

ไฟไหม้บ้านในโคลอมเบีย เสียชีวิต 7 ราย

นอกจากบ้านถูกไฟไหม้ 3 หลัง ยังมีรถถูกไฟไหม้เสียหาย 6 คัน ขณะนี้ยังไม่ทราบสาเหตุไฟไหม้ที่แน่ชัด เบื้องต้น เจ้าหน้าที่คาดว่า น่าจะเกิดจากระบบไฟฟ้าขัดข้องในตึกที่อยู่ใกล้จุดเกิดเหตุ

โคลอมเบียขยายภาวะฉุกเฉินอีก 3 เดือนสกัดโควิด

โบโกตา 26 พ.ย. –โคลอมเบียจะขยายระยะเวลาการประกาศภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขออกไปอีก 3 เดือน เพื่อควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ประธานาธิบดีอีวาน ดูเก ของโคลอมเบียแถลงวันนี้ว่า ทางการจะขยายระยะเวลาการประกาศภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขออกไปอีก 90 วัน และจะสิ้นสุดในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 เพื่อเฝ้าระวังและควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 พร้อมทั้งเตือนให้ประชาชนหลีกเลี่ยงสถานที่แออัดและปฏิบัติตามมาตรการด้านความปลอดภัยต่าง ๆ เพื่อป้องกันการระบาดระลอกที่ 2 ที่เกิดขึ้นหลายประเทศของทวีปยุโรป ขณะนี้โคลอมเบียมียอดผู้ป่วยติดเชื้อสะสมกว่า 1.27 ล้านคน ผู้เสียชีวิตเกือบ 36,000 คน และมีผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล 57,260 คน

ทางการโคลอมเบียตัดสินใจใช้มาตรการกักกันโรคระดับชาติเป็นเวลา 5 เดือนครึ่งในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้การเติบโตทางเศรษฐกิจติดลบและมีจำนวนคนว่างงานพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ดี ทางการเริ่มผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ ที่อนุญาตให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่รวมถึงเที่ยวบินระหว่างประเทศกลับมาเปิดบริการได้ตามปกติ และบังคับให้ประชาชนสวมหน้ากากอนามัยในสถานที่สาธารณะ แต่ยังคงไม่อนุญาตให้จัดคอนเสิร์ตและงานอีเวนต์ขนาดใหญ่

โคลอมเบียระงับเที่ยวบินจากอังกฤษ สกัดโควิด-19

โคลอมเบีย 21 ธ.ค. – ทางการโคลอมเบียระงับเที่ยวบินทั้งขาเข้าและออกจากอังกฤษ เพื่อป้องกันโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ที่เพิ่งตรวจพบในอังกฤษ

ประธานาธิบดีอีวาน ดูเก ของโคลอมเบีย แถลงเมื่อวานนี้ ตามเวลาท้องถิ่น ระงับเที่ยวบินทั้งขาเข้าและออกจากอังกฤษ เพื่อป้องกันโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ที่เพิ่งตรวจพบในอังกฤษ มีผลตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2563 – 15 มกราคม 2564 นับเป็นประเทศล่าสุดที่ระงับเที่ยวบินจากอังกฤษ ต่อจากฝรั่งเศส เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ อิตาลี และอื่นๆ ส่วนผู้อยู่ในอังกฤษในรอบ 14 วัน หลังต้องถูกกักกันโรคในโคลอมเบีย เตือนให้งดเว้นการรวมกลุ่มฉลองคริสต์มาส และรวมตัวกันในที่ต่างๆ เพื่อช่วยกันควบคุมการระบาดของไวรัสมรณะ ด้านนายกเทศมนตรีกรุงโบโกตา ประกาศใช้มาตรการเข้มงวด ให้ออกไปซื้อของได้ครัวเรือนละ 1 คน

กลุ่มประเทศ 4 ชาติในอเมริกาใต้ร่วมต้านประมงเถื่อน

กลุ่มประเทศ 4 ชาติในอเมริกาใต้ทั้งชิลี โคลอมเบีย เอกวาดอร์และเปรู ต่างออกแถลงการณ์ร่วมกันเมื่อวันที่ 4 พ.ย. ด้วยการงัดมาตรการข่มขู่เพื่อปกป้อง การไม่สนับสนุนและร่วมกันเผชิญหน้ากับการลอบหาปลาที่ผิดกฎหมายใกล้เขตเศรษฐกิจพิเศษในมหาสมุทรแปซิฟิก ที่แม้ไม่ได้ระบุประเทศชัดเจนว่าเป็นจีน แต่ทั้งกรีนพีซและโอเชียนา กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมย้ำเตือนหลายครั้งว่าเรือหาปลาลำขนาดใหญ่ของจีนเข้าไปยังพื้นที่น่านน้ำมากขึ้น ซึ่งทั้ง 4 ประเทศก็จะร่วมส่งเสริมความร่วมมือและแลกเปลี่ยนข้อมูลตามเวลาจริงเพื่อเน้นให้เห็นว่ามีการจับปลาเถื่อนนอกชายฝั่งของประเทศ

“ยูฟ่า” เทใจ พร้อมหนุน “โคลอมเบีย” จัดบอลโลกหญิง 2023

“ยูฟ่า” เทใจ พร้อมหนุน “โคลอมเบีย” จัดบอลโลกหญิง 2023

“ยูฟ่า” เทใจ พร้อมหนุน “โคลอมเบีย” จัดบอลโลกหญิง 2023

บรรดาบอร์ดบริหารของฟีฟ่าจากยุโรป ตกเป็นข่าวพร้อมเทใจเลือกตัวแทนจากโซนอเมริกาใต้ ให้ทำหน้าที่เจ้าภาพฟุตบอลหญิงชิงแชมป์โลกในอีก 3 ปีข้างหน้า

วันที่ 25 มิ.ย.63 สำหรับการเสนอตัวเป็นฟุตบอลหญิงชิงแชมป์โลก 2023 รอบสุดท้าย ก่อนหน้านี้มีทั้ง ญี่ปุ่น เบลเยียม โบลีเวีย แอฟริกาใต้ และบราซิล ที่แสดงความสนใจ แต่สุดท้ายต้องถอนตัวออกไปเนื่องจากความไม่พร้อม ทำให้เหลือเพียงแค่ โคลอมเบีย และ ออสเตรเลีย กับ นิวซีแลนด์ (เจ้าภาพร่วม) เท่านั้น ที่ยังแสดงความจำนงอยู่ในขณะนี้

กระทั่งล่าสุดมีรายงานว่า บอร์ดบริหารฟีฟ่าจากโซนยุโรป เตรียมเทคะแนนเสียงให้กับ โคลอมเบีย เป็นเจ้าภาพฟุตบอลหญิงชิงแชมป์โลก 2023 โดยจากจำนวน 37 คน จะมีเพียงแค่ 35 คนเท่านั้นที่มีสิทธิ์ลงคะแนน เนื่องจาก โจนาธาน วูด จากนิวซีแลนด์ และ รามอน เยซูรัย จากโคลอมเบีย จะหมดสิทธิ์ลงคะแนนในครั้งนี้

สำหรับบอร์ดบริหารฟีฟ่าในปัจจุบัน มีสมาชิกจากโซนยุโรปมากถึง 9 คน แบ่งเป็นรองประธานฟีฟ่า 3 ตำแหน่ง และฟีฟ่าเมมเบอร์อีก 5 ตำแหน่ง.

 

ตะลึง ชาวประมงเจอหญิงโคลอมเบียลอยคอกลางทะล ยังมีชีวิต

ตะลึง ชาวประมงเจอหญิงโคลอมเบียลอยคอกลางทะล ยังมีชีวิต

ตะลึง ชาวประมงเจอหญิงโคลอมเบียลอยคอกลางทะล ยังมีชีวิต

ชาวประมงในโคลอมเบียเจอหญิงกำลังลอยคออยู่กลางทะเล และยังมีชีวิต แต่อยู่ในสภาพไร้เรี่ยวแรงจนแทบหมดสติ ครอบครัวสุดดีใจ เผยแจ้งแม่สูญหาย เพราะขาดการติดต่อกับครอบครัวมานานนับ 2 ปีแล้ว

เมื่อ 29 ก.ย.63 เว็บไซต์เดอะซัน รายงานและเผยแพร่คลิปวีดิโอ เหตุการณ์ที่สร้างความตกตะลึงของหญิงชาวโคลอมเบีย นางแองเจลิกา ไกตาน วัย 46 ปีที่ครอบครัวแจ้งสูญหายและเธอไม่ได้ติดต่อกับครอบครัวมานานถึง 2 ปีที่ผ่านมา กลับมาถูกพบในสภาพที่สร้างความตกใจให้กับครอบครัว เมื่อชาวประมงได้พบเธอในสภาพยังมีชีวิตอยู่ ขณะลอยอยู่กลางทะเลโดยมีห่วงยางสีส้มพยุงตัว บริเวณนอกชายฝั่งประเทศโคลอมเบีย แต่นางไกตาน อ่อนเพลียอย่างหนัก จากภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติจากการอยู่ในน้ำทะเลนาน จนชาวประมงต้องช่วยกันดึงเธอขึ้นมาบนเรือ

ตามรายงานข่าวระบุว่า ชาวประมงได้พบไกตานลอยอยู่ในทะเลห่างจากชายฝั่งของเมืองเปอร์โต โคลอมเบีย เมืองชายฝั่งตะวันออกติดมหาสมุทรแอตแลนติก ประมาณ 1.2 ไมล์ เมื่อวันเสาร์ที่ 26 ต.ค.ที่ผ่านมา โดยชาวประมงได้ช่วยกันดึงร่างของเธอขึ้นจากทะเล ในสภาพไร้เรี่ยวแรง จนแทบหมดสติ และคาดว่าไกตานได้ลอยอยู่ในทะเลนานประมาณ 8 ชั่วโมงแล้ว จากนั้นจึงนำเธอส่งโรงพยาบาล ซึ่งเมื่อไปถึงโรงพยาบาล ไกตานอยู่ในภาวะช็อกแล้ว

ตะลึง ชาวประมงเจอหญิงโคลอมเบียลอยคอกลางทะล ยังมีชีวิต

เดอะ ซันแจ้งว่า ข่าวเบื้องต้นเผยสาเหตุที่ทำให้ไกตานมาลอยอยู่กลางทะเลเช่นนี้ เป็นเพราะเธอได้กระโจนลงทะเลเอง เพื่อหนีภาวะการถูกทำร้ายทั้งร่างกายและจิตใจจากคู่ชีวิตมานานนับ 20 ปี แต่ทางครอบครัวได้ปฏิเสธข่าวนี้ ส่วนรายงานอีกแห่ง อ้างว่า ไกตานป่วยจากการถูกดูถูกเหยียดหยามโดยคนในที่พักพิงแห่งหนึ่ง ซึ่งเธออาศัยอยู่ในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา

จากคลิปวิดีโอที่ชาวประมงบันทึกไว้ ได้เห็นเหตุการณ์ที่ชาวประมงได้ขับเรือเข้าไปช่วยไกตาน และดึงเธอขึ้นมาจากทะเล จากนั้นจึงพยายามพูดคุยและให้เธอดื่มน้ำ แต่ไกตานเริ่มร้องไห้ และวิดีโอสิ้นสุดลงแค่นี้

สื่อท้องถิ่นในโคลอมเบียได้ติดตามหาลูกสาวของไกตานจนพบ ซึ่งลูกสาวบอกว่าพวกเธอ ไม่รู้ว่าแม่อยู่ที่ไหนเลยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยขณะนี้ ลูกสาวทั้งสองของไกตานได้พยายามรวบรวมเงินเพื่อนำแม่ไปอยู่ในกรุงโบโกตา เมืองหลวงกับพวกเธอด้วย เพื่อที่แม่จะได้รับการดูแลจากครอบครัว

พบซากมาสโตดอนในเหมืองโคลอมเบีย

พบซากมาสโตดอนในเหมืองโคลอมเบีย

พบซากมาสโตดอนในเหมืองโคลอมเบีย

มีความเชื่อมานานว่ามนุษย์ล่ามาสโตดอน จนเป็นต้นเหตุการสูญพันธุ์ของญาติเก่าแก่ของช้างยุคปัจจุบัน แต่ก็มีผู้เชี่ยวชาญไม่ปักใจตามความเชื่อนั้น และคิดว่าการเปลี่ยนที่อยู่อาศัยจากป่าไปยังแถบทุนดราหรือเขตที่มีฤดูหนาวค่อนข้างยาวนาน อาจมีบทบาทได้ต่อการสูญพันธุ์ของมาสโตดอน

ล่าสุด คนงานเหมืองทอง Quinchia ในจังหวัดริซารัลดา ของโคลอมเบีย ขุดพบซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิลมาสโตดอนและงายาวกว่า 1 เมตรที่ยังไม่บุบสลาย คนงานจึงแจ้งให้นักมานุษยวิทยาจากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดเปเรราเข้าตรวจสอบ การวิจัยล่าสุดชี้ว่ามาสโตดอนสูญพันธุ์ไป เนื่องจากยอมจำนนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างรวดเร็ว ไม่ใช่สูญพันธุ์จากการล่าโดยมนุษย์ยุคแรกๆ และแม้ว่าจะมีการค้นพบฟอสซิลมาสโตดอนในพื้นที่อื่นของโคลอมเบีย แต่นี่เป็นครั้งแรกที่พบในริซารัลดา นั่นหมายถึงอาจพบได้อีกในพื้นที่ใกล้เคียง เพราะสัตว์เหล่านี้อาศัยอยู่เป็นฝูง เหมือนกับฝูงช้างที่มักพบเห็นในแอฟริกายุคปัจจุบัน

พบซากมาสโตดอนในเหมืองโคลอมเบีย

นักวิจัยวิเคราะห์ว่านี่คือซากมาสโตดอนอเมริกันในยุคไพลสโตซีน (Pleistocene) เมื่อ 10,000 ปีก่อน และชี้ว่ามาสโตดอนเดินทางไกลจากดินแดนที่เป็นอลาสกาตะวันออกในปัจจุบันไปยังโนวาสโกเทีย และมุ่งลงใต้ไปยังเม็กซิโกตอนกลาง หมายความว่าช่วงอากาศอบอุ่นขึ้น มาสโตดอนจะมุ่งหน้าขึ้นเหนือเพื่อหาพืชพันธุ์ แต่เมื่ออุณหภูมิเย็นลง ธารน้ำแข็งใหญ่เริ่มแผ่ลงมาจากด้านบนของทวีป พวกมันก็จะถอยกลับลงมาทางใต้ กลายเป็นวัฏจักรต่อเนื่องในช่วงเวลาหนาวเย็นที่ผิดปกติของยุคไพลสโตซีน ซึ่งครอบคลุมช่วงเวลา 2.5 ล้านถึง 11,700 ปีก่อน.

โคลอมเบียเดือด นักโทษก่อเหตุจลาจลกลางเรือนจำลาโมเดโล ในกรุงโบโกตา

โคลอมเบียเดือด

โคลอมเบียเดือด นักโทษก่อเหตุจลาจลกลางเรือนจำลาโมเดโล ในกรุงโบโกตา
เกิดเหตุปะทะกันรุนแรงภายในเรือนจำลาโมเดโล ในกรุงโบโกตา ของโคลอมเบีย คุกใหญ่อันดับ 2 ของประเทศ เมื่อช่วงกลางดึกวันที่ 22 มี.ค.ทำให้นักโทษเสียชีวิตไม่น้อยกว่า 23 ราย บาดเจ็บ 83 ราย และพัสดีอีก 7 ราย นางมาร์การิตา คาเบลโล รัฐมนตรียุติธรรม กล่าวแสดงความเสียใจกับความรุนแรงที่นักโทษพยายามแหกคุก ซึ่งเป็นแผนที่กลุ่มนักโทษประสานงานให้เกิดความปั่นป่วนในเรือนจำ 13 แห่งทั่วประเทศ พร้อมปฏิเสธข้อกล่าวโทษจากกลุ่มสิทธิมนุษยชนระบุสภาพภายในเรือนจำไม่ถูกสุขลักษณะท่ามกลางภัยระบาดของโควิด-19 ซึ่งเรือนจำไม่ได้เตรียมรองรับปัญหา

นางคลอเดีย โลเปซ นายกเทศมนตรีกรุงโบโกตา วิจารณ์กระทรวงยุติธรรมและเจ้าหน้าที่เรือนจำแจ้งข่าวสารถึงครอบครัวนักโทษล่าช้า ส่วนสำนักงานคุ้มครองพลเรือนและสิทธิมนุษยชนแนะนำปล่อยนักโทษที่อายุเกิน 60 ปี เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ขณะที่ประธานาธิบดีอีวาน ดูเก เตรียมประกาศกักประเทศ 19 วัน นับแต่ 24 มี.ค.นี้.

ชาวโคลอมเบียก่อจลาจล-เผาโรงพัก แค้น ตร.ใช้กำลังเกินเหตุ

ชาวโคลอมเบียก่อจลาจล-เผาโรงพัก แค้น ตร.ใช้กำลังเกินเหตุ

ชาวโคลอมเบียก่อจลาจล-เผาโรงพัก แค้น ตร.ใช้กำลังเกินเหตุ

ชาวโคลอมเบียไม่พอใจตำรวจใช้กำลังเกินกว่าเหตุ ทำให้ผู้ละเมิดมาตรการคุม COVID-19 เสียชีวิต จุดชนวนประท้วงรุนแรงและก่อจลาจลในกรุงโบโกตา เสียชีวิตอย่างน้อย 10 คน บาดเจ็บหลายร้อยคน

วันนี้ (11 ก.ย.2563) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เกิดเหตุประท้วงรุนแรง ลุกลามกลายเป็นจลาจลในกรุงโบโกตา เมืองหลวงของโคลอมเบีย เนื่องจากประชาชนรู้สึกโกรธแค้น และไม่พอใจการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจที่ใช้กำลังเกินกว่าเหตุระหว่างการจับกุมชายอายุ 46 ปี ที่ละเมิดมาตรการรักษาระยะห่าง ป้องกัน COVID-19 ด้วยการนั่งดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กับเพื่อน ซึ่งชายคนดังกล่าวถูกตำรวจจับกดลงกับพื้นและถูกยิงด้วยปืนช็อตไฟฟ้าซ้ำหลายครั้ง ได้รับบาดเจ็บหนักและเสียชีวิตที่โรงพยาบาล

ชาวโคลอมเบียก่อจลาจล-เผาโรงพัก แค้น ตร.ใช้กำลังเกินเหตุ

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า กลุ่มผู้ประท้วงจุดไฟเผารถโดยสารอย่างน้อย 8 คัน และบุกเข้าไปทำลายโรงพักได้รับความเสียหาย 56 แห่ง ตำรวจ 1,500 นาย และทหารอีก 300 นาย ต้องระดมกำลังเข้าควบคุมสถานการณ์ โดยความรุนแรงที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้ประท้วงหลายร้อยคนได้รับบาดเจ็บ และเสียชีวิตอย่างน้อย 10 คน ขณะที่ตำรวจได้รับบาดเจ็บกว่า 100 นาย

ชาวโคลอมเบียติดธงแดง “SOS” ขออาหารช่วงล็อกดาวน์โควิด-19

ชาวโคลอมเบียติดธงแดง “SOS” ขออาหารช่วงล็อกดาวน์โควิด-19

ชาวโคลอมเบียติดธงแดง “SOS” ขออาหารช่วงล็อกดาวน์โควิด-19
ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ในประเทศแถบลาตินอเมริกาเพิ่มสูงขึ้น ประเทศโคลอมเบีย ซึ่งมียอดผู้ติดเชื้อแล้วกว่า 23,000 ราย และเสียชีวิต 776 ราย ก็ประกาศขยายมาตรการล็อกดาวน์ไปจนถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้คนที่ใช้ชีวิตแบบหาเช้ากินค่ำจำนวนมาก ชาวโคลอมเบียที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจึงส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ ขณะที่นักการเมืองในท้องถิ่นก็ให้การสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง

ในเมืองโซอาชา แหล่งชุมชนแออัดขนาดใหญ่ ทางตอนใต้ของเมืองโบโกตา เมืองหลวงของประเทศโคลอมเบีย ครอบครัวที่ได้รับความเดือดร้อนจะติดธงสีแดง เสื้อสีแดง หรือข้าวของเครื่องใช้ที่มีสีแดง ไว้ที่ประตู หน้าต่าง หรือระเบียงบ้านของพวกเขา เพื่อเป็นสัญลักษณ์แสดงความทุกข์ยากและเพื่อขอบริจาคอาหารจากเพื่อนบ้าน

“พวกเขาจะถามว่า ‘อยากได้มะเขือเทศไหม เอาหัวหอมหน่อยไหม หยิบไปเลยนะ’ และถ้าฉันพอมีอาหารเหลือ ฉันก็ทำแบบเดียวกัน” Maria Mendoza แม่ค้าที่ขายนิตยสารและเสื้อผ้ามือสองก่อนการล็อกดาวน์ กล่าว

“การเคลื่อนไหวเศษผ้าสีแดง” ของชาวบ้านในโซอาชา เริ่มขึ้นในเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นความคิดของ Juan Carlos Saldarriaga นายกเทศมนตรี เขาดูแลจัดการเมืองที่มีประชากรมากกว่า 1 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นคนยากจน และชนชั้นแรงงาน หลายครอบครัวเป็นกลุ่มคนพลัดถิ่น ซึ่งมีสาเหตุมาจากสงครามกองโจรที่ยาวนานของโคลอมเบีย ขณะที่ประชาชนหลายหมื่นคน คือกลุ่มผู้ลี้ภัยจากวิกฤตเศรษฐกิจล่มสลายของประเทศเวเนซูเอลา

ประชาชนในพื้นที่หลายคนทำงานเป็นแม่บ้าน พนักงานรักษาความปลอดภัย คนขับรถประจำทาง และคนงานในโรงงาน ขณะที่อีกหลายคนทำงานขายลูกกวาด หรือเช็ดกระจกเพื่อแลกเศษเงินตามแยกไฟแดง จึงไม่สามารถทำงานจากที่บ้านได้ และมาตรการล็อกดาวน์จากวิกฤตโควิด-ทำให้คนกลุ่มนี้ไม่สามารถหารายได้มาจุนเจือครอบครัวได้ ดังนั้น วิธีการที่จะจูงใจให้ประชาชนอยู่บ้านเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาก็คือการบริจาคอาหาร

Saldarriaga นายกเทศมนตรีของเมืองที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ก่อนการระบาดของโรคโควิด-19 ในโคลอมเบีย เริ่มต้นโครงการบริจาคอาหารในเดือนมีนาคม ทำให้ศาลากลางเมืองโซอาชามีอาหารที่สามารถแจกจ่ายให้ประชาชนกว่า 350,000 ครอบครัว แต่พนักงานสามารถนำอาหารไปให้ประชาชนได้เพียงวันละ 6,000 ครอบครัว ด้วยเหตุนี้ นายกเทศมนตรีจึงประกาศให้ครอบครัวที่ต้องการอาหารติดธงหรือวัสดุสีแดงไว้ที่ประตูหรือหน้าต่าง เพื่อเป็นสัญญาณขอรับการช่วยเหลือ

การเคลื่อนไหวเศษผ้าสีแดงได้แพร่กระจายไปยังเมืองโบโกตา เมเดยิน บาร์รังกิยา ฟลอเรนซ์เซีย และเมืองอื่น ๆ ในประเทศโคลอมเบีย ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวที่คล้ายคลึงกับในประเทศกัวเตมาลา โดยครอบครัวที่ต้องการความช่วยเหลือจะแขวนธงสีขาวไว้หน้าบ้าน