‘ไทย-โคลอมเบีย’ จับมือขยายตลาดละติน

ในปี 2562 เป็นปีแห่งการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ไทย-โคลอมเบียครบรอบ 40 ปี โดยกระทรวงการต่างประเทศมีความมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกันในอนาคต

ดำรง ใคร่ครวญ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์พิเศษว่า ปัจจุบัน ไทย-โคลอมเบียมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น และทั้ง 2 ประเทศเห็นตรงกันว่า จะผลักดันความร่วมมือด้านการค้าการลงทุนให้เพิ่มมากขึ้น

ในช่วงที่ผ่านมา โคลอมเบียตกอยู่ในสถานการณ์ปัญหาการเมืองภายในประเทศอยู่หลายสิบปี กระทั่งในปี 2554 รัฐบาลโคลอมเบียสามารถตั้งโต๊ะเจรจากับพรรคฝ่ายค้านสำเร็จ สามารถนำพาประเทศกลับสู่สันติภาพได้รวดเร็ว

“ด้วยสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมือง ทำให้โคลอมเบียสาละวนอยู่กับการจัดการปัญหาภายในประเทศ จึงยังไม่ค่อยมีปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอกมากนัก และเมื่อทุกอย่างกลับคืนสู่ความสงบเรียบร้อย ทำให้โคลอมเบียซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ฉายแสงให้เห็นโอกาสการพัฒนาและความร่วมมือทางการค้ากับต่างชาติ” รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ระบุ

ดำรง กล่าวอีกว่า โคลอมเบียมีนโยบายบุกเบิกความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศในภูมิภาคเอเชีย จึงได้กลับมาเปิดสถานเอกอัครราชทูตในประเทศไทยเมื่อปี 2556

ขณะที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลิมา ประเทศเปรู ให้การดูแลอาณาบริเวณครอบคลุมไปยังโคลอมเบีย ถ้าในอนาคตไทยจะพิจารณาเปิดสถานทูตแห่งใหม่ในภูมิภาคละตินอเมริกา เชื่อว่าโคลอมเบียจะเป็นประเทศที่ถูกพิจารณาในลำดับแรก

“ณ เวลานี้ โคลอมเบียให้ความสำคัญกับความร่วมมือกับประเทศในเอเชีย อาจยังไม่เจาะจงเป็นรายประเทศ เพราะต้องยอมรับว่า หากมองในมุมโคลอมเบียมายังเอเชีย ก็ย่อมให้ความสำคัญกับจีนเป็นชาติแรก รองลงมาเป็นญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และประเทศในอาเซียน ซึ่งประเทศไทยอยู่ในภูมิภาคอาเซียน จึงถือได้ว่าไทยอยู่ในจอเรดาร์ที่โคลอมเบียต้องการจะร่วมมือทางเศรษฐกิจด้วย” รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ระบุ

ปัจจุบัน โคลอมเบียเป็นประเทศคู่ค้าอันดับ7 ของไทยในละตินอเมริกา ขณะนี้ในมิติความร่วมมือทางเศรษฐกิจยังไม่สูงมาก เนื่องจากการค้าระหว่างกันยังน้อย อยู่ที่ประมาณ 200 ล้านดอลลาร์ ส่วนการลงทุนยังไม่เกิดขึ้นมาก ขณะที่มีนักท่องเที่ยวโคลอมเบียเดินทางมายังประเทศไทย อยู่ที่ประมาณ 1.4 หมื่นคน

“ส่วนตัวเชื่อว่า แนวโน้มระดับการพัฒนาประเทศของโคลอมเบียจะสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะอัตราการเติบโตของจีดีพีน่าจะอยู่ที่ประมาณ 4% ซึ่งใกล้เคียงกับประเทศไทย นั่นหมายถึงมีประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใกล้เคียงกับไทยอยู่ในละตินอเมริกาด้วย จึงเป็นโอกาสทางการค้าสำหรับนักธุรกิจไทยเข้าไปทำตลาดใหม่ เพราะการแข่งขันยังไม่สูง” ดำรงกล่าว

รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ที่ผ่านมา มีบริษัทของไทยบางแห่งเข้าไปบุกเบิกในตลาดโคลอมเบีย ส่วนใหญ่ขายสินค้าผลิตภัณฑ์การเกษตร และเปิดร้านอาหารไทยที่นั้น ทั้งนี้ โคลอมเบียยังเป็นตลาดซื้อยางพารารายใหญ่จากไทยในละตินอเมริกา

ขณะเดียวกัน โคลอมเบียมีนโยบายส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ในการผลิตสินค้าประยุกต์เชิงวัฒนธรรมเช่นเดียวกับโอท็อปของไทย ซึ่งในส่วนนี้สามารถนำไปสู่ความร่วมมือระหว่างไทย-โคลอมเบีย และต่อยอดทางธุรกิจในอนาคต

นอกจากนี้ ไทยต้องการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการผลิตกาแฟจากโคลอมเบีย เพราะที่นั่นจัดได้ว่าเป็นแหล่งผลิตกาแฟสไตล์บูติคแห่งเดียวในโลก ที่สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจกาแฟไทยต่อไป

ขนโคเคนยังงี้ก็ได้เหรอ

“โคลอมเบีย” ขึ้นชื่อ (เสีย) เรื่องยาเสพติด โดยเฉพาะ “โคเคน” และแก๊งค้ายาฯ ใช้กรรมวิธีหลากหลายในการลักลอบขนโคเคนหลบเลี่ยงหูตาเจ้าหน้าที่ ไล่ตั้งแต่กรอกใส่ถุงยางอนามัยยัดเข้าทวารหนักและช่องคลอดหรือกลืนลงท้อง ซุกในลังสินค้า ไปจนถึงใช้ “เรือดำน้ำ” หรือ “โดรน” ในการขนส่งยา
แต่ชายชาวโคลอมเบียวัยกลางคนรายหนึ่งอาจไม่ใช่นักค้ายา “มืออาชีพ” เพราะขนโคเคนแบบประเจิดประเจ้อสุดๆ จนถูกจับได้ที่สนามบิน “บาร์เซโลนา-เอล แพรท” ในเมืองบาร์เซโลนาในสเปน หลังเดินทางจากกรุงโบโกตาในโคลอมเบียเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
ตำรวจสนามบินสังเกตเห็นเขามีพิรุธ กระสับกระส่าย เหงื่อแตกพลั่กๆ แต่ที่เตะตาทันทีที่เห็นกลับเป็น “วิกผม” ปกปิดหัวล้านที่กลางกระหม่อม ซึ่งใหญ่โตบะเริ่มเทิ่มผิดปกติ จึงขอตรวจค้น และพบว่าเขาซุกห่อโคเคนถึงครึ่ง กก. ราคาราว 30,000 ยูโร (ราว 1,088,000 บาท) ไว้ใต้วิกผม

ตำรวจเผยว่า ในปี 2561 ยึดโคเคนได้ที่สนามบินบาร์เซโลนากว่า 100 กิโลกรัม แต่ไม่มีครั้งไหนที่มีผู้ขนโคเคนแบบ “ไม่เนียน” ได้ถึงปานนี้!

ศาลโคลอมเบียตัดสินให้ป่าแอมะซอนมีสิทธิเทียบเท่าบุคคลตามกฎหมาย

ศาลสูงสุดของโคลอมเบียตัดสินให้รัฐบาลขึ้นสถานะผืนป่าแอมะซอนให้เป็น ‘บุคคลที่ต้องได้รับสิทธิขั้นพื้นฐาน’ ซึ่งหมายความว่าป่าฝนแอมะซอนได้รับสิทธิตามกฎหมายเทียบกับมนุษย์คนหนึ่ง ทำให้โคลอมเบียถือเป็นประเทศแรกในลาตินอเมริกาที่ตัดสินให้แหล่งธรรมชาติมีสถานะเป็นบุคคลเพื่อให้มีการคุ้มครองแหล่งธรรมชาติที่เข้มงวดขึ้น

ศาลสูงสุดของโคลอมเบียระบุว่า แม้จะมีความร่วมมือระหว่างประเทศและมีกฏเกณฑ์จำนวนมาก แต่เห็นได้ชัดเจนว่ารัฐบาลโคลอมเบียยังไม่สามารถจัดการกับปัญหาการทำลายป่าแอมะซอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการไม่มีสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพ ทำให้บุคคลและสิ่งมีชีวิตไม่สามารถมีชีวิตรอดไปได้ ยังไม่นับรวมถึงสิทธิในการไม่สามารถปกป้องคนรุ่นใหม่และคนรุ่นหลังต่อไป

นอกจากนี้ ศาลได้สั่งให้รัฐบาลทั้งระดับประเทศและท้องถิ่น รวมถึงกระทรวงสิ่งแวดล้อมและการเกษตร ร่วมหารือและเสนอแผนปราบปรามการทำลายป่าแอมะซอนภายในเวลา 4 เดือนจากข้อมูลพบว่าป่าแอมะซอนในโคลอมเบียมีขนาดเทียบเท่ากับประเทศเยอรมนีและอังกฤษรวมกัน แต่ในช่วงปี 2015-2016 อัตราการตัดไม้ทำลายป่าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 44 ซึ่งการทำลายป่าก็มีจุดประสงค์ที่หลากหลายกันไป ตั้งแต่การถางป่าเพื่อเลี้ยงสัตว์ ทำเกษตร ปลูกต้นโคคา (วัตถุดิบสำหรับผลิตโคเคน) การทำเหมือง และการตัดไม้อย่างผิดกฎหมาย

คำตัดสินนี้มีขึ้นหลังจากที่คนรุ่นใหม่ 25 คนอายุตั้งแต่ 7-26 ปีรวมตัวกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลเมื่อเดือนมกราคม เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลปกป้องสิทธิในการมีสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งความล้มเหลวของรัฐบาลในการหยุดยั้งการทำลายป่าแอมะซอนส่งผลกระทบอย่างมากต่ออนาคตของพวกเขา และละเมิดสิทธิตามรัฐธรรมนูญในการเข้าถึงสิ่งแวดล้อม อาหารและน้ำที่ดีต่อสุขภาพ

หลังการอ่านคำพิพากษา หนึ่งในโจทก์ยื่นฟ้องในครั้งนี้ระบุว่า คำตัดสินนี้มีความสำคัญต่อการปกป้องสิทธิของคนรุ่นต่อไป และถือเป็นคำตัดสินประวัติศาสตร์ที่จะช่วยอนุรักษ์ป่าและต่อสู้กับสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงด้วย

ศาลโคลอมเบียตัดสินให้ป่าแอมะซอนมีสิทธิเทียบเท่าบุคคลตามกฎหมาย เพื่อให้รัฐบาลเร่งหามาตรการหยุดยั้งการทำลายป่าให้ได้ภายใน 4 เดือน

ศาลสูงสุดของโคลอมเบียตัดสินให้รัฐบาลขึ้นสถานะผืนป่าแอมะซอนให้เป็น ‘บุคคลที่ต้องได้รับสิทธิขั้นพื้นฐาน’ ซึ่งหมายความว่าป่าฝนแอมะซอนได้รับสิทธิตามกฎหมายเทียบกับมนุษย์คนหนึ่ง ทำให้โคลอมเบียถือเป็นประเทศแรกในลาตินอเมริกาที่ตัดสินให้แหล่งธรรมชาติมีสถานะเป็นบุคคลเพื่อให้มีการคุ้มครองแหล่งธรรมชาติที่เข้มงวดขึ้น

ศาลสูงสุดของโคลอมเบียระบุว่า แม้จะมีความร่วมมือระหว่างประเทศและมีกฏเกณฑ์จำนวนมาก แต่เห็นได้ชัดเจนว่ารัฐบาลโคลอมเบียยังไม่สามารถจัดการกับปัญหาการทำลายป่าแอมะซอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการไม่มีสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพ ทำให้บุคคลและสิ่งมีชีวิตไม่สามารถมีชีวิตรอดไปได้ ยังไม่นับรวมถึงสิทธิในการไม่สามารถปกป้องคนรุ่นใหม่และคนรุ่นหลังต่อไป

นอกจากนี้ ศาลได้สั่งให้รัฐบาลทั้งระดับประเทศและท้องถิ่น รวมถึงกระทรวงสิ่งแวดล้อมและการเกษตร ร่วมหารือและเสนอแผนปราบปรามการทำลายป่าแอมะซอนภายในเวลา 4 เดือน

จากข้อมูลพบว่าป่าแอมะซอนในโคลอมเบียมีขนาดเทียบเท่ากับประเทศเยอรมนีและอังกฤษรวมกัน แต่ในช่วงปี 2015-2016 อัตราการตัดไม้ทำลายป่าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 44 ซึ่งการทำลายป่าก็มีจุดประสงค์ที่หลากหลายกันไป ตั้งแต่การถางป่าเพื่อเลี้ยงสัตว์ ทำเกษตร ปลูกต้นโคคา (วัตถุดิบสำหรับผลิตโคเคน) การทำเหมือง และการตัดไม้อย่างผิดกฎหมาย

คำตัดสินนี้มีขึ้นหลังจากที่คนรุ่นใหม่ 25 คนอายุตั้งแต่ 7-26 ปีรวมตัวกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลเมื่อเดือนมกราคม เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลปกป้องสิทธิในการมีสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งความล้มเหลวของรัฐบาลในการหยุดยั้งการทำลายป่าแอมะซอนส่งผลกระทบอย่างมากต่ออนาคตของพวกเขา และละเมิดสิทธิตามรัฐธรรมนูญในการเข้าถึงสิ่งแวดล้อม อาหารและน้ำที่ดีต่อสุขภาพ

หลังการอ่านคำพิพากษา หนึ่งในโจทก์ยื่นฟ้องในครั้งนี้ระบุว่า คำตัดสินนี้มีความสำคัญต่อการปกป้องสิทธิของคนรุ่นต่อไป และถือเป็นคำตัดสินประวัติศาสตร์ที่จะช่วยอนุรักษ์ป่าและต่อสู้กับสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงด้วย